ทำไม…? ต้องวัดความดันโลหิตที่บ้าน

13 ม.ค. 2564 | เขียนโดย ศูนย์หัวใจ ศูนย์หัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ทำไม...? ต้องวัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blod Pressure Monitoring : HBPM) ซึ่งเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดพกพาที่บ้าน ข้อดีของการวัดความดันโลหิตที่บ้าน เนื่องจากค่าความดันโลหิตเฉลี่ยที่บ้านซึ่งเราวัดทุกวัน วันละ ประมาณ 4 ครั้ง จะช่วยประเมินการรักษาได้ดีกว่าค่าความดันโลหิตที่วัดที่โรงพยาบาล ซึ่งมีการวัดเพียงค่าเดียว และ หนึ่งในสามของผู้ป่วยจะมีค่าความดันที่บ้านต่างจากที่โรงพยาบาล เช่น ที่โรงพยาบาลความดันสูง แต่ที่บ้านปกติ หรือ ที่โรงพยาบาลความดันปกติ แต่ที่บ้านความดันสูง



ทำไม…? ต้องวัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blod Pressure Monitoring : HBPM) ซึ่งเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดพกพาที่บ้าน ข้อดีของการวัดความดันโลหิตที่บ้าน เนื่องจากค่าความดันโลหิตเฉลี่ยที่บ้านซึ่งเราวัดทุกวัน วันละ ประมาณ 4 ครั้ง จะช่วยประเมินการรักษาได้ดีกว่าค่าความดันโลหิตที่วัดที่โรงพยาบาล ซึ่งมีการวัดเพียงค่าเดียว และ หนึ่งในสามของผู้ป่วยจะมีค่าความดันที่บ้านต่างจากที่โรงพยาบาล เช่น ที่โรงพยาบาลความดันสูง แต่ที่บ้านปกติ หรือ ที่โรงพยาบาลความดันปกติ แต่ที่บ้านความดันสูง

 

คำแนะนำในการวัดความดันโลหิต โดยวิธี HBPM

  • ระดับความดันโลหิตที่สูงผิดปกติ ≥135/85 mmHg ควรวัดความดันโลิหิตและจดบันทึกที่บ้านเป็นประจำ วันละ 4 ครั้ง
  • เนื่องจาก HBPM สามารถทำนายการเกิดโรคแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ดีกว่าการวัดความดันโลหิตที่สถานพยาบาล ดังนั้น หากมีความขัดแย้งกัน ของผล HBPM กับ Office BP ให้ถือเอาผล HBPM เป็นสำคัญ

 

วิธีวัดความดันโลหิตที่บ้าน

  1. งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ คาเฟอีน อย่างน้อย 30 นาที คาเฟอีน ได้แก่ ชา กาแฟ เครื่องชูกำลัง บุหรี่และแอลกอฮอล์ควรงดถาวร
  2. นั่งพักผ่อนคลายในห้องเงียบสงบ อย่างน้อย 5 นาที ช่วงเช้าวัดภาย 1 ชั่วโมง หลังตื่นนอน หลังจากปัสสาวะ วัดก่อนรับประทานอาหารเช้า และยาความดัน

3. สองเวลา เช้า ก่อนนอน เวลาละ สองครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 นาที จะได้ 4 ค่าต่อวัน วัด 3-7 วันก่อนมาพบแพทย์

4. ค่าที่บ้านจะต่อกว่า ค่าที่วัดได้ในสถานพยาบาล ∼5 mmHg ค่าที่ผิดปกติ คือ ค่าตัวบน ≥135 mmHg และ/หรือ ค่าตัวล่าง ≥85 mmHg

 

การนั่งและจัดท่าทางในการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ให้เหมาะสม สำคัญมากอย่าละเลย

  • ขนาด cuff เหมาะสม เล็กเกินหรือแน่นไป จะทำให้ความดันโลหิตคลาดเคลื่อนได้ถึง 2-10 mmHg
  • รัด cuff บนแขนเปล่าเปลือย วัดผ่านเสื้อผ้าหนา เพิ่ม 5-50 mmHg
  • งดพูดคุย ฟัง พูดคุย สนทนา เพิ่ม 10 mmHg
  • แขนพาด แขนลอย ไม่วาง เพิ่ม 10 mmHg
  • ขาไม่ไขว้ นั่งไขว่ห้าง เพิ่ม 2-8  mmHg
  • เท้าราบหลังพิงพนัก เท้าลองอยู่เหนือพื้น หลังไม่พิงเพิ่ม 6.5 mmHg

 

ต้องบันทึกอะไรบ้างสำหรับผู้เป็นความดันโลหิต

 

  • ชื่อนามสกุล
  • อายุ
  • ความดันโลหิต เป็นมาระยะเวลากี่ปี
  • โรคเบาหวานชนิดใด  วินิจฉัยตั้งแต่ปี พ.ศ.อะไร เป็นระยะเวลากี่ปี
  • ไขมันในเลือดผิดปกติ หรือไม่
  • มีภาวะอ้วนออกแกนกลาง หรือไม่
  • น้ำหนักกี่กิโลกรัม
  • ส่วนสูง
  • ดัชนีมวลกาย
  • เส้นรอบเอว
  • โรค/ภาวะ แสดงถึงหลอดเลือดแดงแข็ง ASCVD (Atherosclertic Cardiovascular Disease)
    • หลอดเลือดหัวใจตีบ (CAD : Coronary Artery Disease)
    • หลอดเลือดสมองตีบ Stroke / TA
    • หลอดเลือดส่วนปลายตีบ (PAD:Peripheral Artery Disease)
    • พบ Plaque ตะกรัน จากการตรวจทางการแพทย์ต่างๆ
  • โรคไตเรื้อรัง ระยะเวลากี่ปี
  • สูบบุหรี่ กี่ปี
  • ดิื่มแอลกอฮอล์

 

บันทึกความดันโลหิต

  • วันที่วัด
  • ครั้งที่ 1
    • ค่าความดันโลหิต ค่าตัวบน ค่าตัวล่าง
    • ชีพจร
  • ครั้งที่ 2
    • ค่าความดันโลหิต ค่าตัวบน ค่าตัวล่าง
    • ชีพจร
  • ครั้งที่ 3
    • ค่าความดันโลหิต ค่าตัวบน ค่าตัวล่าง
    • ชีพจร
  • ครั้งที่ 4
    • ค่าความดันโลหิต ค่าตัวบน ค่าตัวล่าง
    • ชีพจร
  • จดบันทึกหมายเหตุ

 

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ศูนยหัวใจ สาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์

 

(คลิก link เพื่อดูแพคเกจ ตรวจหัวใจ หรือ จองแพคเกจ)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

SHARE