ดูแลผู้สูงวัยอย่างไร… ไม่ให้หกล้ม ?!

8 ต.ค. 2563 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

การหกล้มเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยความเสี่ยงของการหกล้มจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น และเมื่อเกิดการหกล้มขึ้น มักจะนำมาซึ่งความเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนต่างๆทั้งทางด้านร่างกาย เช่น กระดูกสะโพกหัก การนอนติดเตียง แผลกดทับ การติดเชื้อแทรกซ้อนโดยเฉพาะติดเชื้อในปอดและทางเดินปัสสาวะ และทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุ ตั้งแต่ทำให้ผู้สูงอายุขาดความมั่นใจในการเคลื่อนไหว ไปจนถึงมีภาวะซึมเศร้า ดังนั้นเราควรรู้วิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงที่ผู้สูงอายุจะหกล้มให้มีน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและความสูญเสียต่างๆตามมา



การหกล้มเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยความเสี่ยงของการหกล้มจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น และเมื่อเกิดการหกล้มขึ้น มักจะนำมาซึ่งความเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนต่างๆทั้งทางด้านร่างกาย เช่น กระดูกสะโพกหัก การนอนติดเตียง แผลกดทับ การติดเชื้อแทรกซ้อนโดยเฉพาะติดเชื้อในปอดและทางเดินปัสสาวะ และทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุ ตั้งแต่ทำให้ผู้สูงอายุขาดความมั่นใจในการเคลื่อนไหว ไปจนถึงมีภาวะซึมเศร้า ดังนั้นเราควรรู้วิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงที่ผู้สูงอายุจะหกล้มให้มีน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและความสูญเสียต่างๆตามมา

 

สาเหตุของการหกล้มในผู้สูงอายุ

 

  • ปัจจัยภายในตัวผู้สูงอายุเอง : เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวและการทรงตัว เช่น ปัญหาข้อเสื่อมและกล้ามเนื้อที่อ่อนแอลง ปัญหาด้านสายตาที่ทำให้มองภาพไม่ชัดเจน เช่น ต้อกระจก สายตายาว  โรคประจำตัวบางอย่างที่ส่งผลโดยตรงต่อการเคลื่อนไหว เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน การใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาลดความดันโลหิต

 

  • ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอก : คือสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้สูงอายุทั้งภายในและภายนอกบ้าน เช่น แสงสว่างที่ไม่เพียงพอ พื้นที่ลื่นหรือมีระดับไม่สม่ำเสมอ การวางของใช้ที่ระเกะระกะ การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม

 

วิธีป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

  • ปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบ้าน เช่น จัดแสงสว่างให้เพียงพอ เลือกวัสดุพื้นที่ไม่ลื่น ใช้วัสดุกันลื่นในห้องน้ำ พื้นควรสม่ำเสมอ ทางเดินและบันไดควรมีราวจับ ไม่วางของระเกะระกะ ไม่ย้ายที่ของใช้บ่อยๆ ใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีความสูงพอเหมาะ
  • เลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ  ใช้รองเท้าส้นเตี้ย พื้นไม่ลื่น ขนาดพอเหมาะไม่หลวมหรือคับเกินไป
  • การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า
  • ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกำลังของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อ ฝึกเรื่องการทรงตัว
  • พยายามหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ค่อยๆเปลี่ยนอิริยาบถ
  • ส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุ ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะยาที่อาจส่งผลให้เกิดการหกล้ม ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา   

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ