ทำอย่างไรเมื่อนิ้วล็อค?!

17 พ.ย. 2563 | เขียนโดย ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

นิ้วล็อค เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วมือบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ ทำให้เส้นเอ็นและเยื่อหุ้มเส้นเอ็นมีการหนาตัวขึ้นเป็นพังผืด ขาดความยืดหยุ่นและเส้นเอ็นเคลื่อนผ่านไม่สะดวก สาเหตุเกิดจากการใช้งานมือซ้ำๆเป็นระยะเวลานานๆ เช่น แม่บ้านที่ทำงานบ้าน หิ้วของหนักๆ ช่างทำผม คนสวนที่ใช้งานมือมากๆ คนทำงานหรือคนเล่นเกมส์ที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา



โรคนิ้วล็อค (Trigger Finger) เกิดจากอะไร ?

นิ้วล็อค เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วมือบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ ทำให้เส้นเอ็นและเยื่อหุ้มเส้นเอ็นมีการหนาตัวขึ้นเป็นพังผืด ขาดความยืดหยุ่นและเส้นเอ็นเคลื่อนผ่านไม่สะดวก สาเหตุเกิดจากการใช้งานมือซ้ำๆเป็นระยะเวลานานๆ เช่น แม่บ้านที่ทำงานบ้าน หิ้วของหนักๆ ช่างทำผม คนสวนที่ใช้งานมือมากๆ คนทำงานหรือคนเล่นเกมส์ที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา

 

อาการของโรคนิ้วล็อค

  • ปวดเจ็บบริเวณฐานนิ้วมือ
  • ปวดชานิ้วโดยเฉพาะในเวลากลางคืนหรือหลังตื่นนอนตอนเช้า ขยับนิ้วมือแล้วรู้สึกเจ็บ
  • การงอและการเหยียดนิ้วด้านฝ่ามือจะสะดุด งอนิ้วไม่เข้า เหยียดนิ้วไม่สะดวก
  • ถ้ามีอาการมาก นิ้วอาจติดในท่างอ ไม่มีกำลัง นิ้วยึดติดแข็งใช้งานไม่ได้ นิ้วโก่งงอผิดรูป

 

ใครที่มีความเสี่ยงนิ้วล็อค ?

  • อายุ ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 40-60 ปี
  • เพศหญิงพบบ่อยกว่าเพศชาย
  • คนที่ใช้งานนิ้วมือหนัก เช่น แม่บ้าน คนสวน ช่างไม้ ทันตแพทย์ พนักงานออฟฟิศ
  • คนที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น รูมาตอยด์ เบาหวาน เก๊าท์

 

การรักษานิ้วล็อค

การรักษาขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค

  • ถ้ามีอาการในระยะแรก รักษาโดยการพักการใช้งานมือ การประคบร้อน การแช่น้ำอุ่น การทำกายภาพบำบัด
  • การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  • การฉีดสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณเยื่อหุ้มเส้นเอ็น แต่การฉีดยาอาจทำให้อาการดีขึ้นได้เพียงระยะเวลาสั้นๆและสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
  • การผ่าตัด ในรายที่เป็นมานานและใช้การรักษาโดยวิธีอื่นไม่ได้ผล  โดยวิธีการผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาตัวให้เปิดออก เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้ไม่ติดขัด โดยการผ่าตัดใช้เวลาสั้นๆ ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล

 

วิธีป้องกันการเป็นนิ้วล็อค

  • ไม่หิ้วหรือถือของหนักเกินไป ลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
  • พักการใช้นิ้วมือเป็นระยะๆ ขณะทำงานที่ต้องใช้นิ้วมือเป็นเวลานานๆ
  • ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือเป็นพักๆ
  • เมื่อต้องใช้มือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น การขุดดิน การใช้ค้อน การตีกอล์ฟ ควรใช้ถุงมือหรือผ้านุ่มๆพันรอบๆ เพื่อลดแรงกดกระแทกต่อนิ้วมือ
  • การแช่มือในน้ำอุ่นในช่วงเช้าๆ จะทำให้ข้อฝืดลดลง เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลสินแพทย์ ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

แพ็กเกจผ่าตัดและผ่าตัดส่องกล้อง
แพ็กเกจผ่าตัดส่องกล้องเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า (ACL)
ราคา
230,000 ฿
โปรแกรมศูนย์กระดูกและข้อ
แพ็กเกจตรวจคัดกรอง MRI ข้อเข่า P.1
ราคา
6,900 ฿
โปรแกรมศูนย์กระดูกและข้อ
แพ็กเกจตรวจคัดกรอง MRI ข้อเข่า P.2
ราคา
12,000 ฿