รู้หรือไม่ ? ไม่กินเค็ม ก็เสี่ยงโรคไตได้เหมือนกัน

11 พ.ย. 2564 | เขียนโดย ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลสินแพทย์

หากพูดถึงโรคไต สิ่งแรกที่แทบทุกคนมักจะคิดถึงคืออาหารรสเค็ม เรามักได้ยินคำตักเตือนประมาณว่า “กินเค็มมาก ๆ ระวังเป็นโรคไต” ประโยคนี้ถูกต้องแค่เพียงส่วนเดียว การกินอาหารรสเค็มไม่ใด้เป็นปัจจัยเพียงอย่างเดียวที่ก่อให้เกิดโรคไต แต่ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่แม้จะไม่มีรสเค็มเลย แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคไตได้ หากรับประทานเป็นประจำ



หากพูดถึงโรคไต สิ่งแรกที่แทบทุกคนมักจะคิดถึงคืออาหารรสเค็ม เรามักได้ยินคำตักเตือนประมาณว่า “กินเค็มมาก ๆ ระวังเป็นโรคไต” ประโยคนี้ถูกต้องแค่เพียงส่วนเดียว การกินอาหารรสเค็มไม่ใด้เป็นปัจจัยเพียงอย่างเดียวที่ก่อให้เกิดโรคไต แต่ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่แม้จะไม่มีรสเค็มเลย แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคไตได้ หากรับประทานเป็นประจำ

 

โซเดียม สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง

โซเดียม คือ เกลือแร่ชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำ และของเหลวภายในร่างกาย แต่การรับประทานโซเดียมเกินความจำเป็นจะก่อให้เกิดการเสื่อมของไต เพราะไตไม่สามารถขับโซเดียมออกได้ทันจนเกิดการสะสมอยู่ในเลือด ส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้นจนประสิทธิภาพในการกรอง และขจัดของเสียค่อย ๆ ถดถอยลง เกิดเป็นภาวะไตวายเรื้อรังในที่สุด

 

ประเภทของอาหารที่มีโซเดียม

  • อาหารรสเค็ม เกิดจากโซเดียมที่มักอยู่ในรูปของ โซเดียมคลอไรด์ หรือ เกลือแกง โดยรวมถึงเครื่องปรุงรสต่าง ๆ เช่น น้ำปลา ซีอิ๊วขาว น้ำจิ้ม และซอสต่าง ๆ เป็นต้น
  • เนื้อสัตว์แปรรูป และเนื้อสัตว์แช่แข็ง เนื้อสัตว์เหล่านี้มักจะมีการเติมเกลือ รวมถึงสารเสริมต่าง ๆ เพื่อปรุงแต่ง และคงคุณภาพของอาหารให้อยู่ได้นาน ทำให้มีปริมาณโซเดียมมากกว่าเนื้อสัตว์ปกติหลายเท่าตัว
  • อาหารแปรรูป และอาหารหมักดอง กระบวนการถนอมอาหารเหล่านี้มักใช้เกลือเป็นส่วนประกอบ ทำให้มีปริมาณโซเดียมมากกว่าปกติ
  • อาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารพร้อมทาน เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกล่องอุ่นไมโครเวฟ ในกระบวนการผลิตอาหารเหล่านี้นอกจากสารปรุงรสแล้ว ยังมีวัตถุเจือปนอาหารอื่น ๆ ที่มีส่วนประกอบของโซเดียม ทำให้มีปริมาณโซเดียมสูง
  • ขนมอบ นอกจากของคาวแล้ว ในของหวานก็มีโซเดียมอยู่ด้วยเช่นกัน เนื่องจากการทำขนมอบส่วนใหญ่นั้นจะมีส่วนผสมของ “ผงฟู” และ “เบคกิ้งโซดา” ซึ่งมีส่วนผสมของโซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) ในการช่วยให้ขนมขึ้นฟู นอกจากนี้ยังมีสารเจือปนอื่น ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเบเกอรี่ เช่น โซเดียมอัลจิเนต เป็นสารช่วยให้คงตัว ใช้ในการทำให้อาหารข้นหนืด และเป็นเนื้อเจล

 

ทานอาหารอย่างไร ให้สุขภาพไตแข็งแรง

  •  เนื้อสัตว์ควรเน้นรับประทานปลาทะเลน้ำลึก และเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ
  • หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารรสจัด ใช้ผลิตภัณฑ์โซเดียมต่ำในการปรุงอาหาร
  • รับประทานเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ที่ไม่ผ่านการแปรรูป หรือ หมักดอง
  • รับประทานธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี
  • เน้นการปรุงสุกด้วยวิธีการต้ม นึ่ง และอบ แทนการย่าง และทอด

 

การรับประทานอาหารที่ดี และมีประโยชน์ ก็เหมือนกับมียาดีใกล้ตัว ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ได้ การจัดการโภชนาการจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ห่างไกลโรค และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการหมั่นตรวจสุขภาพไตเป็นประจำ เพื่อวินิจฉัยความเสี่ยง รู้เท่าทันโรคที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว

 

กินเค็ม โรคไต

ตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพโรคไตเบื้องต้น พร้อมโปรโมชันพิเศษ คลิก https://bit.ly/3ofXs1P

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โรคไต ศูนย์โรคไต ศูนย์ไตเทียมสาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

 

SHARE