ทำไม? ต้องตรวจส่องกล้อง มะเร็งลำไส้ใหญ่

27 ก.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์โรคปวดท้อง แผนกระบบทางเดินอาหาร ตับ และ ทางเดินน้ำดี โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

เพราะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย และในระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการผิดปกติแสดงออกมาให้เห็นจนเมื่อโรคมีการพัฒนาไปจนถึงระดับหนึ่งแล้วจึงค่อยแสดงอาการ ซึ่งก็มักจะลุกลาม หรือเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่จนยากต่อการรักษาแล้วมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะพบมากขึ้นตามวัยหรืออายุที่มากขึ้น ในคนที่อายุน้อย จะพบเป็นโรคนี้ได้น้อย แต่ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 50ปี มะเร็งลำไส้ใหญ่ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากมีปัจจัยเสริม ได้แก่ มีญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมีญาติเป็น มะเร็งชนิดอื่น ได้แก่ มะเร็งรังไข่, มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หรือเป็นโรคเนื้องอกของลำไส้ใหญ่ชนิด Familial Polyposis มีประวัติเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือ คนที่ชอบกินอาหารมันๆ และมีเส้นใยอาหารต่ำ



เพราะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย และในระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการผิดปกติแสดงออกมาให้เห็นจนเมื่อโรคมีการพัฒนาไปจนถึงระดับหนึ่งแล้วจึงค่อยแสดงอาการ ซึ่งก็มักจะลุกลาม หรือเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่จนยากต่อการรักษาแล้ว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ จะพบมากขึ้นตามวัยหรืออายุที่มากขึ้น ในคนที่อายุน้อย จะพบเป็นโรคนี้ได้น้อย แต่ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 50ปี

 มะเร็งลำไส้ใหญ่ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากมีปัจจัยเสริม ได้แก่ มีญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมีญาติเป็น มะเร็งชนิดอื่น ได้แก่ มะเร็งรังไข่, มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หรือเป็นโรคเนื้องอกของลำไส้ใหญ่ชนิด Familial Polyposis มีประวัติเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือ คนที่ชอบกินอาหารมันๆ และมีเส้นใยอาหารต่ำ

 

การตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่


                เป็นการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ดีที่สุด ซึ่งถือเป็นการป้องกันโรคในเชิงรุก ควรตรวจพบให้เร็วที่สุดตั้งแต่ระยะก่อนเป็น
หรือเป็นในระยะแรก เนื่องจากในระยะนี้การรักษาจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด

การตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มี 2วิธี หลักๆ คือ

  1. ตรวจลำไส้ใหญ่โดยใช้กล้องส่อง (Colonoscopy) เป็นการส่องกล้องผ่านทางทวารหนัก ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจจะสามารถ
    มองเห็นความผิดปกติภายในลำไส้ใหญ่ได้ชัดเจน หากตรวจพบเจอติ่งเนื้อ หรือเนื้องอกโพลิป (Polyp) แพทย์จะสามารถ
    ทำการตัดออก ในระหว่างการส่องกล้องนี้ได้ทันที ซึ่งติ่งเนื้อหรือเนื้องอกที่พบเจออาจไม่ใช่มะเร็ง แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้
    อาจเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งได้

การตรวจด้วยวิธีนี้ แทบจะไม่มีอาการเจ็บปวดเลย หลังการตรวจนอนพักประมาณ 6ชั่วโมง ก็สามารถขับรถกลับบ้านเองได้

  1. ตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Colonography (CTC) / Virtual Colonoscopy) เป็นการตรวจโดยใช้
    เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง สแกนภาพแล้วสร้างภาพของลำไส้ใหญ่ให้เป็นภาพเสมือนจริงแบบ 3 มิติ ทำให้ดูผิวหรือผนังของลำไส้ใหญ่ได้คล้ายกับการส่องกล้อง ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง สามารถค้นหา
    ติ่งเนื้อขนาด 6-8 มิลลิเมตร ได้ถึง 85-90% และหากเป็นติ่งเนื้อขนาด 8 มิลลิเมตร จะสามารถตรวจพบได้ถึง 95-100%

การตรวจด้วยวิธีนี้ไม่ยุ่งยากเท่ากับการส่องกล้องตรวจ และยังสามารถใช้เสริมการตรวจดูมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะต่างๆ
ซึ่งมีภาวะลำไส้อุดตัน และไม่สามารถส่องกล้องเข้าไปได้ นอกจากนี้ยังสามารถดูผนังด้านนอกของลำไส้ใหญ่และอวัยวะ
ภายในช่องท้อง ซึ่งไม่สามารถเห็นด้วยการส่องกล้องได้ด้วย

จากสถิติพบว่า ในคนที่มีอายุ  50-75 ปี ที่ได้รับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สามารถตรวจพบโรคได้ถึง 37.5%
ในจำนวนนนี้
7.9% ตรวจพบก้อนเนื้อหรือติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ (ติ่งเนื้อนี้หากปล่อยทิ้งไว้ บางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็งได้)
1.6% ตรวจพบเซลล์ที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
1.0% ตรวจพบเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ยังไม่มีอาการผิดปกติ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้รับการตรวจและเฝ้าระวังป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรตรวจส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านระบบทางเดินอาหารและตับ

 

คำแนะนำเพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

  1. ไม่มีสารเคมีหรือยาอะไรที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ จึงไม่ควรเชื่อหรือตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อในเรื่อง
    อาหารเสริม หรือการทำดีทอกซ์ลำไส้ใหญ่ เพราะนอกจากเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์แล้วยังเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อน
    จากสารเคมี หรือเสี่ยงต่อการอักเสบหรือการแตกของลำไส้ใหญ่จากการทำดีท็อกซ์ เพราะยังไม่มีข้อพิสูจน์ถึง
    ประโยชน์ที่ชัดเจนที่ได้รับจากการทำดีท็อกซ์
  2. แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ได้แก่ ผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
  3. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน
  4. ควรได้รับการตรวจส่องกล้องหามะเร็งในระยะเริ่มต้น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ มีคนในครอบครัว
    เป็นโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะมะเร็งในอวัยวะใดๆ ก็ตาม และตามข้อแนะนำของสหรัฐอเมริกา ผู้ที่มีอายุ 50ปีขึ้นไป
    ควรได้รับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังต่อเนื่องมายาวนาน
  5. ผู้ที่มีประวัติครอบครัว มีเนื้องอกที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางประเภท ก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรอง
    โรคมะเร็งตั้งแต่อายุยังน้อย

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์โรคปวดท้อง แผนกระบบทางเดินอาหาร ตับ และ ทางเดินน้ำดี

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

 

SHARE