ไข้รากสาดใหญ่…ไข้จากตัวไรอ่อนกัด !!!

12 ม.ค. 2565 | เขียนโดย ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์

โรคสครับไทฟัส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มริกเก็ตเซีย ที่ชื่อโอเรียนเทีย ซูซูกามูชิ (Orientia Tsutsugamushi) โดยมีตัวไรอ่อนเป็นพาหะนำโรคและมีสัตว์ประเภทฟันแทะเป็นแหล่งรังโรค คนติดเชื้อโดยการถูกไรอ่อนที่มีเชื้ออยู่กัด ทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านแผลบริเวณผิวหนังที่ถูกกัด โดยไรอ่อนมักพบอยู่ตามพุ่มไม้ ป่าละเมาะ พงหญ้า พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว



โรคสครับไทฟัส (Scrub Typhus) หรือ ไข้รากสาดใหญ่ที่เกิดจากตัวไรอ่อนกัด เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้ทั่วโลก พบแพร่ระบาดมากในแถบเอเชีย แปซิฟิค ออสเตรเลีย รวมถึงในทุกภูมิภาคของประเทศไทย

 

 โรคสครับไทฟัสเกิดจากอะไร ?

โรคสครับไทฟัส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มริกเก็ตเซีย ที่ชื่อโอเรียนเทีย ซูซูกามูชิ (Orientia Tsutsugamushi) โดยมีตัวไรอ่อนเป็นพาหะนำโรคและมีสัตว์ประเภทฟันแทะเป็นแหล่งรังโรค คนติดเชื้อโดยการถูกไรอ่อนที่มีเชื้ออยู่กัด ทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านแผลบริเวณผิวหนังที่ถูกกัด โดยไรอ่อนมักพบอยู่ตามพุ่มไม้ ป่าละเมาะ พงหญ้า พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว

 

 โรคสครับไทฟัสมีอาการอย่างไรบ้าง ?

  •  มีไข้ หนาวสั่น
  • ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตัว
  • ปวดศีรษะ
  • ต่อมน้ำเหลืองโตอักเสบ
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว
  • ไอแห้งๆ
  • ผื่นแดงตามตัว
  • อาจพบแผลคล้ายรอยบุหรี่จี้ (Eschar) บริเวณที่ถูกไรอ่อนกัด มักพบตามซอกพับ เช่น ขาหนีบ รักแร้ ใต้ราวนม
  • อาจมีอาการตาแดง ไม่สู้แสง
  • ถ้าอาการรุนแรงอาจมีอาการซึม สับสน ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคสครับไทฟัสมีอะไรบ้าง ?

ถ้าผู้ติดเชื้อไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่พบได้คือ

  • ตับอักเสบ
  • เยื่อหุ้มสมองหรือเนื้อสมองอักเสบ
  • ไตวายฉับพลัน
  • ปอดอักเสบ
  • ภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวทั่วร่างกาย ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ

 

โรคสครับไทฟัสรักษาอย่างไร ?

ไข้รากสาดใหญ่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ด็อกซีไซคลิน คลอแรมเฟนิคอล อะซิโธไมซิน โดยยิ่งได้รับยาปฏิชีวนะรวดเร็วยิ่งมีประสิทธิภาพสูงและลดภาวะแทรกซ้อนได้ดีขึ้น

 

วิธีป้องกันการติดเชื้อสครับไทฟัส

  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่เป็นแหล่งอาศัยของไรอ่อน เช่น พุ่มไม้ ป่าละเมาะ พยายามอยู่ในที่โล่ง
  • ถ้าจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกตัวไรอ่อนกัด โดยการสวมเสื้อผ้าป้องกันให้มิดชิดและการใช้สารไล่แมลงที่มีประสิทธิภาพ
  • รักษาสุขภาพตนเองให้แข็งแรง
  • หากมีไข้สูงหลังเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ได้ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ แผนกอายุรกรรม

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์

SHARE