หัวใจโต อันตรายไหม? สาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษา

6 พ.ค. 2568 | เขียนโดย

หัวใจโต อันตรายไหม? สาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษา

หัวใจโต เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่หลายคนไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง เนื่องจากภาวะนี้มักไม่แสดงอาการให้เห็นในระยะแรกเริ่ม ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวจนกระทั่งโรคพัฒนาไปสู่ขั้นที่รุนแรงขึ้นจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยสาเหตุสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือแม้แต่ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ซึ่งหากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างได้ทันท่วงทีจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจนำไปสู่การเกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจอย่างรุนแรง ดังนั้นการสังเกต และรับรู้อาการของโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลสินแพทย์ จึงขอพาทุกมาเจาะลึกถึงรายละเอียดของโรคหัวใจโต ทั้งสาเหตุ วิธีสังเกตสัญญาณเตือน เพื่อป้องไม่ให้เกิดผลกระทบที่ยากต่อการรักษาในอนาคต

หัวใจโต คืออะไร

 

หัวใจโต คืออะไร?

หัวใจโต (Cardiomegaly) เป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่ หรือหนากว่าปกติ โดยภาวะดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับหัวใจทั้งดวง หรือบางส่วนก็ได้ โดยภาวะนี้เกิดได้ทั้งชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ขึ้นอยู่กับสาเหตุ

 

อาการของหัวใจโต

 

อาการหัวใจโต สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

อาการหัวใจโต บางครั้งอาจไม่มีอาการชัดเจนในระยะแรก แต่เมื่อภาวะของโรครุนแรงขึ้น จะแสดงการทำงานของหัวใจที่มีความผิดปกติ มีสัญญาณเตือนที่ปรากฏได้หลายรูปแบบดังนี้

 

เหนื่อยง่าย

เหนื่อยง่าย เป็นอาการที่บ่งบอกว่าหัวใจมีการขยายตัว จนไม่สามารถสูบเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงที่อวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยจะสังเกตเห็นได้ว่าไม่สามารถทำกิจกรรมเต็มที่ได้เท่าเมื่อก่อน แม้จะเป็นเพียงแค่การเดินหรือการขึ้นบันได

 

หายใจลำบาก

หายใจลำบาก เป็นอาการที่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหายใจได้ไม่เต็มท้องหรือหายใจได้ไม่สะดวก รู้สึกเหนื่อยหอบ อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างวัน หรือในขณะที่นอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนอนในลักษณะราบกับพื้น

 

ใจสั่น

ใจสั่น เป็นอาการที่เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถเต้นในอัตราปกติ ผู้ป่วยอาจรู้สึกได้ถึงหัวใจที่เต้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงเต้นในจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอกันบริเวณหน้าอก

 

บวมที่อวัยวะต่าง ๆ

บวมที่อวัยวะต่าง ๆ เป็นอาการที่เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดเลือดคั่งบริเวณส่วนล่างของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณขา และข้อเท้า

 

สาเหตุของภาวะหัวใจโต มีอะไรบ้าง?

สาเหตุของภาวะหัวใจโตสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยอาจเป็นผลกระทบจากปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้

 

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในสาเหตุต้น ๆ ของโรคหัวใจโต เพราะเมื่อร่างกายมีความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจต้องทำงานอย่างหนักเพื่อพยายามสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นเหตุที่ทำให้ห้องหัวใจเกิดการขยายตัวใหญ่ขึ้น รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง หากไม่ได้รับการควบคุมระดับความดันให้เหมาะสม อาจส่งผลทำให้หัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด

 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจเต้นผิดปกติ เป็นภาวะที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ รวมถึงมีการขยายตัวหรือมีการก่อตัวที่หนามากขึ้น ทำให้หัวใจเกิดการบีบตัว และทำงานอย่างหนักเพื่อพยายามสูบฉีดเลือด

 

โรคลิ้นหัวใจ

โรคลิ้นหัวใจ เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติบริเวณลิ้นหัวใจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการไหลเวียนเลือด เมื่ออวัยวะส่วนนี้มีความบกพร่องหัวใจจึงต้องพยายามสูบฉีดเลือดมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การขยายตัวของหัวใจได้ในท้ายที่สุด

 

ภาวะความดันหลอดเลือดในปอดสูง

ภาวะความดันหลอดเลือดในปอดสูง เป็นภาวะที่ความดันของหลอดเลือดแดงในปอด มีระดับที่สูงกว่า 25 มิลลิเมตร ทำให้หัวใจกับปอดทำงานหนักมากขึ้น เพื่อพยายามสูบฉีดเลือด และแลกเปลี่ยนออกซิเจน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ห้องหัวใจเกิดการขยายตัว หากไม่ได้รับการรักษาที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

วิธีวินิจฉัยหัวใจโต ตรวจอย่างไรให้แน่ใจ?

วิธีวินิจฉัยหัวใจโต แพทย์จะทำการตรวจ ดังนี้

  • ซักถามประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคประจำตัว อาการที่เกิดขึ้น และประวัติทางการแพทย์ของบุคคลในครอบครัว
  • ตรวจเอกซเรย์รังสีบริเวณทรวงอก เพื่อสังเกต และประเมินลักษณะของหัวใจ และปอด
  • ตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจลักษณะความผิดปกติของห้องหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ และบริเวณลิ้นหัวใจ
  • ตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่ (Echocardiogram) เพื่อตรวจวัดลักษณะของหัวใจ รวมถึงลักษณะการทำงานของลิ้นหัวใจ

 

วิธีรักษาหัวใจโต มีอะไรบ้าง?

วิธีรักษาหัวใจโต สามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบดังนี้

 

การรักษาด้วยยา

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจโตจากสาเหตุของโรคต่าง ๆ โดยแพทย์จะทำการรักษาต่อไป

 

ป้องกันหัวใจโต

 

หัวใจโต ป้องกันได้หรือไม่?

หัวใจโต สามารถป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพียงปรับพฤติกรรมที่อาจบั่นทอนสุขภาพร่างกายได้ เช่น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ และหลีกอาหารที่มีไขมันสูงเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ส่งผลต่อหัวใจ หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ควรทำการตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ในระยะยาว

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับหัวใจโต (FAQ)

อาการหัวใจโตสังเกตได้อย่างไร?

อาการหัวใจโต สามารถสังเกตได้จากประสิทธิภาพการใช้ชีวิตที่ลดน้อยลง เช่น เหนื่อยหอบง่าย หายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องนอนราบกับพื้น รวมถึงอาการแน่นหน้าอก ใจสั่น ซึ่งหากเกิดขึ้นบ่อย ๆ และมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาให้ทันท่วงที

 

หัวใจโตเกิดจากอะไร?

หัวใจโต สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งโรคประจำตัวอย่าง โรคความดัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติโรคลิ้นหัวใจ รวมถึงภาวะของผิดปกติของความดันหลอดเลือดในปอด เป็นต้น

 

หัวใจโตต้องรักษาด้วยวิธีไหน?

หัวใจโต สามารถรักษาได้หลายวิธีโดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ทั้งการใช้ยารักษาโรคตามต้นเหตุ รวมถึงการติดอุปกรณ์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจ และการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหัวใจโต เช่น การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ และการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น

 

 

SHARE