กระดูกพรุน หรือไม่ ?? เป็นผู้หญิง ยิ่งต้องใส่ใจ

11 มิ.ย. 2563 | เขียนโดย ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรคกระดูกพรุนพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายมวลกระดูกของผู้หญิงจะลดลงเรื่อยๆ หลังหมดประจำเดือนทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเกิดกระดูกหักมากถึง 30-40 %



โรคกระดูกพรุน

  • พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • มวลกระดูกของผู้หญิงจะลดลงเรื่อยๆ หลังหมดประจำเดือน
  • ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเกิดกระดูกหักมากถึง 30-40 %

 

โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่มีการลดลงของเนื้อกระดูก หรือมวลกระดูก ทำให้กระดูกบางลง มีโครงสร้างผิดไป เปราะมากขึ้นและทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือหกล้มจะเกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกบริเวณข้อสะโพก  กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ

 

คุณมีสิทธิ์เป็นโรคกระดูกพรุน ถ้า…

  1. อยู่ในวัยสูงอายุ
  2. มีใครในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนมาก่อน
  3. สตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนแล้ว หรือผู้ที่ผ่าตัดรังไข่ออก 2 ข้าง
  4. คนผิวขาว หรือชาวเอเชีย มีโอกาสเป็นมากกว่าเชื้อชาติอัฟริกัน
  5. เคลื่อนไหวร่างกายน้อย หรือนั่งทำงานอยู่กับโต๊ะทั้งวัน
  6. คนรูปร่างเล็กหรือผอม เพราะไม่มีไขมันที่สามารถเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตเจนได้
  7. กินอาหารที่มีแคลเซียมน้อย
  8. กินอาหารที่มีไขมันหรือเนื้อสัตว์มากเกินไป ซึ่งจะเป็นตัวขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม
  9. สูบบุหรี่จัด
  10. ดื่มสุรา ชา หรือกาแฟ ในปริมาณมากๆ เป็นประจำ
  11. กินยาบางชนิด เช่น ยารักษาไทรอยด์ ยาประเภทสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเหล่านี้จะมีผลทำให้การดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายลดลง
  12. ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากการทำงานของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์ เบาหวาน โรคของต่อมหมวกไต
  13. ผู้ที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ได้แก่ คนที่ต้องเข้าเฝือกเป็นระยะเวลานานๆ ผู้ที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
  14. ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ
  15. ทำงานอยู่แต่ในอาคาร จึงไม่มีโอกาสได้รับแสงแดดอ่อนๆ ตอนเช้าหรือตอนเย็น ทำให้ร่างกายไม่ได้รับวิตามินดี เพื่อไปเสริมสร้างกระดูกเพิ่ม

 

เราอาจไม่รู้ตัวเลยว่า เราเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุ แล้วมีกระดูกหัก คุณหมอตรวจเอกซเรย์แล้วจึงรู้ว่ากระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนนั่นเอง เนื่องจากภาวะกระดูกพรุนจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่ปัจจุบันมีวิธีการตรวจวัดมวลกระดูกด้วยเครื่อง “Bone DEXA scan (Dual Energy X-ray Absovptionmetry)” เป็นเครื่องเอกซเรย์ระบบ 2 พลังงาน ที่มีข้อดีคือ เป็นเครื่องตรวจที่ใช้รังสีเอ็กซเรย์พลังงานต่ำ ทำให้ได้รับปริมาณรังสีน้อย มีความแม่นยำสูง ใช้ตรวจกระดูกได้หลายส่วน

 

ควรตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ตำแหน่งใด

 

โดยทั่วไป นิยมตรวจในกระดูกส่วนที่มีโอกาสหักได้ง่าย 3 ตำแหน่ง ดังนี้

  • กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar spine)
  • กระดูกข้อสะโพก (Hib)
  • กระดูกปลายแขน (Forearm)

 

ใครบ้างที่ควรตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก

  • สตรีในวัยหมดประจำเดือน
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  • คนที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่สูบบุหรี่จัด มีคนกระดูกหักในครอบครัว

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลสินแพทย์

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

แพ็กเกจผ่าตัดและผ่าตัดส่องกล้อง
แพ็กเกจผ่าตัดส่องกล้องเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า (ACL)
ราคา
230,000 ฿
โปรแกรมศูนย์กระดูกและข้อ
แพ็กเกจตรวจคัดกรอง MRI ข้อเข่า P.1
ราคา
6,900 ฿