มารู้จักกับ เทคโนโลยี… เอ็มอาร์ไอ (MRI)

20 ก.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ และ เอ็ม อาร์ ไอ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

เอ็มอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging : MRI) เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจหาความผิดปกติของส่วนต่างๆ ในร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูงและคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ มาใช้ในการสร้างภาพตัดขวางและภาพในแนวระนาบต่างๆ ของคนไข้ ซึ่งทำให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดสูงช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียดและแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเจ็บปวดใดๆ แก่ผู้ป่วยและไม่มีรังสีเอกซเรย์อีกด้วย



 เอ็มอาร์ไอ (MRI) คืออะไร

 

เอ็มอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging : MRI) เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจหาความผิดปกติของส่วนต่างๆ ในร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูงและคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ มาใช้ในการสร้างภาพตัดขวางและภาพในแนวระนาบต่างๆ ของคนไข้ ซึ่งทำให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดสูงช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียดและแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเจ็บปวดใดๆ แก่ผู้ป่วยและไม่มีรังสีเอกซเรย์อีกด้วย

 

หลักการทำงานของเครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI)

อาศัยการส่งคลื่นวิทยุไปยังผู้ป่วยที่นอนอยู่ในสนามแม่เหล็กความเข้มสูง เมื่อหยุดกระตุ้นด้วยคลื่นวิทยุนิวเคลียสของอะตอมจะกลับเข้าสู่ภาวะระดับพลังงานปกติก็จะปลดปล่อยคลื่นวิทยุออกมาเป็นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเราสามารถบันทึกคลื่นวิทยุที่เนื้อเยื่อปล่ยออกมาแล้วนำมาประมวลผล และสร้างภาพอวัยวะต่างๆ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะได้ภาพที่มีรายละเอียดของเนื้อเยื่อสูง และสามารถแสดงภาพได้ทุกระนาบของผู้ป่วย

 

เอ็มอาร์ไอ (MRI) ใช้ตรวจอวัยวะใดได้บ้าง

การตรวจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ สามารถตรวจหาความผิดปกติได้แทบทุกอวัยวะ ได้แก่

  1. ความผิดปกติภายในกระโหลกศีรษะ เช่น สมอง ตา หูชั้นใน ต่อมใต้สมอง เป็นต้น
  2. ความผดิปกติของระบบกระดูกสันหลัง และไขสันหลัง โดยสามารถตรวจพบสาเหตุของการกดทับไขสันหลัง หรือ กดทับเส้นประสาทสันหลังได้อย่างแม่นยำ
  3. ความผิดปกติของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ กระดูกส่วนต่างๆ รวมทั้งการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น บริเวณข้อกระดูก เช่น ข้อเข่า, ข้อเท้า เป็นต้น
  4. ความผิดปกติของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น มดลูก, ต่อมลูกหมาก และกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
  5. ความผิดปกติของอวัยวะบริเวณทรวงอก, ช่องท้อง และเต้านม เป็นต้น

 

ข้อดี ของการตรวจด้วย เครื่องเอ็มอาร์ไอ

  1. สามารถจำแนกคุณสมบัติของเนื้อเยื่อที่แตกต่างกันได้ชัดเจน ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรดได้ถุกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น
  2. ใช้ได้ดีกับส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อ เช่น เนื้อเยื่อสมอง, เส้นประสาทไขสันหลัง, กล้ามเนื้อ เอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ, เส้นเลือด, ไขกระดูก และข้อต่อกระดูกต่างๆ เป็นต้น
  3. สามารถตรวจหาสิ่งผิดปกติในร่างกายได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ
  4. ตรวจได้ทุกระนาบโดยไม่ต้องขยับผู้ป่วย
  5. ไม่มีรังสัเอกซเรย์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

 

ข้อพึงระวังก่อนเข้ารับการตรวจเอ็มอาร์ไอ

เนื่องจากห้องตรวจเอ็มอาร์ไอ จะมีสนามแม่เหล็กความเข้มสูงตลอดเวลา ซึ่งมีผลต่อการทำงานของเครื่องมือที่ไวต่อแม่เหล็ก และดึงดูดวัตถุที่เป็นโลหะทุกชนิดจึงมีข้อพึงระวังก่อนเข้ารับการตรวจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ ดังนี้

  1. ห้ามตรวจในผู้ป่วยที่มีการฝังโลหะในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดเลือดในโรคเส้นเลือดโป่งพอง, ผู้ป่วยใส่ลิ้นหัวใจเทียม หรือข้อเทียม, ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ, ผู้ป่วยที่ใส่ Stent หลอดเลือดหัวใจหรือผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมภายในหู เป็นต้น
  2. ควรหลีกเลี่ยงการตรวจเอ็มอาร์ไอ ในผู้ป่วยที่กลัวที่แคบ (Claustrophobic) เพราะเครื่องเอ็มอาร์ไอมีลักษณะเป็นโพรงให้เตียงผู้ป่วยเคลื่อนเข้าไปได้
  3. ผู้ที่เข้ารับการตรวจเอ็มอาร์ไอ จะต้องนำโลหะต่างๆ ออกจากตัว เช่น ที่หนีบผม , ฟันปลอม, ต่างหู, เครื่องประดับ, บัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเครดิต กุญแจ หรือ นาฬิกา เป็นต้น
  4. ผู้ป่วยจ้องถอดเหล็กดัดฟัน, ไม่ใช้อายแชโดว์ และมาสคาร่า เพรามีส่วนประกอบของโลหะ ซึ่งจะทำให้เกิดสิ่งแปลกปลอมบนภาพได้
  5. ถึงแม้ว่าจะไม่มีรายงานผลข้างเคียงต่อทารกในครรภ์ก็ตาม แต่ถ้าไม่มีความจะเป็นจริงๆ จะไม่ตรวจในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก

 

สารเพิ่มความแตกต่าง (Contrast  Media) คืออะไร

สารเพิ่มความแตกต่าง (Contrast Media) คือ สารที่ใช้ฉีดเพื่อช่วยในการแยกแยะเนื้อเยื่อที่ต้องการตรวจให้เห้นเด่นชัดยิ่งขึ้น ใช้สำหรับการจรวจร่างกายเฉพาะส่วน เช่น การตรวจหาความผิดปกติของเส้นเลือดในสมองการจรวจหามะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งในลำไส้ใหญ่ เป็นต้น สารเพิ่มความแตกต่างที่ใช้ในการตรวจเอ็มอาร์ไอมีความปลอดภัยสูงมาก เนื่องจากไม่มีสารไอโอดีนเป็นส่วนประกอบเหมือนที่ใช้ในการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ในผู้ป่วยที่แพ้สารไอโอดีน

 

ขั้นตอนการตรวจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI)

  1. ผู้ป่วยนอนบนเตียงตรวจและจะมีการติดเครื่องจับสัญญาณแม่เหล็ก (Magnetic Coli) ที่ส่วนต่างๆ ในร่างกายที่ต้องการตรวจ
  2. ผู้ป่วยจะค่อยๆ เคลื่อนไปยังศูนย์กลางของสนามแม่เหล็ก
  3. ขณะที่ทำการตรวจจะมีเสียงดังเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ซึ่งเกิดจากการทำงานของเครืองปกติ
  4. สำหรับการตรวจบางอวัยวะอาจมีการฉีดสารเพิ่มความแตกต่าง (Contrast Media) เพื่อช่วยให้เห็นภาพอวัยวะชัดเจนยิ่งขึ้น
  5. ระยะเวลาการตรวจโดยประมาณ 1-3 ชั่วโมง

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์เอ็กซเรย์ โรงพยาบาลสินแพทย์

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

SHARE