เทคโนโลยี บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ

6 พ.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มาเข้ารับการรักษาด้วยภาวะฉุกเฉิน จากอาการเจ็บแน่นหน้าอก และหายใจไม่ออกเฉียบพลัน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตมักเกิดจากการมีไขมันไปอุดบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ และหากทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตันมากกว่า 50 เปอร์เซนต์ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เจ็บร้าว เหมือนมีอะไรมาบีบรัด กดทับ หายใจไม่ออก จุกคอ หน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น อาการเจ็บแน่นอาจร้าวขึ้นไปที่กรามและแขนซ้ายด้านใน อาการนี้หากที่เป็นรุนแรงจนถึงขั้นนอนราบไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ไหว ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จนหัวใจวายเฉียบพลันและเสียชีวิตได้



ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มาเข้ารับการรักษาด้วยภาวะฉุกเฉิน จากอาการเจ็บแน่นหน้าอก และหายใจไม่ออกเฉียบพลัน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตมักเกิดจากการมีไขมันไปอุดบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ และหากทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตันมากกว่า 50 เปอร์เซนต์ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เจ็บร้าว เหมือนมีอะไรมาบีบรัด กดทับ หายใจไม่ออก จุกคอ หน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น อาการเจ็บแน่นอาจร้าวขึ้นไปที่กรามและแขนซ้ายด้านใน อาการนี้หากที่เป็นรุนแรงจนถึงขั้นนอนราบไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ไหว ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จนหัวใจวายเฉียบพลันและเสียชีวิตได้

 

อาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีก คือ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน การอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงปอด และภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด

 

เมื่อพบผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้และเร็วที่สุดก่อน เมื่อมาถึงห้องฉุกเฉิน จะมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ตรวจเอกซเรย์ปอดและตรวจเลือดก็จะสามารถวินิจฉัยแยกโรคได้ว่าเกิดจากโรคหัวใจหรือสาเหตุอื่นๆ ในกรณีที่ยังได้ผลไม่ชัดเจน อาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติม อาทิ เอ็คโค่ หรือ Echocardiogram โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง หรือตรวจดูลักษณะเส้นเลือดหัวใจ โดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง จะช่วยให้เห็นความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจได้อย่างชัดเจนในเวลาอันรวดเร็ว

 

หากพบว่า มีหลอดเลือดหัวใจตีบ กรณีนี้จำเป็นจะต้องรีบให้การรักษาโดยเตรียมส่งผู้ป่วยเข้าห้องปฎิบัติการสวนหัวใจ (Cath Lab) เพื่อทำการฉีดสารทึบรังสีดูตำแหน่งที่อุดตันภายในหลอดเลือดหัวใจ พร้อมกับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและการใส่ขดลวด ซึ่งจะช่วยรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบได้ทันทีลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตลงไปได้มาก

 

ปัจจุบันขดลวดที่นำมาใช้มาใช้เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจมีแบบชนิดเคลือบยา ซึ่งนอกจากจะช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจได้ทันทีแล้ว ยังช่วยลดการเกิดหลอดเลือดตีบซ้ำลงไปได้มาก แต่อย่างไรก็ตามการปฎิบัติและการดูแลตัวเองก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับการหลีกเลี่ยงไม่ให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ศูนยหัวใจ สาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์

 

SHARE