อันตรายจากการใช้ยา

17 ก.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ยา มีคุณอนันต์ และโทษมหันต์ หากใช้ถูกวิธีก็สามารถ รักษาโรคต่างๆ ให้หายได้ แต่หากใช้ไม่ถูกวิธี นอกจากรักษาโรคไม่หายแล้ว อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้



ยา มีคุณอนันต์ และโทษมหันต์
หากใช้ถูกวิธีก็สามารถ รักษาโรคต่างๆ ให้หายได้
แต่หากใช้ไม่ถูกวิธี นอกจากรักษาโรคไม่หายแล้ว อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้

 

  “ มีรายงานข่าวจากประเทศอังกฤษ กล่าวเตือนว่า การบดยาเม็ดเพื่อให้รับประทานง่ายขึ้นอาจก่อ
ให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะการบดยาจะไปทำลายสารเคลือบเม็ดยา ที่มีผลต่อการ
ปลดปล่อยยาภายในร่างกาย ซึ่งสารนี้จะทำให้ยาถูกดูดซึมในเวลาที่นานขึ้น ผู้ป่วยจึงกินยาเพียง วันละ 1เม็ด 
ไม่ต้องกินวันละหลายครั้ง แต่หากยาถูกบดยาก็จะถูกดูดซึมเร็วกว่าเวลาที่กำหนด ผู้ป่วยจึงได้รับยาในขนาด
ที่สูงในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้เกิดอันตราย ”

 

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับยาแผนปัจจุบันที่มีในท้องตลาด ทั้งที่ได้จากแพทย์สั่งจ่ายให้ หรือที่ไปซื้อ
หาตามร้ายขายยา การผลิตยาของแต่ละบริษัทได้มีการวิจัย ปรับปรุง และพัฒนาอย่างมากมายก่อนถึงมือ
ผู้บริโภค เพื่อให้การออกฤทธิ์ดีที่สุดตามเป้าหมายการรักษาแต่ละโรค ดังนั้น การที่ไปปรับเปลี่ยนรูปแบบการ
กินยาเท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากยาได้ เช่น

 

  • ยาที่กำหนดให้รับประทานวันละครั้ง นั่นหมายถึงว่า กินยาครั้งเดียว แต่มีผลการรักษาตลอดทั้งวัน
    หากนำยาไปบด หรือ หัก ก็อาจจะทำให้ได้รับพิษจากยา เพราะการทำให้เม็ดยาแตกจะทำให้ยาถูก
    ปลดปล่อยออกมาอย่างรวดเร็วภายในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งยาแบบนี้ทั้งยาเม็ดเคลือบฟิล์ม หรือยาเม็ด
    เคลือบน้ำตาล

 

  • ยาในรูปแบบเคลือบป้องกันการแตกตัวที่กระเพาะ แต่ให้ไปแต่ตัวที่ลำไส้เล็ก เช่น ยาเม็ดแอสไพริน
    และอื่นๆ ซึ่งยารูปแบบนี้มักเป็นตัวยาที่ถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหาร หรือ ตัวยามีฤทธิ์ระคาย
    เคืองกระเพาะอาหาร หรือตัวยาดูดซึมได้ดีที่ลำไส้ ดังนั้นการบดยาในรูปแบบนี้จะทำให้คุณสมบัติของ
    การเคลือบป้องกันนี้เสียไป ทำให้ไม่ได้ผลในการรักษาหรือเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากยาได้ เช่น
    ยามีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารก็จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมีเลือดออกในกระเพาะ
    อาหารได้

 

  • ยาในรูปแบบละลายในช่องปาก หรืออมใต้ลิ้น ยาในรูปแบบนี้จะมีปริมาณที่น้อยกว่าในรูปแบบที่รับ
    ประทานทางปาก การบดยาเพื่อให้ทางสายให้อาหารหรือกลืนลงไป จึงทำให้ไม่ได้ผลในการรักษาหรือ
    ได้ผลน้อยลง

 

การบดยา

นอกจากจะทำให้ยาเสียคุณสมบัติพิเศษไป ยังทำให้กินยาก ได้รับรู้รสชาดที่ไม่ดีของยาบางชนิด และอาจจะได้ยาไม่ครบในปริมาณที่แพทย์ต้องการก็ได้

 

การแช่ยาหรือละลายยาในน้ำร้อน

ก่อนกินก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เพราะยาบางตัวอาจไม่ทนต่ออุณหภูมิสูงๆ และอาจเสื่อมสภาพได้ ทำให้ยาออกฤทธิ์ไม่ได้

 

การถอดปลอกยาแคปซูลออก

อาจทำให้ได้รสชาดและกลิ่นที่แย่ๆ ของยา ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลังกินยา และสุดท้าย

 

การใช้ฟันกัดเม็ดยา

เกิดจากความขี้เกียจใช้มีดตัดยา ก็เลยใช้ฟันกัดแบ่งครึ่งซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เพราะยาบางตัวอาจทนความชื้นไม่ได้ ก็ทำให้ตัวยาเสื่อมประสิทธิภาพเมื่อนำยาอีกครึ่งเม็ดที่เหลือใส่กลับเข้าไปในขวดหรือซองเก็บยา ก็จะทำให้ยาเม็ดอื่นๆ เสื่อมสภาพไปด้วย

 

ส่วนการตัดแบ่งยาเพื่อรับประทาน

เช่น แบ่งรับประทานครึ่งเม็ด เศษ 1 ส่วน 4 เม็ด ก็มีข้อเสีย คือ ทำให้เม็ดยามีพื้นที่ผิวมากขึ้น ดังนั้นโอกาสที่ยาจะสัมผัสกับอากาศหรือความชื้นก็จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการสลายตัวของยา หรือความคงตัวของยาจะน้อยกว่ายาที่อยู่ในสภาพเป็นเม็ดที่สมบูรณ์ และยาบางส่วนก็จะมีการแตกสลาย ทำให้ยาที่ถูกแบ่งไม่ได้ปริมาณตามที่กำหนดครบทุกสัดส่วน สิ่งที่ดีที่สุด คือ การเลือกใช้ยาที่มีจำนวนหรือขนาดของยาพอดีกับที่ต้องการ

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา   

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE