การผ่าตัดส่องกล้องข้อมือ (Wrist Arthroscopey)

8 มี.ค. 2564 | เขียนโดย นพ.ภรัณยู วิไล

“การผ่าตัดส่องกล้องข้อมือ” คืออะไร และเมื่อไรที่ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ จะพิจารณาที่จะทำการผ่าตัดชนิดนี้รวมถึงประโยชน์ที่คนไข้จะได้รับ ในบทความนี้เราจะมาหาคำตอบกันครับ ปัจจุบันการผ่าตัดส่องกล้องในทางกระดูกและข้อนั้นได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า (Knee arthroscope) หรือการผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่ (Shoulder arthroscope) เป็นต้น การผ่าตัดชนิดนี้จัดเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery) โดยการใช้กล้องส่องเข้าไปดูภายในข้อ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นและวินิจฉัยพยาธิสภาพได้ชัดเจน รวมถึงสามารถให้การรักษาได้ทันที การผ่าตัดส่องกล้องข้อมือ (Wrist arthroscope) ก็คล้ายกับการผ่าตัดส่องกล้องประเภทอื่น แต่จะใช้กล้องที่มีขนาดเล็กกว่าประมาณ 2 มิลลิเมตร และมักทำโดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อที่มีความเชี่ยวชาญทางมือ หรือเวชศาสตร์การกีฬาเป็นหลัก ปัจจุบันการผ่าตัดส่องกล้องชนิดนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากแผลเล็กทำให้การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงน้อย ผู้ป่วยพักฟื้นในโรงพยาบาลระยะสั้น และการฟื้นตัวดีกว่าการผ่าตัดแบบปกติมาก ผู้ป่วยที่มักเข้ารับการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องนั้นมักจะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อมือเรื้อรัง โดยเฉพาะการปวดข้อมือด้านในฝั่งกระดูกอัลน่า (Ulnar sided wrist pain) ซึ่งสาเหตุอาจมาจากอุบัติเหตุล้ม ข้อมือพลิก อุบัติเหตุขณะเล่นกีฬา หรืออาจเกิดจากภาวะอักเสบเรื้อรังจากสาเหตุอื่นๆ โดยโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยกลุ่มนี้คือโรคการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของเส้นเอ็นภายในข้อมือที่ชื่อว่า Triangular Fibrocartilage Complex (TFCC) การรักษาเบื้องต้น แพทย์จะรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาแก้ปวดลดอักเสบ การฉีดยา การทำดายภาพบำบัด ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบไม่ผ่าตัดในระยะเวลาที่กำหนด จึงพิจารณาที่จะทำการผ่าตัดส่องกล้องข้อมือเพื่อทำการซ่อมแซมเส้นเอ็น การผ่าตัดชนิดนี้นั้นยังสามารถเป็นทางเลือกในการรักษาโรคอื่นได้ เช่นโรคถุงน้ำในข้อมือ(Ganglion) โรคข้อมืออักเสบเรื้อรังจากสาเหตุต่างๆ ในผู้ป่วยที่ต้องการการผ่าตัดแผลเล็ก และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้เร็วขึ้น แม้ว่าเทคโนโลยีในการผ่าตัดจะได้รับการพัฒนาขึ้นไปมากจากในอดีต แต่การวินิจฉัยโรคโดยแพทย์และการตรวจร่างกายก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละคน ผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดข้อมือเรื้อรังควรที่จะพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยก่อนที่จะทำการรักษาทุกครั้งครับ



“การผ่าตัดส่องกล้องข้อมือ” คืออะไร และเมื่อไรที่ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ จะพิจารณาที่จะทำการผ่าตัดชนิดนี้รวมถึงประโยชน์ที่คนไข้จะได้รับ ในบทความนี้เราจะมาหาคำตอบกันครับ

 

ปัจจุบันการผ่าตัดส่องกล้องในทางกระดูกและข้อนั้นได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า (Knee arthroscope) หรือการผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่ (Shoulder arthroscope) เป็นต้น การผ่าตัดชนิดนี้จัดเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery) โดยการใช้กล้องส่องเข้าไปดูภายในข้อ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นและวินิจฉัยพยาธิสภาพได้ชัดเจน รวมถึงสามารถให้การรักษาได้ทันที

 

การผ่าตัดส่องกล้องข้อมือ (Wrist arthroscope) ก็คล้ายกับการผ่าตัดส่องกล้องประเภทอื่น แต่จะใช้กล้องที่มีขนาดเล็กกว่าประมาณ 2 มิลลิเมตร และมักทำโดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อที่มีความเชี่ยวชาญทางมือ หรือเวชศาสตร์การกีฬาเป็นหลัก ปัจจุบันการผ่าตัดส่องกล้องชนิดนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากแผลเล็กทำให้การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงน้อย ผู้ป่วยพักฟื้นในโรงพยาบาลระยะสั้น และการฟื้นตัวดีกว่าการผ่าตัดแบบปกติมาก

 

ผู้ป่วยที่มักเข้ารับการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องนั้นมักจะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อมือเรื้อรัง โดยเฉพาะการปวดข้อมือด้านในฝั่งกระดูกอัลน่า (Ulnar sided wrist pain)

 

ซึ่งสาเหตุอาจมาจากอุบัติเหตุล้ม ข้อมือพลิก อุบัติเหตุขณะเล่นกีฬา หรืออาจเกิดจากภาวะอักเสบเรื้อรังจากสาเหตุอื่นๆ โดยโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยกลุ่มนี้คือโรคการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของเส้นเอ็นภายในข้อมือที่ชื่อว่า Triangular Fibrocartilage Complex (TFCC)
การรักษาเบื้องต้น แพทย์จะรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาแก้ปวดลดอักเสบ การฉีดยา การทำดายภาพบำบัด ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบไม่ผ่าตัดในระยะเวลาที่กำหนด จึงพิจารณาที่จะทำการผ่าตัดส่องกล้องข้อมือเพื่อทำการซ่อมแซมเส้นเอ็น

 

การผ่าตัดชนิดนี้นั้นยังสามารถเป็นทางเลือกในการรักษาโรคอื่นได้ เช่นโรคถุงน้ำในข้อมือ(Ganglion) โรคข้อมืออักเสบเรื้อรังจากสาเหตุต่างๆ ในผู้ป่วยที่ต้องการการผ่าตัดแผลเล็ก และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้เร็วขึ้น

 

แม้ว่าเทคโนโลยีในการผ่าตัดจะได้รับการพัฒนาขึ้นไปมากจากในอดีต แต่การวินิจฉัยโรคโดยแพทย์และการตรวจร่างกายก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละคน ผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดข้อมือเรื้อรังควรที่จะพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยก่อนที่จะทำการรักษาทุกครั้งครับ

 

     
รูปภาพประกอบ แสดงให้เห็นถึงลักษณะภายในข้อมือขณะมองผ่านกล้อง และแผลผ่าตัดหลังผ่าตัดถุงน้ำข้อมือ
ผ่านทางการส่องกล้องในผู้ป่วยจริงหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ได้ที่ สาขาใกล้บ้านคุณ
คลิกลิงค์เพื่อปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

โปรแกรมศูนย์กระดูกและข้อ
แพ็กเกจตรวจคัดกรอง MRI ข้อเข่า P.1
ราคา
6,900 ฿
โปรแกรมศูนย์กระดูกและข้อ
แพ็กเกจฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า P.1
ราคา
26,000 ฿
แพ็กเกจผ่าตัดและผ่าตัดส่องกล้อง
แพ็กเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 1 ข้าง (TKA)
ราคา
219,000 ฿