pH monitoring เทคโนโลยีตรวจ กรดไหลย้อน

31 ส.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

การตรวจด้วยวิธี pH monitoring ดีกว่าวิธีเดิมๆ อย่างไรการตรวจด้วยวิธีเดิม ไม่ว่าจะเป็นการกลืนแป้งแล้วเอกซเรย์ หรือการส่องกล้องสามารถดูได้เพียงว่ามีการบาดเจ็บ หรือมีแผลอักเสบที่หลอดอาหาร แต่ไม่สามารถบอกถึงปริมาณกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาได้ การตรวจด้วยวิธีใหม่นี้จะเป็นการตรวจวัดปริมาณกรดในหลอดอาหารได้โดยตรง pH monitoring เทคโนโลยีตรวจ กรดไหลย้อน ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา



การตรวจด้วยวิธี pH monitoring ดีกว่าวิธีเดิมๆ อย่างไร


                การตรวจด้วยวิธีเดิม ไม่ว่าจะเป็นการกลืนแป้งแล้วเอกซเรย์ หรือการส่องกล้องสามารถดูได้เพียงว่ามีการบาดเจ็บ หรือมีแผลอักเสบ
ที่หลอดอาหาร แต่ไม่สามารถบอกถึงปริมาณกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาได้ การตรวจด้วยวิธีใหม่นี้จะเป็นการตรวจวัดปริมาณกรดในหลอดอาหารได้โดยตรง

 

ใครบ้างที่ควรตรวจวัดกรดไหลย้อน

  1. ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน กินยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
  2. ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ที่หยุดยาแล้วมีอาการกำเริบ
  3. ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ที่มีอายุน้อย ไม่อยากกินยาต่อเนื่องนานๆ
  4. ผู้ที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก คล้ายเป็นโรคหัวใจ แต่ตรวจหาสาเหตุของโรคหัวใจแล้วไม่ได้เป็นโรคหัวใจ
  5. ผู้ที่มีอาการเสียงแหบเรื้อรัง เหมือนมีก้อนที่คอ มีอาการแสบคอ ผ่านการตรวจจากแพทย์ หู คอ จมูก แล้วไม่พบความผิดปกติ
  6. ผู้ที่ส่องกล้องแล้วพบว่า ปลายหลอดอาหารมีการอักเสบที่รุนแรง

 

พบแพทย์เฉพาะทาง คลินิกอายุรกรรมทางเดินอาหารและตับ

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

SHARE