หัวใจวาย… รู้ทัน ป้องกันได้

27 ต.ค. 2564 | เขียนโดย ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลสินแพทย์

โรคหัวใจนั้นมักจะมีอาการอย่างเฉียบพลัน แม้จะไม่เคยมีประวัติของโรคนี้มาก่อน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต คือการตรวจสุขภาพของหัวใจเป็นประจำ เพื่อป้องกัน หรือ เข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที โรคหัวใจ รักษาได้ หากได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด



โรคหัวใจ เป็นกลุ่มโรคที่มีอาการ และความรุนแรงที่หลากหลาย บางรายไม่มีอาการผิดปกติ บางรายมีอาการไม่ชัดเจน แต่กลับมีอาการที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยที่อาจไม่เคยรู้ตัวมาก่อนว่าตัวเองมีภาวะโรคหัวใจอยู่ก็เป็นได้ โดยอาการที่กล่าวมานั่นคือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือ ที่เรามักจะเรียกกันว่า หัวใจวาย แต่ถ้าหากเรารู้ทันโรค ก็สามารถที่จะป้องกัน และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน

 

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome) เกิดจากอะไร ?

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือ หัวใจวาย เกิดจากภาวะที่ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายมีปริมาณไขมันมากเกินไป จนเกิดเป็นตะกรัน (Plaque) เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือด แต่ตะกรันแหล่านี้เกิดการแตกออก ทำให้ก่อตัวเป็นลิ่มเลือดไปอุดกั้นทางเดินโลหิต หากไปอุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น หลอดเลือดหัวใจ ก็จะส่งผลให้หัวใจขาดเลือด ทำให้เสียชีวิตได้

 

อาการแบบไหน เข้าได้กับโรคหัวใจ ?

  • เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก เป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน
  • มีอาการคลื่นไส้ วิงเวียน หน้ามืด และอาเจียน
  • ตัวเย็น แต่กลับมีเหงื่อออกตามร่างกาย
  • รู้สึกเหนื่อยอ่อน หอบ หายใจไม่พอ สูดหายใจถี่ และสั้น
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

หากมีอาการเหล่านี้ ควรหยุดการใช้แรง นั่งพัก และรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะหากปล่อยไว้ จะทำให้หัวใจหยุดเต้น ส่งผลต่อการส่งออกซิเจนไปตามร่างกาย และสมอง เสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

คนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

  • คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะหากคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
  • คนที่มีไขมันในเลือดสูง และมีความดันโลหิตสูง ไขมันคือสาเหตุของการเกิดตะกรันในผนังหลอดเลือด หากมีปริมาณตะกรันที่มาก ก็มีโอกาสที่ตะกรันเหล่านั้นจะแตกได้มากขึ้น
  • ผู้ที่มีภาวะเครียดสะสม และพักผ่อนน้อย ความเครียด และการพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบทางเดินโลหิต ทำให้การทำงานของหัวใจมีความผิดปกติได้
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน เนื่องจากมีแนวโน้มจะรับประทานแป้ง น้ำตาล และไขมันมากกว่าปกติ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดไขมันสะสมในผนังหลอดเลือดมากขึ้น
  • ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายเป็นการบริหารการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือดได้ดี หากขาดการออกกำลังกาย การทำงานของหัวใจ และหลอดเลือดจะแย่ลง
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ ในบุหรี่มีสารพิษหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ และหลอดเลือด รวมถึงการสูบบุหรี่จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบ

 

หัวใจวาย

การป้องกัน ดูแลร่างกาย ให้ห่างไกลภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

  • ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มี แป้ง น้ำตาล และไขมันสูง
  • งดอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์
  • บริหารจัดการความเครียด
  • งดสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ เพื่อประเมินความเสี่ยง

 

โรคหัวใจนั้นมักจะมีอาการอย่างเฉียบพลัน แม้จะไม่เคยมีประวัติของโรคนี้มาก่อน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต คือการตรวจสุขภาพของหัวใจเป็นประจำ เพื่อป้องกัน หรือ เข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที โรคหัวใจ รักษาได้ หากได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด

 

หากสนใจ สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพหาปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น

พร้อมโปรโมชันพิเศษ คลิก https://bit.ly/3DmNly3

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

 

 

 

(คลิก link เพื่อดูแพคเกจ ตรวจหัวใจ หรือ จองแพคเกจ)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

 

SHARE