ทำไม?…. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

17 ก.ค. 2563 | เขียนโดย นายแพทย์กิตติพงศ์ วิรัตนพรกุล ศูนย์หัวใจ, ศูนย์หัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ทำไมหัวใจขาดเลือด ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดมีการอุดตันมากกว่า 70% ก็จะทำให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก ในช่วงที่ออกกำลังกายหรือ เหนื่อยง่าย แต่ถ้ามีการปริหรือฉีกขาดของไขมัน เกิดขึ้น ก็จะทำให้ไขมันและสารต่างๆ หลุดออกมาภายในหลอดเลือด และกระตุ้นทำให้เกิดก้อนเลือดอุดตันในหลอดเลือดขึ้น ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงจนเกิดภาวะหัวใจวาย หรือ เสียชีวิตได้ ศูนย์หัวใจ ศูนย์หัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสินแพทย์



สาเหตุหนึ่งของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจจนทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่สะดวก กล้ามเนื้อหัวใจจึงขาดออกซิเจน เมื่อนานเข้ากล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนจะตาย และหยุดทำงาน จนเกิดหัวใจวายและรุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิตได้ พบว่ามีขบวนการเกิดที่หลอดเลือดหัวใจอยู่ 3 อย่าง ด้วยกัน คือ

  • การสะสมของไขมันในหลอดเลือด

  • การเกิดปริแยกหรือฉีกขาดของไขมันที่หลอดเลือดหัวใจ

  • การเกิดก้อน/ลิ่มเลือดอุดตันภายในหลอดเลือด

 

ในภาวะปกติเยื่อบุผนังหลอดเลือดเป็นตัวป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด และป้องกันการสะสมของไขมันในหลอดเลือด แต่ถ้าการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือดนั้นเสียไปหรือมีการเสื่อมของเยื่อบุผนังหลอดเลือด ก็จะทำให้เกิดมีการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดกับการเกิดสนิมขึ้นในท่อประปา จนทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้สะดวก

 

จะเกิดอะไร…หากมีไขมันอุดตันในหลอดเลือด

ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดมีการอุดตันมากกว่า 70% ก็จะทำให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก ในช่วงที่ออกกำลังกายหรือ เหนื่อยง่าย แต่ถ้ามีการปริหรือฉีกขาดของไขมัน เกิดขึ้น ก็จะทำให้ไขมันและสารต่างๆ หลุดออกมาภายในหลอดเลือด และกระตุ้นทำให้เกิดก้อนเลือดอุดตันในหลอดเลือดขึ้น ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงจนเกิดภาวะหัวใจวาย หรือ เสียชีวิตได้

 

การเกิดหัวใจวาย อาจจะมีสิ่งมากระตุ้นทำให้เกิดการปริแยกของไขมัน เช่น หลังการออกกำลังอย่างหนักหรือมากเกินไป  มีความเครียดมาก โกรธ หรือ เสียใจมากๆ และมักจะพบได้บ่อยในช่วงตื่นนอน

 

หากพบอาการผิดปกติ ที่สงสัยว่าใช้อาการจากโรคหัวใจหรือไม่ อย่าด่วนตัดสินใจ หรือคิดสรุปเอง แนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ เพื่อซักถามอาการและตรวจร่างกายอย่างละเอียด การรักษาจะขึ้นอยู่กับความผิดปกติที่ตรวจพบ หากจำเป็นในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน การขยายหลอดเลือดหัวใจก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว 

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

 

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

 

(คลิก link เพื่อดูแพคเกจ ตรวจหัวใจ หรือ จองแพคเกจ)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE