วินิจฉัย หาสาเหตุ หัวใจล้มเหลว

13 ก.ค. 2563 | เขียนโดย นายแพทย์เอกลักษณ์ อาจนาฝาย ศูนย์หัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

วินิจฉัย-หาสาเหตุ-หัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ใช่โรค เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ยังไม่สิ้นสุด ต้องหาสาเหตุต่อไปเพื่อรักษาแก้ไขให้ตรงจุด ไม่มีการตรวจ หรือ การทดสอบใดที่ดีที่สุด การตรวจแต่ละชนิดให้ข้อมูลเสริมกัน เติมเต็มซึ่งกันและกัน 



ภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ใช่โรค เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ยังไม่สิ้นสุด ต้องหาสาเหตุต่อไปเพื่อรักษาแก้ไขให้ตรงจุด

หัวใจล้มเหลวได้อย่างไร (ปั๊มเสีย)

 

ความผิดปกติของ หลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Abnormalities)

  • หลอดเลือดหัวใจตีบ
  • หลอดเลือดหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด

 

ความผิดปกติของ กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy)

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิด HCM, DCM, ARVC, LVNC เป็นต้น

 

ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (Valvular Heart Disease)

  • ลิ้นหัวใจตีบ หัวใจบีบเลือดออกได้ไม่ดี ลิ้นหัวใจรั่ว ทำให้เลือดไหลย้อนกลับ

 

กลุ่มโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arthythmia)

  • หัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว (AF)

 

หัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)

  • ผนังกั้นหัวใจรั่ว เช่น ASD, VSD, Tetralogy of Fallot

 

โรคอื่นๆ ทางอายุรกรรม

  • ความดันโลหิตสูง
  • เบาหวาน
  • ไทรอยด์
  • ภาวะตั้งครรภ์
  • อ้วน
  • ทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นระหว่างนอนหลับ

 

หัวใจล้มเหลว คือ จุดจบของโรคหัวใจ จากสาเหตุอื่นๆ ทั้งปวง

 

การสืบค้นภาวะหัวใจล้มเหลว

  • EST (Exercise Stress)  ประเมินภาวะหัวใจขาดเลือด
  • EP Study (Electrophysiological Study) ศึกษาสรีรวิทยาไฟฟ้าของหัวใจ
  • HOLTER บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง หาหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • Cardiac CT Scan เห็นโครงสร้างหัวใจ
    • ประเมินหลอดเลือดหัวใจ
    • ประเมินหลอดเลือดแดงใหญ่
    • ตรวจดูแคลเซียม
  • CAG (Coronary Anglography) สวนหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่
  • ECHO (Cardiography) เห็นโครงสร้างหัวใจ
    • การทำงานของลิ้นหัวใจ
    • การบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย หรือ Left Venticular Ejection Fractior (LVEF)
  • BLOOD TEST ตรวจเลือด
    • ค่าไต
    • โซเดียม
    • โพแทสเซี่ยม
    • น้ำตาล
    • ไขมัน
    • อื่นๆ
  • Cardiac MRI (Cardiac Magnatic Resonance Imaging) เห็นโครงสร้างของหัวใจทั้งหมด
    • เห็นลักษณะกล้ามเนื้อหัวใจ
    • หาความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ
    • ประเมินการทำงานของหลอดเลือด
  • CPET (Cardiopulmonary Exervise Test)
    • ประเมินค่า VO2Max
    • บอกพยากรณ์โรค เปลี่ยนหัวใจใหม่หรือไม่
  • ECG (Electrogcardiograpy) ตรวจคลื่นไฟฟ้าฟัวใจ

 

ไม่มีการตรวจ หรือ การทดสอบใดที่ดีที่สุด การตรวจแต่ละชนิดให้ข้อมูลเสริมกัน เติมเต็มซึ่งกันและกัน

 

ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว 

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE