ประเมิน อาการหัวใจล้มเหลว

10 ก.ค. 2563 | เขียนโดย นายแพทย์เอกลักษณ์ อาจนาฝาย ศูนย์หัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว ต้องได้รับการประมิน และ เฝ้าระวังอาการหัวใจล้มเหลว ทุกวัน เพื่อป้องกันและรักษาได้อย่างทันท่วงที



ประเมินอาการหัวใจล้มเหลวทุกวัน

ชั่งน้ำหนักตอนเช้าเวลาเดิมทุกวัน

ปัสสาวะ และ ขับถ่ายให้เรียบร้อย ชั่งน้ำหนักก่อนรับประทานอาหาร เสื้อผ้าที่ใส่ควรเบา และ น้ำหนักใกล้เคียงเดิม ใช้เครื่องชั่งน้ำหนักตัวเดิม

  • น้ำหนักเท่าเดิม น้ำหนักเหมาะสม =…………….. กิโลกรัม : ทำดีแล้วปฏิบัติตามเดิม
  • น้ำหนักมีขึ้นมีลง บางวันน้ำหนักขึ้น บางวันน้ำหนักลง  : น้ำเริ่มคั่งจำกัดน้ำ งดเค็ม
  • น้ำหนักขึ้นต่อเนื่อง >= 2 กิโลกรัม ใน 2 วัน : อันตราย ไปโรงพยาบาล

 

ประเมินอาการบวม

กดตรวจบริเวณด้านหน้าข้อเท้า และ หน้าแข้ง หากบวมแบบกดบุ๋ม แสดงถึงร่างกายมีภาวะคั่งน้ำ

  • ไม่บวมเลย : ทำดีแล้วปฏิบัติตามเดิม
  • บวมแค่ข้อเท้า : น้ำเริ่มคั่งจำกัดน้ำ งดเค็ม
  • บวมถึงหน้าแข้ง : อันตราย ไปโรงพยาบาล

 

ประเมินอาการเหนื่อยตอนออกแรง

ทำอะไรแล้วเหนื่อย วิ่ง เดินเร็ว หรือ อยู่เฉยๆ ก็เหนื่อย

  • ไม่เหนื่อยเลย  : ทำดีแล้วปฏิบัติตามเดิม
  • เดินเร็วแล้วเหนื่อย  : น้ำเริ่มคั่งจำกัดน้ำ งดเค็ม
  • อยู่เฉยๆ ก็เหนื่อย  : อันตราย ไปโรงพยาบาล

 

ประเมินอาการเหนื่อยตอนนอนราบ

นอนราบได้หรือไม่ นอนหนุนหมอนกี่ใบ นอนแล้วไอ หรือ ต้องลุกมานั่ง หลับไปแล้วมีตื่นเพราะเหนื่อยหอบตอนกลางคืนหรือไม่

  • นอนราบได้  : ทำดีแล้วปฏิบัติตามเดิม
  • มีลุกขึ้นมาไอ  : น้ำเริ่มคั่งจำกัดน้ำ งดเค็ม
  • ต้องนั่งหัวสูง  : อันตราย ไปโรงพยาบาล

 

หากท่านมีอาการไม่น่าไว้วางใจดังกล่าว แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจล้มเหลว
ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว 

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE