อาการปวดที่ “ข้อศอก”

8 มี.ค. 2564 | เขียนโดย นพ.ณัฐกร มหสุภาชัย

อาการปวดที่ข้อศอกมักจะเกิดจากการใช้ที่มากเกินไป (overuse) ไม่ว่าจะจากการใช้ในชีวิตประจำวัน การเล่นกีฬาซ้ำๆเป็นเวลานาน โดยอาการปวดสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เส้นเอ็นบาดเจ็บ (tendon or ligament injury) การอักเสบของถุงน้ำ (bursitis) ข้ออักเสบ (arthritis) พังพืดขัดในข้อ (plica impingement) กระดูกอ่อนผิวข้อบาดเจ็บ (cartilage lesion) หรือภาวะเสื่อมของจุดเกาะเส้นเอ็น (tendinopathy เช่น tennis elbow หรือ golfer elbow) ลักษณะของอาการจึงมีได้หลายตำแหน่งและความรุนแรง แต่มักจะทำใช้ผู้ป่วยมีปัญหาในการใช้งานมือและแขนข้างที่มีอาการและส่งผลต่อชีวิตประจำวันสัญญาณเตือนที่ควรมาพบแพทย์ อาการปวดที่บริเวณข้อศอกจากสาเหตุส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดไม่มากแต่เรื้อรัง แต่เมื่อมีอาการเหล่านี้ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องอาการปวดไม่ดีขึ้นหลังพักการใช้งานและประคบเย็น ไม่สามารถขยับข้อศอก เหยียดงอหรือหมุนแขนได้สุด บวมแดงร้อนบริเวณศอก อาจจะมีไข้ร่วมด้วยการรักษาการรักษาสามารถทำได้ทั้งวิธีการใช้ยาและกายภาพบำบัด หรือการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค ในบางโรคสามารถหายดีได้โดยเพียงแค่ทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเองและปรับการใช้งานอย่างถูกต้องโดยไม่ต้องผ่าตัด เช่น tennis elbow แต่หากการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวไม่ได้ผลก็สามารถทำการรักษาได้ด้วยการผ่าตัดปัจจุบันการผ่าตัดสามารถทำได้โดยการส่องกล้องข้อศอกมีข้อดีกว่าการผ่าตัดแบบเปิด คือมีแผลที่เล็กกว่าและบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อยกว่า ส่งผลให้มีอาการปวดหลังผ่าตัดที่น้อยกว่า ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล รวมถึงสามารถทำกายภาพหลังผ่าตัดทำได้ไวกว่าการผ่าตัดแบบเปิด



อาการปวดที่ข้อศอกมักจะเกิดจากการใช้ที่มากเกินไป (overuse) ไม่ว่าจะจากการใช้ในชีวิตประจำวัน การเล่นกีฬาซ้ำๆเป็นเวลานาน โดยอาการปวดสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เส้นเอ็นบาดเจ็บ (tendon or ligament injury) การอักเสบของถุงน้ำ (bursitis) ข้ออักเสบ (arthritis) พังพืดขัดในข้อ (plica impingement) กระดูกอ่อนผิวข้อบาดเจ็บ (cartilage lesion) หรือภาวะเสื่อมของจุดเกาะเส้นเอ็น (tendinopathy เช่น tennis elbow หรือ golfer elbow) ลักษณะของอาการจึงมีได้หลายตำแหน่งและความรุนแรง แต่มักจะทำใช้ผู้ป่วยมีปัญหาในการใช้งานมือและแขนข้างที่มีอาการและส่งผลต่อชีวิตประจำวัน

 

สัญญาณเตือนที่ควรมาพบแพทย์
อาการปวดที่บริเวณข้อศอกจากสาเหตุส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดไม่มากแต่เรื้อรัง แต่เมื่อมีอาการเหล่านี้ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

  • อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังพักการใช้งานและประคบเย็น
  • ไม่สามารถขยับข้อศอก เหยียดงอหรือหมุนแขนได้สุด
  • บวมแดงร้อนบริเวณศอก อาจจะมีไข้ร่วมด้วย

 

การรักษา

การรักษาสามารถทำได้ทั้งวิธีการใช้ยาและกายภาพบำบัด หรือการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค ในบางโรคสามารถหายดีได้โดยเพียงแค่ทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเองและปรับการใช้งานอย่างถูกต้องโดยไม่ต้องผ่าตัด เช่น tennis elbow แต่หากการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวไม่ได้ผลก็สามารถทำการรักษาได้ด้วยการผ่าตัด

 

ปัจจุบันการผ่าตัดสามารถทำได้โดยการส่องกล้องข้อศอกมีข้อดีกว่าการผ่าตัดแบบเปิด คือมีแผลที่เล็กกว่าและบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อยกว่า ส่งผลให้มีอาการปวดหลังผ่าตัดที่น้อยกว่า ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล รวมถึงสามารถทำกายภาพหลังผ่าตัดทำได้ไวกว่าการผ่าตัดแบบเปิด

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ได้ที่ สาขาใกล้บ้านคุณ
คลิกลิงค์เพื่อปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

 

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

แพ็กเกจผ่าตัด และส่องกล้อง
แพ็กเกจผ่าตัดข้อเปลี่ยนเข่า (1 ข้าง)
ราคา
250,000 ฿