เรื่องของ… เฝือก

1 มิ.ย. 2563 | เขียนโดย ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

เฝือก คือ อุปกรณ์ที่ใช้ดามกระดูกและข้อ เพื่อต้องการให้อวัยวะส่วนนั้นอยู่นิ่งๆ ในปัจจุบันนี้ นอกจากเผือกที่ทำจากปูนปลาสเตอร์แล้ว ยังมีเผือกใยสังเคราะห์ที่มีน้ำหนักเบาแข็งแรง ทนทาน และมีสีสันสวยงามอีกด้วย



เฝือกคือ…?

 

อุปกรณ์ที่ใช้ดามกระดูกและข้อ เพื่อต้องการให้อวัยวะส่วนนั้นอยู่นิ่งๆ ในปัจจุบันนี้ นอกจากเผือกที่ทำจากปูนปลาสเตอร์แล้ว ยังมีเผือกใยสังเคราะห์ที่มีน้ำหนักเบาแข็งแรง ทนทาน และมีสีสันสวยงามอีกด้วย

 

เมื่อไหร่ ควรจะเข้าเฝือก

 

  • เมื่อมีกระดูกหัก หรือข้อเคลื่อน
  • แก้ไขความพิการ เช่น กระดูกสันหลังคด เท้าปุก เป็นต้น
  • ป้องกันการหดรั้งของกล้ามเนื้อ หรือ เนื้อเยื้ออื่นๆ เช่น ในผู้ป่วยแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  • ป้องกันการหักของกระดูก ในกรณีที่เป็นโรคกระดูก เช่น โรคกระดูกโปร่งบาง หรือ เป็นเนื้องอกของกระดูด
  • ระยะหลังการผ่าตัดที่ต้องการให้อวัยวะ เช่น แขน หรือ ขา นั้นได้พักอยู่นิ่งๆ

 

ข้อควรปฏิบัติเมือเข้าเฝือก

  • ไม่ควรให้เฝือกรับน้ำหนักทันที หรือ ลงน้ำหนักเดินบนเฝือก จนกว่าเฝือกจะแข็งแรงเต็มที่
  • ยกแขน หรือขาส่วนที่เข้าเฝือก ให้สูงกว่าระดับลำตัว โดยเฉพาะใน 24 ชั่วโมงแรก เพื่อลดอาการบวม
  • อย่าให้เฝือกเปียกน้ำ หรือ ส่งสกปรกอย่างอื่น และอย่าให้น้ำเข้าไปภายในเฝือก
  • หากมีอาการคัน ห้ามใช้วัสดุสอดเข้าไปเกาในเฝือกเพราะอาจทำให้ผิวหนังมีแผลถลอก และระวังวัตถุขนาดเล็กที่อาจหลุดเข้าไปในเฝือก จะทำให้เกิดแผลกดทับ และมีการติดเชื้อตามมาได้
  • หมั่นบริหารกล้ามเนื้อเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยกสรเกร็งกล้ามเนื้อ ทั้งส่วนที่อยู่นอกเฝือกร่วมกับการขยับเคลื่อนไหวข้อส่วนที่อยู่นอกเผือก
  • ไม่ควรตัด แต่ง หรือถอดเฝือกด้วยตนเอง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียต่อกระดูกได้ เช่น กระดูกคดงอ

 

ความผิดปกติเมื่อเข้าเฝือกสังเกตอย่างไร

  • เฝือกมีการแตกร้าว รู้สึกว่าเฝือกแน่นเกินไป หรือหลวมหลุด
  • มีอาการปวดมาก โดยเฉพาะบริเวณที่เฝือกกดทับ
  • ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้างที่เข้าเฝือก มีอาการปวด บวม เขียวคล้ำ หรือซีดขาว รู้สึกชา เคลื่อนไหวได้น้อยและอาการไม่ทุเลา แม้จะยกส่วนที่ใส่เฝือกให้สูง
  • มีเลือด น้ำเหลือง หนอง หรือกลิ่นเหม็นออกมาจากเฝือก
  • ผิวหนังบริเวณขอบเฝือกมีการถลอก หรือบวมแดง

 

**เมื่อพบสิ่งผิดปกติดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์**

 

ข้อปฏิบัติภายหลังการถอดเฝือก

  • ทำความสะอาดบริเวณนั้นเบาๆด้วยสบู่และน้ำอาจทาน้ำมัน หรือโลชั่น เพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น
  • เริ่มเคลื่อนไหวข้อที่ถอดเฝือกทันทีที่ทำได้
  • ถ้ามีอาการบวมหลังจากเดิน หรือห้อยแขน ขา ควรยกแขน ขา ให้สูง โดยใช้หมอนหรือวัสดุอ่อนนุ่มรองไว้เช่นเดียวกับที่ทำในขณะเข้าเฝือกอยู่
  • ไม่ควรใช้งานอวัยวะส่วนนั้นเต็มที่ จนกว่ากล้ามเนื้อจะแข็งแรง หรือตามคำแนะนำของแพทย์
SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ