โบท็อกซ์ รักษาโรคเกร็งบิด

25 ธ.ค. 2562 | เขียนโดย ศูนย์อายุกรรมระบบประสาทและสมอง โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โบท็อกซ์ ได้นำมาใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี พศ.2520 เพื่อรักษาอาการตาเหล่ และต่อมาได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง และได้ผลดีมากโดยเฉพาะเพื่อรักษา กล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ เช่น โรคเกร็งบิด (Dystonia) โรคตากะปริบ และ โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก (ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อย) , อาการปวด, อาการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง โรคอัมพฤกษ์ เป็นต้น



มีอาการเคี้ยวปาก กัดฟัน มือเกร็งบิด และสั่นเวลาหยิบจับสิ่งของ คอจะมีอาการเกร็งบิดไปทางด้านขวาเกือบจะตลอดเวลา เป็นแบบนี้มานานถึง 7 ปี ตระเวนหาหนทางในการรักษาหลายแห่ง ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสั่นเวลาอยู่นิ่ง (โรคพาร์กินสัน) เคยกินยารักษาโรคนี้ก็แล้ว แต่อาการก็ไม่ดีขึ้นเลย ต่อมาเริ่มมีอาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติมากขึ้นโดยเฉพาะที่มือด้านซ้าย และการเคลื่อนไหวของใบหน้า ปาก มีการเคี้ยวตลอดเวลา นอนไม่หลับ คอหมุนไปมา เดินตลอดทั้งคืน ในที่สุดได้มาตรวจร่างกายกับหมอสุปราณีจึงได้พบว่า อาการที่เป็นอยู่ไม่ได้เกิดจากโรคพาร์กินสันแต่เป็นโรคทางระบบประสาทชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “โรค Oromandibular dystornia ร่วมกับ Spontaneous orofacial dystrioresia” เพื่อรักษาอาการเกร็งกล้ามเนื้อเป็นโรคที่ทำให้มีการเคลื่อนไหว ของร่างกายกับกล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ ซึ่งมีการรักษาวิธีหนึ่ง คือ การฉีดโบท็อกซ์ (Botox) หลังจากฉีดไปเพียง 1 สัปดาห์ พบว่าอาการดีขึ้นมาก กัดฟันลดลง การเกร็งของใบหน้าและคอ ลดลง นอนหลับได้ มีความสุขในการดำรงชีวิตเกือบเท่ากับปกติมากขึ้น

 

แพทย์ผู้ชำนาญการ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Botox เพื่อการรักษาโรคต่างๆ เพิ่มเติมดังนี้

 

โบท็อกซ์ หรือ มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า โบทูไลนุม ท็อกซิน เป็น Nuerotoxin ที่สร้างโดยเชื้อแบคทีเรียคอสตริเดียม โบทูไลนุม (Clostridium botulinum) สารตัวนี้มีผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยออกฤทธิ์ลดการหลั่งอะซีทิลโคลีน  (Acetyl Choline) ที่ Neuromuscular  junction

 

โบท็อกซ์

ได้นำมาใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี พศ.2520 เพื่อรักษาอาการตาเหล่ และต่อมาได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง และได้ผลดีมากโดยเฉพาะเพื่อรักษา กล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ เช่น โรคเกร็งบิด (Dystonia) โรคตากะปริบ และ โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก (ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อย) , อาการปวด, อาการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง โรคอัมพฤกษ์ เป็นต้น

 

ในปัจจุบันการนำโบท็อกซ์ มาใช้เพื่อการรักษาได้รับการยอมรับแล้วจากสมาคมและสถาบันทางการแพทย์หลายแห่ง

  • ในสหรัฐอเมริกา Botox ได้ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการอาหารและยา ตั้งแต่ ปี 2532
  • ในอังกฤษ Dysport ได้ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการอาหารและยา ตั้งแต่ปี 2534
  • ในประเทศไทย Botox ได้ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการอาหารและยา ตั้งแต่ปี 2539

 

** โดยนำมาใช้เพื่อการรักษาโรคทางระบบประสาท โรคในระบบทางเดินอาหาร โรคทางตาและ หู คอ จมูก และเพื่อความสวยงาม

 

ข้อดี ของการรักษาโรคเกร็งบิดด้วยโบท็อกซ์

  1. เป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่ใช่วิธีการผ่าตัด จึงไม่ต้องเสี่ยงกับการดมยาสลบ
  2. สามารถปรับปริมาณยาตามความรุนแรงของโรคได้
  3. ผลข้างเคียงอาจพบได้เพียงเล็กน้อยเช่น การอ่อนกำลังของกล้ามเนื้ออื่นๆ ซึ่งจะเป็นอยู่ชั่วคราวและหายไปได้เอง
  4. ได้รับการยอมรับในทางการแพทย์
  5. เป็นวิธีการรักษาที่ไม่ยุ่งยาก และ สามารถทำได้ที่ห้องตรวจ ไม่ต้องทำในห้องผ่าตัด
  6. ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ

 

ข้อจำกัดของการรักษาด้วยวิธีนี้

  1. ผลดีจากการรักษามีระยะเวลาสั้น ประมาณ 3-4 เดือน จึงต้องมาติดตามรักษาอย่างต่อเนื่อง
  2. อาจมีการอ่อนกำลังของกล้ามเนื้ออื่นที่ไม่ต้องการได้
  3. ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

 

พบแพทย์เฉพาะทาง
ศูนย์อายุรกรรมระบบประสาทและสมอง
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์   

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

แพ็กเกจเสริมความงาม
Botox 25 Unit
ราคา
8,000 ฿
แพ็กเกจเสริมความงาม
Botox 50 Unit
ราคา
15,500 ฿