โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease หรือ COPD) จัดอยู่ในกลุ่มโรคปอดอักเสบเรื้อรัง และพบได้บ่อย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ลักษณะของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ หลอดลม เนื้อปอด และ หลอดเลือดปอดเกิดการอักเสบเสียหาย เนื่องจากได้รับแก๊ส หรือ สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เป็นระยะเวลานาน ทำให้หลอดเลมค่อยๆ ตีบแคบ หรือ ถูกอุดกั้น โดยไม่อาจฟื้นคืนเป็นปกติได้อีก เช่น โรคถุงลมโป่งพอง และ หลอดลมอักเสบ ซึ่งทั้งสองโรคมักพบร่วมกัน และ ยังมีโรคหืด หรือ โรคหอบหืด และ โรคหลอดลมพอง ที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เช่นกัน
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease หรือ COPD)
จัดอยู่ในกลุ่มโรคปอดอักเสบเรื้อรัง และพบได้บ่อย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ลักษณะของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ หลอดลม เนื้อปอด และ หลอดเลือดปอดเกิดการอักเสบเสียหาย เนื่องจากได้รับแก๊ส หรือ สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เป็นระยะเวลานาน ทำให้หลอดเลมค่อยๆ ตีบแคบ หรือ ถูกอุดกั้น โดยไม่อาจฟื้นคืนเป็นปกติได้อีก เช่น โรคถุงลมโป่งพอง และ หลอดลมอักเสบ ซึ่งทั้งสองโรคมักพบร่วมกัน และ ยังมีโรคหืด หรือ โรคหอบหืด และ โรคหลอดลมพอง ที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เช่นกัน
สาเหตุ และ ปัจจัยเสี่ยของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดลม และถุงลมจนนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง และทำให้ปอดเสื่อมสมรรถภาพในที่สุด
- มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ควันพิษ รวมถึงการหายใจเอาสารเคมีบางอย่างเข้าไปในปอด ติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่ทำงาน ในสถานที่มีละอองสารเคมี เช่น เหมืองถ่านหิน งานเชื่อมโลหะ รวมถึงการเผาไหม้เชื้อเพลิง ในการประกอบอาหารและการขับเคลื่นเครื่องจักรต่างๆ
- โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคพร่องสาร alpha-1-antitrypsin (AAT) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ผลิตในตับ แล้วหลั่งเข้ากระแสเลือด เพื่อป้องกันไม่ให้ปอดถูกทำลายจากสารต่างๆ โรคนี้จึงสามารถเกิดได้ทั้งกับคนวัยหนุ่มสาวเป็นโรคที่ไม่ได้พบได้บ่อยนัก
- ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ การสูบบุหรี่ร่วมกับเป็นโรคหืด และ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
อาการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ระยะเริ่มแรก : ผู้ป่วยจะยังไม่แสดงอาการจนกระทั่งปอดถูกทำลายมากขึ้นผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ
- ไอเรื้อรัง
- มีเสมหะมากโดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังตื่นนอน
- รู้สึกเหนื่อยหอบ
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- หายใจลำบาก
- แน่นหน้าอก
- หายใจมีเสียหวีด
- ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจบ่อยๆ
- บางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด ปากและเล็บเปลี่ยนเป็นสีม่วง
เมื่อโรคลุกลามมากขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการ
- เหนื่อยหอบมากจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ
- น้ำหนักลดลงอย่างมาก
ในระยะท้ายของโรคมักพบ
- ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
- ภาวะหายใจวาย (respiratory failure)
- หัวใจด้านขวาล้มเหลว
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์โรคระบบทางเดินหายใจและปอด
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)