ทารกมีโอกาสติดเชื้อจากแม่ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี หรือไม่ เชื้อไวรัสไวรัสตับอักเสบ บี จะถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ในขณะคลอด โดยเฉพาะหากมารดามีเชื้อไวรัสปริมาณสูง หรือมีสารแอนติเจน (HbeAg) ในกระแสเลือด จะทำให้ทารกมีโอกาสติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ได้ถึง 90 % ส่วนมารดาที่มีเชื้อไวรัสในปริมาณไม่มากก็ยังมีโอกาสที่ทารกจะติดเชื้อ 10-40 %
สตรีที่ตั้งครรภ์หากติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จะมีผลอย่างไร ?
อาจเกิดการคลอดก่อนกำหนดได้สูงกว่ามารดาปกติที่ไม่มีการติดเชื้อ เสี่ยงต่อการตกเลือดภายหลังคลอด และทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
ทารกมีโอกาสติดเชื้อจากแม่ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี หรือไม่
เชื้อไวรัสไวรัสตับอักเสบ บี จะถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ในขณะคลอด โดยเฉพาะหากมารดามีเชื้อไวรัสปริมาณสูง หรือมีสารแอนติเจน (HbeAg) ในกระแสเลือด จะทำให้ทารกมีโอกาสติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ได้ถึง 90 % ส่วนมารดาที่มีเชื้อไวรัสในปริมาณไม่มากก็ยังมีโอกาสที่ทารกจะติดเชื้อ 10-40 %
ทารกติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จะส่งผลอย่างไร ?
ทารกที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จากมารดาขณะคลอด มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี เรื้อรังถึง 90 % มีโอกาสป่วยเป็นโรคตับแข็ง ,มะเร็งตับ ในระยะเวลา 25-30 ปี และมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับมากกว่าคนทั่วไปถึง 200 เท่า
วิธีการป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จากแม่สู่ลูก
- สตรีที่ตั้งครรภ์ ควรฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์กับสูตินรีแพทย์ เพื่อจะได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และตรวจหาระดับภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เพื่อความปลอดภัยของมารดาและทารก
- หากตรวจพบว่าเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี จะได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างครอบคลุม กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางเดินอาหารและตับ ควบคู่กับการดูแลครรภ์โดยสูตินรีแพทย์
- หากตรวจเลือดแล้ว ไม่มีเชื้อ ไม่ได้เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี และ ไม่มีภูมิคุ้มกันโรค แพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี ทุกราย
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์สุขภาพสตรี แผนกสูตินรีเวช
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)
พบแพทย์เฉพาะทาง คลินิกอายุรกรรมทางเดินอาหารและตับ
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)