บวมฉับพลันจากแองจิโออีดีมา…รักษาไม่ทัน อันตรายถึงชีวิต !!! (Angioedema)

18 ก.พ. 2568 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ภาวะแองจิโออีดีมา (Angioedema) คือ ภาวะที่มีการบวมน้ำในเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนัง จากการมีของเหลวรั่วออกมานอกหลอดเลือด โดยบริเวณรอบดวงตา ริมฝีปาก ใบหน้า ลิ้น เป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้บ่อย แต่ก็สามารถเกิดได้ในบริเวณอื่นๆของร่างกาย เช่น เยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจฉับพลัน ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรีบมาพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้



ภาวะแองจิโออีดีมา (Angioedema) คือ ภาวะที่มีการบวมน้ำในเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนัง จากการมีของเหลวรั่วออกมานอกหลอดเลือด โดยบริเวณรอบดวงตา ริมฝีปาก ใบหน้า ลิ้น เป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้บ่อย แต่ก็สามารถเกิดได้ในบริเวณอื่นๆของร่างกาย เช่น เยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจฉับพลัน ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรีบมาพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้

 

ภาวะแองจิโออีดีมาเกิดจากอะไร ?

ผู้ป่วยภาวะแองจิโออีดีมาส่วนใหญ่มักหาสาเหตุไม่พบ (Idiopathic angioedema) แต่มีโรคหรือปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่พบเป็นสาเหตุของภาวะแองจิโออีดีมาได้ ดังนี้

 

  • ปฏิกิริยาภูมิแพ้จากสารต่างๆ เช่น อาหารบางชนิด วัตถุกันเสีย สารทึบรังสี เกสรดอกไม้ ยาง ขนสัตว์ แมลงกัดต่อย
  • ยาบางชนิด เช่น ยาลดการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาลดความดันโลหิตบางชนิด
  • โรคแองจิโออีดีมาที่เป็นมาแต่กำเนิด (Hereditary angioedema) เกิดจากความผิดปกติในยีนที่ควบคุมโปรตีน C1 Inhibitor ส่งผลให้การผลิตโปรตีน C1 Inhibitor ไม่เพียงพอ
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด
  • โรคของต่อมไทรอยด์
  • ปัจจัยทางกายภาพต่าง ๆ เช่น ความร้อน ความเย็น การกดรัด การสั่นสะเทือน การออกกำลังกาย

 

ภาวะแองจิโออีดีมามีอาการอย่างไร ?

 

  • บวมตามเปลือกตา ริมฝีปาก ใบหน้า ลิ้น มือ เท้า ถ้าเป็นมากอาจมีอาการบวมลามไปบริเวณอื่นๆ ผิวหนังบริเวณที่บวมมักมีสีเหมือนผิวหนังปกติ
  • เสียงแหบ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย หากมีอาการบวมบริเวณเยื่อบุทางเดินหายใจ
  • ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด หากมีอาการบวมของเยื่อบุทางเดินอาหาร
  • อาจพบผื่นลมพิษร่วมด้วยในผู้ป่วยบางราย

 

ภาวะแองจิโออีดีมารักษาอย่างไร ?

ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา อาการสามารถดีขึ้นได้เอง ผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง แพทย์จะให้ยาเพื่อทำให้อาการดีขึ้น เช่น

 

  • ยาแก้แพ้หรือยาต้านฮีสตามีน ช่วยลดอาการบวม อาการคัน
  • ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์
  • ยาอีพิเนฟริน สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หรือมีภาวะ anaphylaxis ร่วมด้วย

 

หากผู้ป่วยมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจรุนแรง แพทย์อาจมีความจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อป้องกันระบบทางเดินหายใจล้มเหลว

 

ภาวะแองจีโออีดีมาป้องกันได้อย่างไร ?

  • สังเกตุและหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้หรือปัจจัยกระตุ้นการเกิดภาวะแองจิโออีดีมา
  • รักษาโรคที่เป็นสาเหตุหรือปัจจัยกระตุ้น
  • สวมเสื้อผ้าบาง ไม่รัด ไม่อับชื้น เนื้อผ้าเรียบเนียน

 

หากมีสาเหตุจากยาบางชนิดที่กระตุ้นการเกิดแองจิโออีดีมา แพทย์จะพิจารณาเปลี่ยนให้ไปใช้ยาชนิดอื่นแทน

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

โปรแกรมตรวจตา
โปรแกรมสปาตา(Eyelid Spa)
ราคา
900 ฿
แพ็กเกจผ่าตัด และส่องกล้อง
แพ็กเกจส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscopy) LA
ราคา
13,900 ฿
แพ็กเกจผ่าตัด และส่องกล้อง
แพ็กเกจส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscopy) TIVA
ราคา
17,000 ฿