มะเร็งรังไข่

11 มิ.ย. 2563 | เขียนโดย ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

พบประมาณ 17% -ของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี เป็นโรคมะเร็งที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุด ส่วนใหญ่พบในสตรีที่อายุค่อนข้างมาก ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง สตรีที่มีบุตรน้อย หรือสตรีที่ได้รับยากระตุ้นการตกไข่ ถ้ามีญาติหรือคนในครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่ก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้มากขึ้น ร้อยละ 75 % ของโรคนี้ เป็นมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว



มะเร็งรังไข่

  • พบประมาณ 17% ของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี
  • เป็นโรคมะเร็งที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุด
  • ส่วนใหญ่พบในสตรีที่อายุค่อนข้างมาก ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง สตรีที่มีบุตรน้อย หรือสตรีที่ได้รับยากระตุ้นการตกไข่
  • ถ้ามีญาติหรือคนในครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่ก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้มากขึ้น
  • ร้อยละ 75 % ของโรคนี้ เป็นมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว

 

อาการของมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มต้นส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ หรือ อาจมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นมะเร็งรังไข่ เช่น ท้องโตขึ้น ปวดหน่วงในอุ้งเชิงกราน ปัสสาวะบ่อย บางคนอาจมีอาการปวด จุก เสียด ในช่องท้องที่อาจคล้ายอาการของโรคทางลำไส้ และกว่าจะเริ่มมีอาการนั่นแสดงว่า ก้อนมะเร็งมีขนาดโตมากและเป็นในระยะท้ายๆของโรคแล้ว หรือเป็นในระยะที่แพร่กระจายแล้ว นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ คนที่ตรวจพบว่าเป็นโรคนี้ มีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุด เนื่องจากการรักษาในระยะที่โรคแพร่กระจายมักได้ผลไม่ค่อยดี

 

มีวิธีการตรวจหามะเร็งรังไข่

ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัย โรคมะเร็งรังไข่ ดังต่อไปนี้

1. พิจารณาจากอายุ โดยเฉพาะในช่วงวัยหมดประจำเดือน อาการหรือความผิดปกติบางอย่าง เช่น แน่นท้อง ปวดอุ้งเชิงกราน การตรวจร่างกายหรือตรวจภายใน ถ้ามีการคลำพบก้อนบริเวณท้องน้อย ก็มีแนวโน้มว่าก้อนที่คลำพบนี้ อาจเป็นมะเร็งรังไข่ได้ แต่ก้อนที่ตรวจพบไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นมะเร็งเสมอไป บางชนิดสามารถที่จะยุบหายได้เอง บางชนิดก็เป็นเนื้องอกเท่านั้นไม่ใช่มะเร็ง

2.การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ อัลตราซาวด์ (Ultrasound)อาจช่วยบอกได้ว่ามีก้อนในช่องท้องหรือไม่ เป็นถุงน้ำหรือเป็นก้อนเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือมีหน้าท้องหนา ทำให้การตรวจด้วยการคลำเพียงอย่างเดียวอาจตรวจไม่พบ

3.การตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (Tumor markers)

  • CA 125 (Carcinoma Antigen 125 หรือ Carbohydrate Antigen 125)ใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยและติดตามการรักษาผู้ป่วยมะเร็งรังไข่กันนานแล้ว แต่การตรวจ CA 125 เพียงอย่างเดียว ยังมีข้อจำกัดบางประการ ซึ่งอาจตรวจไม่พบกรณีที่เป็นมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรก หรือตรวจได้สูงกว่าปกติในผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้อที่ปีกมดลูก แต่ไม่ได้เป็นมะเร็งรังไข่
  • HE 4(Human Epididymis protein 4)เป็นเทคนิคใหม่สำหรับการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว (Tumor marker) ที่นำผลมาวิเคราะห์ร่วมกับ CA 125 แล้วทำให้เกิดความไวในการตรวจเจอโรคได้เร็วขึ้น หรือตรวจพบได้ ตั้งแต่ในระยะที่ 1 หรือในระยะเริ่มแรก ช่วยให้เกิดประโยชน์ ในการวางแผนในการดูแลรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย

 

มีวิธีการป้องกันมะเร็งรังไข่หรือไม่อย่างไร

การป้องกันโรคมะเร็งรังไข่ ยังไม่มีวิธิการที่แน่ชัด เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน จึงแนะนำให้ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ และตรวจเช็คสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ โดยเฉพาะหากเป็นสตรีที่อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือนหรือมีอายุ 35 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ ทั้งสองชนิด คือ CA 125 และ HE 4 ร่วมกัน เป็นประจำทุกปี

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์สุขภาพสตรี แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสินแพทย์

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

แพ็กเกจคลอดบุตร
แพ็กเกจคลอด (ธรรมชาติ)
ราคา
40,000 ฿
โปรแกรมตรวจระบบสืบพันธุ์สตรี
โปรแกรมตรวจระบบสืบพันธุ์สตรี 1
ราคา
3,100 ฿
โปรแกรมตรวจระบบสืบพันธุ์สตรี
โปรแกรมตรวจระบบสืบพันธุ์สตรี 2
ราคา
5,000 ฿