ไฟโบรสแกน (Fibroscan)

29 พ.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์โรคระบบทางเดินอหารและตับ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ไฟโบรสแกน เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับและตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในเนื้อตับ  เครื่องไฟโบรสแกนจะทำงานโดยการปล่อยคลื่นความถี่ต่ำเข้าไปในเนื้อตับและตรวจวัดความเร็วของคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับมาเพื่อประเมินค่าความแข็งของเนื้อตับ และสามารถวัดปริมาณไขมันสะสมในตับโดยการวัดความต้านทานหลังปล่อยคลื่นเสียงความถี่ต่ำเข้าไปในตับ หากตับมีปริมาณไขมันสะสมมากก็จะมีแรงต้านทานมาก



มารู้จักกับ “ไฟโบรสแกน (Fibroscan)” เทคโนโลยีตรวจตับแบบใหม่ !!!

 

ไฟโบรสแกน (Fibroscan) คืออะไร ?

ไฟโบรสแกน เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับและตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในเนื้อตับ  เครื่องไฟโบรสแกนจะทำงานโดยการปล่อยคลื่นความถี่ต่ำเข้าไปในเนื้อตับและตรวจวัดความเร็วของคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับมาเพื่อประเมินค่าความแข็งของเนื้อตับ และสามารถวัดปริมาณไขมันสะสมในตับโดยการวัดความต้านทานหลังปล่อยคลื่นเสียงความถี่ต่ำเข้าไปในตับ หากตับมีปริมาณไขมันสะสมมากก็จะมีแรงต้านทานมาก

 

การตรวจไฟโบรสแกน มีประโยชน์อย่างไร?

 

ไฟโบรสแกนใช้ตรวจเพื่อดูสภาพการเกิดพังผืดในเนื้อตับของผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังและใช้ประเมินปริมาณไขมันสะสมในตับในผู้ป่วยที่มีโรคไขมันเกาะตับ ผลตรวจไฟโบรสแกนสามารถช่วยในการติดตามการดำเนินโรค ประเมินความรุนแรงของภาวะตับแข็ง ติดตามผลการรักษา และวางแผนการรักษา

 

ใครบ้างควรตรวจไฟโบรสแกน ?

 

  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังจากสาเหตุต่างๆ
  • ผู้ที่มีภาวะไขมันเกาะตับ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคอ้วนลงพุง
  • ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง
  • ผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรัง
  • ผู้ที่ทานยาหรือสมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานาน

 

การตรวจไฟโบรสแกนเจ็บหรือไม่ ?

 

การตรวจไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด บาดแผล หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงใดๆ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที ขณะตรวจอาจรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนผิวหนังบริเวณที่ตรวจบ้าง

 

ก่อนตรวจไฟโบรสแกน ต้องเตรียมตัวอย่างไร  ?

 

ผู้ที่ต้องการตรวจไฟโบรสแกนควรงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนการตรวจ

 

การตรวจไฟโบรสแกนมีข้อจำกัดอะไรบ้าง ?

 

  •  ไม่สามารถทำการตรวจในผู้ป่วยที่อ้วนมากๆ หรือผู้ที่มีน้ำในช่องท้อง เพราะสัญญาณอาจไปไม่ถึงเนื้อตับ
  • ไม่สามารถตรวจหาก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งในตับได้
  • ไม่ควรใช้กับหญิงที่ตั้งครรภ์
  • ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่ติดเครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะลุกลาม
SHARE