ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร

15 มิ.ย. 2563 | เขียนโดย ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

      ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร เป็นสัญญาณเตือนอันตราของโรคทางเดินอาหารที่สำคัญหลายโรค เรามาทำความรู้จักวิธีการสังเกตอาการเบื้องต้น และการตรวจหาสาเหตุกันก่อน



ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร เป็นสัญญาณเตือนอันตราของโรคทางเดินอาหารที่สำคัญหลายโรค เรามาทำความรู้จักวิธีการสังเกตอาการเบื้องต้น และการตรวจหาสาเหตุกันก่อน

 

Q: ทราบได้อย่างไรว่า มีเลือดออกในทางเดินอาหารหรือไม่

A: มีวิธีการสังเกตเบื้องต้น โดยการสังเกตสีของอุจจาระของเราเองทุกวัน ถ้าลักษณะอุจจาระมีสีดำเป็นมูกๆ มีกลิ่นเหม็นคาวผิดปกติ แสดงว่าน่าจะมีความผิดปกติที่ทางเดินอาหารส่วนต้นๆ เช่น เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก จนมีเลือดออกในบริเวณนี้ เพราะเลือดต้องใช้เวลานานในการเดินทางผ่านลำไส้ก็อาจจะถูกขับออกมากับอุจจาระ จึงถูกแบคทีเรียหรือกรดในกระเพาะและทางเดินอาหาร เปลี่ยนสีเลือดจากสีแดงกลายเป็นสีดำ แต่ถ้าลักษณะของอุจจาระออกมาเป็นสีแดงสดๆ โดยมีอุจจาระสีปกตินำออกมาก่อนแล้วมีเลือดสดๆ ออกตามมา แสดงว่าน่าจะมีโรคอยู่ที่บริเวณลำไส้ใหญ่ ซึ่งลักษณะนี้จะพบโรคที่เป็นบ่อยๆ ได้แก่ ริดสีดวงทวาร เนื้องอก มะเร็ง แผลที่ลำไส้ใหญ่ และผนังลำไส้ใหญ่โป่งพอง

Q: เราจะมีวิธีการตรวจหาสาเหตุของภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารได้อย่างไร

A: ปัจจุบันวิธีการตรวจหาสาเหตุที่ดีที่สุด คือ การส่องกล้องประเมินสภาพกระเพาะอาหารและลำไส้ซึ่งมีความแม่นยำสูง และในบางกรณียังสามารถทำการรักษา ด้วยวิธีการห้ามเลือดได้ในขณะที่ส่องกล้อง โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดใหญ่ และถ้าตรวจพบเนื้องอกก็ยังสามารถใส่เครื่องมือตัดชิ้นเนื้องอก นำออกมาตรวจเพิ่มเติมได้ด้วย

 

**เนื่องจากอุบัติการณ์มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบได้อันดับต้นๆ ในคนทั่วไป และเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ และรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ถ้าตรวจพบในระยะเริ่มแรก การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่จึงเป็นสิ่งสำคัญ ตามข้อแนะนำของสหรัฐอเมริกา แนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรตรวจส่องกล้องอย่างน้อย 1 ครั้งและตรวจต่อเนื่องทุก 3-5 ปี ก่อนเกิดอาการ หรือความผิดปกติที่รุนแรง หรือในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งทางเดินอาหารส่วนอื่นๆ แนะนำให้ตรวจได้ก่อนอายุ 50 ปี

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ และ นัดพบแพทย์ได้ที่
แผนกอายุรกรรมระบบทางเดินอาหาร ตับ และ ทางเดินน้ำดี

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

SHARE