พฤติกรรมแบบไหน เสี่ยงโรคไตถามหา

11 พ.ย. 2564 | เขียนโดย ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลสินแพทย์

โรคไตวายเรื้อรัง จัดอยู่ในกลุ่มโรค NCDs (Non-communicable Diseases) หรือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นกลุ่มโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค และจะไม่เกิดการติดต่อจากคนสู่คนได้แม้จะเกิดการสัมผัสตัว หรือ สารคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยโรคกลุ่มนี้มักจะเกิดการพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งค่อย ๆ สะสมอาการอย่างช้า ๆ ต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้ว มักจะมีอาการเรื้อรังตามมาด้วย ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของตนเอง และคนรอบข้าง



โรคไตวายเรื้อรัง จัดอยู่ในกลุ่มโรค NCDs (Non-communicable Diseases) หรือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

เป็นกลุ่มโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค และจะไม่เกิดการติดต่อจากคนสู่คนได้แม้จะเกิดการสัมผัสตัว หรือ สารคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยโรคกลุ่มนี้มักจะเกิดการพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งค่อย ๆ สะสมอาการอย่างช้า ๆ ต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้ว มักจะมีอาการเรื้อรังตามมาด้วย ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของตนเอง และคนรอบข้าง

 

หากพูดถึงโรคไต หลายคนมักคิดว่าเกิดจากพฤติกรรมการทานอาหารรสเค็มเพียงอย่างเดียว แต่ที่จริงแล้วยังมีปัจจัยด้านพฤติกรรมอีกหลายอย่าง ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคไตให้มากขึ้นได้ โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวมาก่อน

 

พฤติกรรมเสี่ยงโรคไต

  • ชอบทานอาหารรสจัด โดยคำว่า “รสจัด” นั้นไม่ใช่แค่รสเค็มจัด แต่รวมถึง หวานจัด เผ็ดจัด หรือ แม้แต่อาหารมันจัด ล้วนแต่ส่งผลให้ไตต้องทำงานหนักขึ้นทั้งสิ้น
  • ชอบทานอาหารสำเร็จรูป หรือ อาหารกระป๋อง อาหารเหล่านี้มักมีปริมาณโซเดียมที่มากกว่าปกติจากกระบวนการผลิต ทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคไตได้
  • ดื่มน้ำน้อย หรือ มากเกินไป การกำจัดของเสียในร่างกายผ่านไตนั้นจำเป็นต้องใช้น้ำเป็นตัวพาไปสู่การกรอง การดื่มน้ำน้อย หรือ มากเกินไป จะทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น ดังนั้น ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ และดื่มอย่างถูกวิธี
  • คนที่เป็นโรคอ้วน หรือ มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI : Body Mass Index) ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป คนกลุ่มนี้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงมากกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคไตวายเรื้อรังมากขึ้นอีกด้วย
  • การซื้อยารับประทานเอง ทั้งยาแผนปัจจุบัน และยาสมุนไพรต่าง ๆ เพราะยาบางชนิดส่งผลต่อการทำงานของไต หากรับประทานยาต่อเนื่องโดยปราศจากคำแนะนำของแพทย์ หรือ เภสัชกร อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคไตโดยไม่รู้ตัว
  • ไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความดันโลหิต และรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพของไตด้วย
  • ขาดการพักผ่อน เมื่อเรานอนหลับ ร่างกายจะเริ่มซ่อมแซม และบำรุงอวัยวะต่าง ๆ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลับกัน หากเราขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ ก็จะส่งผลให้ร่างกายทำงานหนักขึ้น การฟื้นฟูอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงไต ก็ทำได้แย่ลง
  • ความเครียด อีกหนึ่งปัจจัยใกล้ตัวคนยุคปัจจุบัน ความเครียดที่สะสมมักจะทำให้เราพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงเมื่อเกิดความเครียด การทำงานของอวัยวะภายในต่าง ๆ จะเสียสมดุล ความดัน และน้ำตาลในเลือดจะผิดปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงโรคไต

 

ไต

โรคไตวายเรื้อรัง สามารถป้องกันได้ โดยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพ และการทำงานของไต รวมถึงตรวจสุขภาพเพื่อวินิจฉัยความเสี่ยงโรคไตเป็นประจำ หากมีความผิดปกติ จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที

 

ตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพโรคไตเบื้องต้น พร้อมโปรโมชันพิเศษ คลิก https://bit.ly/3ofXs1P

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โรคไต ศูนย์โรคไต ศูนย์ไตเทียมสาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

 

SHARE