โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke

19 ต.ค. 2564 | เขียนโดย ศูนย์โรคระบบประสาทและสมอง โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

“โรคหลอดเลือดสมอง” โรคหลอดเลือดสมอง นิยมเรียกว่า Stroke ในคนไทย เรียก อัมพาต แต่ถ้าผู้ป่วยรายใด มีอาการไม่รุนแรงยังพอขยับได้ เรียกว่า โรคอัมพฤกษ์



โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง นิยมเรียกว่า Stroke ในคนไทย เรียก อัมพาต แต่ถ้าผู้ป่วยรายใด มีอาการไม่รุนแรงยังพอขยับได้ เรียกว่า โรคอัมพฤกษ์
.

 โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.โรคหลอดเลือดสมองแตกก

2.โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน

มักพบมากในผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

.

อาการ

1.แขนขาชา อ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่งทันที

2.พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือฟังไม่เข้าใจทันทีทันใด

3.เดินเซ เวียนศีรษะทันทีทันใด

4.ตามองเห็นภาพซ้อน หรือมืดมัวข้างใดข้างหนึ่งทันทีทันใด

 .

ปัจจัยเสี่ยง

1.ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้

– ความดันโลหิตสูง

– โรคเบาหวาน

– โรคหัวใจ

– ภาวะไขมันในเลือดสูง

– ความอ้วน

– การสูบบุหรี่

2.ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้

– อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

– เชื้อชาติ

.

การรักษา ทำได้ดังนี้..

1.การรักษาทางยา

ถ้าผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายใน 1-2 ชั่วโมง หลังมีอาการ แพทย์จะพิจารณาให้ฉีดยาละลายลิ่มเลือด หลังจากนั้นแพทย์จะพิจารณาให้รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านลิ่มเลือด รวมทั้งรักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง

2.การรักษาทางการผ่าตัด

การรักษาโดยการผ่าตัด เมื่อผ่าตัดนั้นจะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วย และมีตำแหน่งที่สามารถผ่าตัดได้โดยอันตรายที่เกิดขึ้นมีโอกาสน้อยกว่าประโยชน์ หรือความสำเร็จที่จะได้รับ

3.การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือ การฟื้นฟูสมรรถภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อลดความพิการ ป้องกันภาวการณ์แทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้ ตามศักยภาพของผู้ป่วย ประกอบด้วยการทำกายภาพบำบัด เพื่อฝึกให้ผู้ป่วยทรงตัว ยืน นั่ง หรือเดินได้ การทำกิจกรรมบำบัด เพื่อให้แขนหรือมือใช้งานได้มากขึ้น ประกอบกิจวัตรประจำวันได้ เช่น ใส่เสื้อผ้า ล้างหน้า แปรงฟัน เข้าห้องน้ำ เป็นต้น

หรือเพื่อฝึกกลืน ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ การแก้ไขการพูดเพื่อฝึกออกเสียง หรือเพื่อให้ผู้ป่วยพูดคล่องขึ้น

นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อให้เหมาะสมกับความพิการ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพของผู้ป่วย เข้าสู่สังคมได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
.

การวินิจฉัย

ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า บางรายอาจต้องมีการตรวจหัวใจ Echocardiogram และอัลตราซาวด์หลอดเลือดใหญ่ที่คอ เพื่อประเมินความรุนแรงและพยากรณ์โรค

.

การป้องกัน

1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม อย่าให้อ้วน

2.งดสูบบุหรี่

3.ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ถ้าพบปัจจัยเสี่ยง ต้องรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

4.กรณีผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว ต้องรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด

5.ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว จะมีโอกาสเป็นซ้ำได้สูงกว่าคนปกติ นอกจากปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้ว ในกรณีที่เป็นชนิดตีบหรืออุดตัน แพทย์จะรักษาโดยให้รับประทานยา เพ่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ

.

การป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

หลักจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาในระยะแรกแล้ว จำเป็นต้องรับประทานยาป้องกันลิ่มเลือดเกาะตัว ร่วมกับการควบคุมรักษาปัจจัยเสี่ยง เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
.

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์สมอง ศูนย์อายุรกรรมโรคระบบประสาทและสมอง ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

SHARE