คุณแม่ตั้งครรภ์ย่อมไม่อยากมีภาวะที่ชวนให้กังวลใจ โดยเฉพาะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งในคุณแม่ 100 คน จะมีคุณแม่ครรภ์เป็นพิษถึง 4 คน โดยที่มี 80% อาการไม่รุนแรง ส่วนอีก 20% จะมีอาการรุนแรงมาก ซึ่งครรภ์เป็นพิษมักเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ภาวะครรภ์เป็นพิษ แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสินแพทย์
คุณแม่ตั้งครรภ์ย่อมไม่อยากมีภาวะที่ชวนให้กังวลใจ โดยเฉพาะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งในคุณแม่ 100 คน จะมีคุณแม่ครรภ์เป็นพิษถึง 4 คน โดยที่มี 80% อาการไม่รุนแรง ส่วนอีก 20% จะมีอาการรุนแรงมาก ซึ่งครรภ์เป็นพิษมักเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป และยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด การรักษาสำหรับภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีความรุนแรงมีเพียงทางเดียว คือการคลอดลูกน้อยออกมาโดยเร็วที่สุด ดังนั้นคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จึงไม่ควรละเลยและควรใส่ใจสังเกตตนเองอยู่เสมอเพื่อป้องกันและรับมือ และพบสูตินรีแพทย์เพื่อดูแลได้อย่างทันท่วงที
ครรภ์เป็นพิษเกิดจาก
ภาวะครรภ์เป็นพิษเกิดจากความผิดปกติของการฝังตัวของรก โดยธรรมชาติแล้วรกจะฝังบริเวณเยื่อบุผนังมดลูก แต่ในกรณีที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษรกจะฝังตัวได้ไม่แน่น ส่งผลให้รกบางส่วนเกิดการขาดออกซิเจน และมีภาวะขาดเลือด และเมื่อเลือดไปเลี้ยงรกได้น้อยจะทำให้เกิดการหลั่งสารที่เป็นสารพิษเข้าสู่กระแสเลือดของแม่ทีละเล็กทีละน้อย เมื่อถึงจุดหนึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั่วร่างกาย เช่น เส้นเลือดสมองตีบ ตาพร่ามัว ตับวาย ฯลฯ และคุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ ต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะหากเกิดอาการรุนแรง มีอาการชัก และอาจมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์
คุณแม่ที่มีความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ
- มีโรคอ้วน เส้นเลือดดี มีโอกาสตีบได้ง่าย
- ตั้งครรภ์แล้วมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
- มีกรรมพันธุ์หรือคนในครอบครัวมีภาวะครรภ์เป็นพิษ
- ผู้ที่มีบุตรยาก
- ตั้งครรภ์มากกว่า1 คน
- ตั้งครรภ์แฝด
- ตั้งครรภ์ครั้งแรก
- มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคไทรอยด์ และแพ้ภูมิตนเอง (SLE) ฯลฯ
สัญญาณเตือนภาวะครรภ์เป็นพิษ
- บวม โดยเฉพาะบริเวณมือ เท้า และใบหน้า
- น้ำหนักเพิ่มเร็วขึ้นผิดปกติ ซึ่งปกติน้ำหนักแม่ตั้งครรภ์จะเพิ่มที่เดือนละประมาณ 5 – 2 กิโลกรัม
- ปวดศีรษะมาก ทานยาแล้วไม่ดีขึ้น
- ทารกดิ้นน้อย ตัวเล็ก โตช้า
- มีภาวะความดันโลหิตสูง 140/90 มิลลิเมตรปรอท
- ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
- ตาอาการพร่ามัว
- ปวดหรือจุกเสียดแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา
ระดับความรุนแรงของภาวะครรภ์เป็นพิษ มี 3 ระดับ
- ครรภ์เป็นพิษระดับที่ไม่รุนแรง (Non – Severe Pre – Eclampsia) คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท แต่ไม่เกิน 160/110 มิลลิเมตรปรอท ยังไม่พบภาวะแทรกซ้อน
- ครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรง (Severe Pre – Eclampsia) คุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะความดันโลหิตสูงกว่า 160/110 หรือ ตรวจพบความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ร่วมด้วย เช่น มีภาวะตับอักเสบ พบการทำงานของลดลง มีเกล็ดเลือดต่ำ มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกฯลฯ
- ครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรงและมีภาวะชัก (Eclampsia) คุณแม่ตั้งครรภ์ชัก เกร็ง หมดสติ อาจมีเลือดออกในสมอง ต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะมีความเสี่ยงมากที่ แม่และลูกจะมีอันตรายถึงชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อนที่พบในคุณแม่ครรภ์เป็นพิษ
- ภาวะแทรกซ้อนที่พบ ของแม่ได้แก่ ชัก เกล็ดเลือดต่ำ น้ำท่วมปอด ไตวายเฉียบพลัน ตับอักเสบ เลือดออกในสมอง หากมีอาการรุนแรงมาก แม่มีโอกาสเสียชีวิตได้
- ภาวะแทรกซ้อนที่พบ ของลูกได้แก่ ตัวเล็ก โตช้า รกลอกตัวก่อนกำหนด หากมีอาการรุนแรงทารกมีโอกาสเสียชีวิตในครรภ์ได้
การตรวจวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษ
สามารถทำได้โดยการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอัลตราซาวนด์ดูการเจิญเติบโตของทารกในครรภ์แล้วนำมาประเมินวางแผนการรักษา และดูแลอย่างต่อเนื่อง
การตรวจคัดกรองภาวะครรภ์เป็นพิษ
สามารถตรวจได้โดยการซักประวัติโดยสูตินรีแทพย์ และดูจากปัจจัยเสี่ยง การเจาะเลือด และการตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อดูการไหลเวียนของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงมดลูก เพื่อการรักษาและให้ยาในการป้องกันครรภ์เป็นพิษ ซึ่งสามารถลดอัตราการเกิดครรภ์เป็นพิษได้ถึง 60%
การรักษา ภาวะครรภ์เป็นพิษ
การรักษาครรภ์เป็นพิษทำได้โดยผ่าคลอดโดยสูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการ ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัย และพิจารณาจากอายุครรภ์เป็นหลัก หากอายุครรภ์น้อยเกินไปแพทย์จะให้ยากระตุ้นปอดและพิจารณาว่าจะสามารถประคับประคองให้ทารกอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ได้นานที่สุดกี่วัน แต่หากอายุครรภ์สามารถทำคลอดได้ แพทย์จะทำการผ่าคลอดหรือเร่งให้คลอดทางช่องคลอดเพื่อหยุดความรุนแรงของโรค
หลังผ่าคลอดแล้วทารกจะต้องได้รับการดูแล โดยหน่วยทารกแรกเกิดวิกฤติจนกว่าสุขภาพทารกแข็งแรง ในส่วนของคุณแม่หลังคลอดนั้นภายใน 24 ชั่วโมง จะมีโอกาสที่จะความดันโลหิตสูงและชักได้ ทีมแพทย์ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยส่วนใหญ่ร่างกายแม่จะกลับมาเป็นปกติภายใน 2 สัปดาห์ แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์จำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยโดยละเอียดและดูแลรักษาต่อไป
การป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ
โดยการตรวจครรภ์ตามที่สูตินรีแพทย์นัดอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ เพราะหากเกิดความผิดปกติแพทย์จะทำการตรวจรักษาทันที แพทย์อาจมีการให้ยาเพื่อละลายลิ่มเลือด แต่ต้องหยุดยาก่อนคลอด 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวช้าระหว่างผ่าตัดคลอดหรือคลอดธรรมชาติ
คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องสังเกตอาการและร่างกายของตนเองที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เช่น หากมีอาการบวมหรือน้ำหนักขึ้นเร็ว และมากผิดปกติ ปวดศีรษะมากทานยาแล้วไม่หาย อาจเสี่ยงที่จะเป็นครรภ์เป็นพิษได้ และควรตระหนักไว้เสมอว่า ยิ่งรู้เร็วรักษาเร็วย่อมช่วยลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์
พบแพทย์เฉพาะทาง แผนกสูตินรีเวช ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)