การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรทำเป็นประจำทุกปี เพราะเมื่อฉีดวัคซีนไปสักระยะ ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อโรคจะค่อย ๆ ลดลง ในแต่ละปีสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่แพร่ระบาดอาจเปลี่ยนแปลงไป จึงต้องฉีดวัคซีนทุกปีเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น และป้องกันได้ตรงกับสายพันธุ์ที่กำลังระบาด วัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนที่คนทั่วไปฉีดได้ แต่ควรมีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป และเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี ที่รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นปีแรก ควรได้รับ 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 4 สัปดาห์ รวมทั้ง บุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับวัคซีน ปีละ 1 เข็มอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันความรุนแรงและการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดใหญ่
การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรทำเป็นประจำทุกปี เพราะเมื่อฉีดวัคซีนไปสักระยะ ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อโรคจะค่อย ๆ ลดลง ในแต่ละปีสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่แพร่ระบาดอาจเปลี่ยนแปลงไป จึงต้องฉีดวัคซีนทุกปีเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น และป้องกันได้ตรงกับสายพันธุ์ที่กำลังระบาด วัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนที่คนทั่วไปฉีดได้ แต่ควรมีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป และเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี ที่รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นปีแรก ควรได้รับ 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 4 สัปดาห์ รวมทั้ง บุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับวัคซีน ปีละ 1 เข็มอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันความรุนแรงและการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดใหญ่
ผู้ที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน
- บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย
- หญิงมีครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
- เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย มะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัด เบาหวาน
- บุคคลที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป
- ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
- โรคธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ
- ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัมหรือBMI ตั้งแต่ 35 kg/m2
ข้อดีของการฉีดวัคซีนป้องกัน
การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นแนวทางการป้องกันที่ดีสำหรับทุกคนในครอบครัว เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ และจากการสัมผัสเชื้อ โดยการใช้ของร่วมกันของผู้ป่วย เช่น ประตู ลูกบิด ภาชนะที่ในบ้านที่ใช้ร่วมกัน โรคไข้หวัดใหญ่มีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา มักเป็นนานกว่า 1 สัปดาห์ หรืออาจมากกว่านั้น
จึงจะหายเป็นปกติ หากผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ก็อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
โดยกลุ่มเสี่ยงที่เป็นประชาชนทั่วไป แบ่งออกเป็น 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่
- หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
- เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
- บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- โรคอ้วน (น้ำหนัก>100 กิโลกรัม หรือ BMI >35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
- ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
- โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)
- ผู้มีโรคเรื้อรัง (ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน)
โดยประชาชนกลุ่มเสี่ยง
สามารถขอรับบริการวัคซีนได้ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ และสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามวันและสถานที่ดังกล่าว
อาการข้างเคียงของวัคซีนที่ควรรู้
ในการผลิตวัคซีน นอกจากจะเน้นเรื่องประสิทธิภาพในการป้องกันโรคเป็นสำคัญแต่ในเวลาเดียวกัน ความปลอดภัยของวัคซีนก็เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงควบคู่ไปด้วยเสมอ วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความปลอดภัยสูง แต่ยังคงพบอาการข้างเคียงหลังการได้รับได้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาการที่ไม่รุนแรงและยอมรับได้ ส่วนน้อยมีอาการข้างเคียงที่รุนแรง เช่น อาการชักเกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น การเฝ้าสังเกตอาการข้างเคียงของวัคซีนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม
อาการข้างเคียงของวัคซีนมีความแตกต่างกันไปตาม ประเภทของวัคซีน เช่น อาการไข้หลังได้รับวัคซีนไอกรน อาการผื่นหลังฉีดวัคซีนอีสุกอีใสและวัคซีนหัด เราสามารถแบ่งอาการข้างเคียงเป็ น 2 ประเภท ได้แก่
- อาการข้างเคียงเฉพาะที่ ได้แก่ อาการที่เกิดขึ้นบริเวณตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน เช่น อาการปวด อาการบวมแดง อาการคัน
- อาการข้างเคียงทั่วไป เช่น อาการไข้ อ่อนเพลีย ผื่น เป็นต้น
ข้อควรระวังหรือข้อห้ามในการให้วัคซีน
- ถ้ามีไข้ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปโดยเฉพาะวัคซีนที่อาจทำให้เกิดไข้ กรณีมีอาการเจ็บป่วย เล็กน้อย เช่น เป็นหวัด น ้ามูกไหล สามารถรับวัคซีนได้
- ถ้าเด็กเคยได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือดมาก่อนให้วัคซีนชนิดเชื้อเป็นออ่อนฤทธิ์อาจไม่ได้ผลต้อง เลื่อนเวลาออกไป นานเท่าใดขึ้นอยู่กับจำนวนเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือดที่ได้รับ
- ถ้าเด็กแพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบในวัคซีนชนิดใด ควรหลีกเลี่ยงการให้วัคซีนชนิดนั้นๆ
- ไม่ควรให้วัคซีนชนิดเชื้อเป็นในหญิงตั้งครรภ์ ในขณะเดียวกันหญิงที่ได้รับวัคซีนหัดเยอรมัน หรือวัคซีน เชื้อเป็นอื่น ควรคุมกำเนิดหลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เดือน
- การให้วัคซีนในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจไม่ได้ผล และควรหลีกเลี่ยงวัคซีนชนิดเชื้อเป็น เพราะ อาจเกิดปฏิกิริยารุนแรงจากวัคซีน
- ผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตอรอยด์ชนิดทาหรือฉีดเฉพาะที่ และผู้ป่วยที่ได้ยาสเตอรอยด์ขนาดต่ำสามารถให้ วัคซีนได้ แต่ถ้าได้ยาสเตอรอยด์ขนาดสูง (> 2 มก./กก./วัน) ไม่ควรให้วัคซีนเชื้อเป็นจนกว่าจะหยุดยาไปแล้วหนึ่งเดือน แต่ถ้าได้รับยามาน้อยกว่า 2 สัปดาห์ สามารถให้วัคซีนได้