การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จัดเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 5 โดย 2 ใน 3 เกิดจากการพลัดตกหกล้ม มึนงงหรือวิงเวียน ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
สาเหตุของอาการวิงเวียนศีรษะและมึนงงเกิดได้จากปัจจัยหลายประการ ทั้งจากความผิดปกติของระบบการทรงตัวของร่างกาย ตลอดจนความเจ็บป่วยอื่นๆ ซึ่งการทรงตัวของร่างกายขึ้นอยู่กับการทำงานประสานกันอย่างสมดุลของอวัยวะควบคุมการทรงตัวที่หูเสื่อม ตั้งแต่ระดับหูชั้นในไปจนถึงสมอง การมองเห็นลดลงทั้งด้านความชัดเจน การกะระยะความลึกและการมองในที่สลัว ประสาทสัมผัสและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกับข้อต่าง ๆ ลดลง
.
นอกจากนี้ผู้สูงอายุจำนวนมากยังมีโรคประจำตัว เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคทางสมอง, โรคเบาหวานที่ทำให้เกิดเส้นประสาท (neuropathy) ฯลฯ อีกทั้งผู้สูงอายุมักใช้ยาหลายชนิดเพื่อรักษาโรคประจำตัวต่างๆ เช่น ยาขยายหลอดเลือด, ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด, ยาขับปัสสาวะ, ยานอนหลับ หรือยารักษาอาการซึมเศร้า เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการควบคุมการทรงตัวของร่างกายและทำให้เกิดอาการมึนงง ดังนั้น อาการมึนงงและอาการเวียนศีรษะ จึงเป็นปัญหาของผู้สูงอายุ ทั้งสองอาการนี้มีความคล้ายคลึงกัน
.
เวียนศีรษะ (Vertigo) คือ ความรู้สึกหมุน ซึ่งอาจรู้สึกว่าตัวเองหมุนหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เคลื่อนไหวผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยไม่สบายหรือเสียการทรงตัว และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ เหงื่อออก, คลื่นไส้และอาเจียน
มึนงง (Dizziness) เป็นคำรวม ๆ ของอาการหลายอย่าง เช่น มึนงง, โคลง, หวิว ๆ คล้ายจะเป็นลม หรือมีอาการหนักศีรษะ
ขั้นตอนการประเมินอาการวิงเวียนศีรษะ เสียการทรงตัวในผู้สูงอายุนั้นทำเช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจพิเศษเพิ่มเติม ทั้งนี้ หลักสำคัญคือต้องแยกอาการเวียนศีรษะที่มีสาเหตุจากหูชั้นในออกจากสาเหตุจากสมองตั้งแต่แรก
.
พบแพทย์เฉพาะทาง คลินิกหู คอ จมูก
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)