รักษานิ่วถุงน้ำดี ด้วยการส่องกล้อง

16 ก.ค. 2563 | เขียนโดย นายแพทย์วันชัย ด่านวชิรา ศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

การรักษานิ่วในถุงน้ำดีให้หายขาดจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัด นำถุงน้ำดีและก้อนนิ่วออก แต่ในปัจจุบันมีวิธีการส่องกล้องโดยเจาะผ่านทางหน้าท้อง และใช้เครื่องมือที่มีขนาดเล็กในการทำผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไวกว่าการผ่าตัดแบบธรรมกามาก แผลมีขนาดเล็กลง จาก 10 เซนติเมตร เหลือเพียง 2 เซนติเมตร หลังการผ่าตัดผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวและเดินได้ไว และสามารถรับประทานอาหารได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบปกติ ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดใหญ่ทางหน้าท้องแบบทั่วไป รวมทั้งช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการอยู่โรงพยาบาล



ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นนิ่วถุงน้ำดี

เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย และมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคนิ่วถุงน้ำดีได้บ่อย ได้แก่

  1. ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี
  2. ผู้หญิงที่ผ่านการตั้งครรภ์และมีบุตรหลายคน
  3. เป็นโรคไขมันในเลือดสูง หรือ ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เป็นประจำ

 

นิ่วในถุงน้ำดี มีอาการปวดท้องอยางไร

อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ อาการจุกเสียด แน่นท้อง บริเวณลิ้นปี่ อาหารไม่ย่อย มีลมในท้องบ่อย โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารประเภท ผัด หรือ ทอด ด้วยน้ำมัน หรือ หลังรับประทานเนย และซีส อาการปวดมักจะเป็นอยู่นานประมาณ 1-3 ชั่วโมง จากนั้นอาการจะค่อยๆ ทุเลาลง

เมื่อมีนิ่วในถุงน้ำดีเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการอักเสบติดเชื้อของถุงน้ำดี หรือ มีนิ่วอุดตันในท่อนน้ำดี หรือ เกิดตับอ่อนอักเสบแทรกซ้อน จะทำให้มีอาการปวดท้องรุนแรง มีไข้สูง และอาจมีตัวเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม และมีอาการช็อคได้ภายใน 2-3 วัน

 

ตรวจอย่างไร จึงจะทรายว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดี

วิธีการตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี สามารถทำได้ง่าย โดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan) ทั้งนี้ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจต้องงดอาหารอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจ

 

การรักษานิ่วในถุงน้ำดี

การรักษานิ่วในถุงน้ำดีให้หายขาดจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัด นำถุงน้ำดีและก้อนนิ่วออก แต่ในปัจจุบันมีวิธีการส่องกล้องโดยเจาะผ่านทางหน้าท้อง และใช้เครื่องมือที่มีขนาดเล็กในการทำผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไวกว่าการผ่าตัดแบบธรรมกามาก แผลมีขนาดเล็กลง จาก 10 เซนติเมตร เหลือเพียง 2 เซนติเมตร หลังการผ่าตัดผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวและเดินได้ไว และสามารถรับประทานอาหารได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบปกติ ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดใหญ่ทางหน้าท้องแบบทั่วไป รวมทั้งช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการอยู่โรงพยาบาล

 

แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อยกเว้นที่ไม่สามารถใช้วิธีการผ่าตัดนี้ในผู้ป่วยกรณีดังต่อไปนี้

  1. ในคนที่อ้วนมากๆ เนื่องจากชั้นผนังหน้าท้องหนามากกว่าคนปกติ ซึ่งทำการผ่าตัดได้ยากกว่าคนทั่วไปซึ่งพบได้เป็นปกติในการผ่าตัดแบบทั่วไป
  2. ในหญิงมีครรภ์ เนื่องจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่ซึ่งทำให้การส่องกล้องผ่าตัดมองไม่ได้มุมที่ชัดเจน
  3. ในผู้ป่วยโรคหัวใจวายขั้นรุนแรง ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตผิดปกติ และในผู้ที่เป็นโรคหอบเหนื่อย
  4. ผู้ป่วยที่เคยทำการผ่าตัดใหญ่ที่หน้าท้องมาก่อนอาจมีพังผืดบังการมองเห็นของกล้องวีดีทัศน์

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์ศัลยกรรม

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE