5 สัญญาณบ่งบอก ลูกน้อยพัฒนาการล่าช้า

17 ส.ค. 2565 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทยื ศรีนครินทร์

เด็กที่มีพัฒนาการช้าคือ เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยเมื่อเทียบกับเด็กปกติ โดยเด็กอาจมีพัฒนาการช้าในทุกๆ ด้าน หรือมีพัฒนาการช้าในบางด้านเท่านั้น ซึ่งอาการผิดปกติที่ส่งผลทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เช่น พันธุกรรมที่ได้รับพ่อและแม่ สุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ของแม่ขณะตั้งครรภ์ การคลอดที่ไม่ราบรื่น สุขภาพเด็กหลังคลอด และปัจจัยแทรกซ้อนช่วงหลังคลอด รวมถึงการดูแลและภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม ร่วมทั้งพฤติกรรมของเด็กอีกด้วย ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่เริ่มสงสัยว่าลูกของตนเองมีพัฒนาการล่าช้าหรือไม่ เรามีวิธีสังเกตง่ายๆ มาฝากกันดังนี้ การได้ยิน : ลูกไม่ตอบสนองต่อเสียง ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้



เด็กที่มีพัฒนาการช้าคือ เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยเมื่อเทียบกับเด็กปกติ โดยเด็กอาจมีพัฒนาการช้าในทุกๆ ด้าน หรือมีพัฒนาการช้าในบางด้านเท่านั้น ซึ่งอาการผิดปกติที่ส่งผลทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เช่น พันธุกรรมที่ได้รับพ่อและแม่ สุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ของแม่ขณะตั้งครรภ์ การคลอดที่ไม่ราบรื่น สุขภาพเด็กหลังคลอด และปัจจัยแทรกซ้อนช่วงหลังคลอด รวมถึงการดูแลและภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม ร่วมทั้งพฤติกรรมของเด็กอีกด้วย ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่เริ่มสงสัยว่าลูกของตนเองมีพัฒนาการล่าช้าหรือไม่ เรามีวิธีสังเกตง่ายๆ มาฝากกันดังนี้
  • การได้ยิน : ลูกไม่ตอบสนองต่อเสียง ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้
  • การมองเห็น : ลูกมีดวงตาที่ห่างกันจนผิดปกติ หรือ ตาเหล่เข้า-ออก
  • การพูด : ลูกพูดเป็นคำๆ ไม่น้อยกว่า 50 คำ ภาษาที่พูด คนอื่นฟังไม่เข้าใจ
  • การเคลื่อนไหวร่างกาย : ลูกนั่ง หรือเดินเองไม่ได้
  • พฤติกรรมและการแสดงออก : ลูกไม่สนใจคน ไม่สื่อสารด้วยท่าทาง ไม่เข้าใจคำสั่งง่ายๆ ไม่แสดงอารมณ์ ไม่รู้จักการเล่นกับคนอื่น

สาเหตุของพัฒนาการเด็กล่าช้า

พัฒนาการ คือ กระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย ซึ่งต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องตามแต่ละช่วงวัยของเด็ก เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

1.พันธุกรรมจากพ่อแม่ เช่น โรคทางพันธุกรรมบางอย่างที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ได้แก่ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ดาวน์ซินโดรม ฯลฯ หรือญาติพี่น้อง หรือคนในครอบครัว เคยมียีนผิดปกติ

2.คุณแม่สุขภาพไม่แข็งแรงขณะตั้งครรภ์ เช่น ดูแลตัวเองไม่ดีขณะตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ลูกอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่

3.มีภาวะการคลอดที่ไม่ราบรื่น เช่น คลอดก่อนกำหนด คลอดหลังกำหนด ซึ่งส่งผลกระทบกับลูกน้อย ได้แก่ ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เลือดออกในสมอง โรคปอดเรื้อรัง ตับวาย ไตวาย

4.มีปัญหาเรื่องสุขภาพ หรือภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด เช่น ตัวเล็กหรือใหญ่เกินไป ตัวเหลืองจนต้องเปลี่ยนเลือด หรือเข้าตู้อบเป็นเวลานาน

5.การเลี้ยงดู และโภชนาการที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่ได้รับอาหารที่ครบถ้วน รวมไปถึงไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ เท่าที่ควร

 

ผลของการมีพัฒนาการช้า

การที่ลูกน้อยมีพัฒนาการช้า อาจทำให้ร่างกายมีความผิดปกติ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรม ได้แก่

1.ลูกน้อยมีอาการไม่อยู่นิ่ง ไม่รู้จักการรอคอย มีความสนใจสั้น วอกแวก รับรู้ช้า ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตัวเองได้ เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน

2.ก้าวร้าว ชอบทำลายสิ่งของ ทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายตัวเอง ไม่สามารถควบคุมความก้าวร้าวของตัวเอง

3.ทำอะไรซ้ำๆ เช่น นั่งโยกตัว สะบัดมือ ชกตัวเอง วิ่งไปทั่ว เมื่อลูกน้อยทำอะไรซ้ำๆ คุณพ่อ คุณแม่ไม่ควรดุด่า หรือตี เพราะจะสร้างภาวะกดดัน ส่งผลไม่ดีต่อพัฒนาการ และไม่อาจหยุดพฤติกรรมนั้นได้ ควรพาไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจสอบอย่างถูกวิธี

 

วิธีป้องกันลูกน้อยพัฒนาการช้า

1.เปรียบเทียบพัฒนาการของลูกน้อย กับสมุดบันทึกพัฒนาการที่ได้รับจากทางโรงพยาบาลอยู่เสมอ

2.ถ้าไม่มั่นใจในการตรวจกับคุณหมอคนแรก ให้ลองตรวจกับคุณหมอคนที่ 2 เพื่อความมั่นใจ

3.คุณแม่ต้องช่างสังเกต คอยสังเกตพัฒนาการ และความผิดปกติในร่างกายของลูกน้อย

4.อย่าเร่งให้ลูกน้อยดูโทรทัศน์ เล่นแท็บเลต สมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการ

5.ถ้าพบปัญหาผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก และพาลูกน้อยไปตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ

 

แผนกกุมารเวช

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ https://bit.ly/3d27RXv
โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา https://bit.ly/2Cbm0F0
โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ https://bit.ly/2UNkbUZ
โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ https://bit.ly/3fu0IRo
โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์ https://bit.ly/3q8DZiS
โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี https://bit.ly/3q6LVkE

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ