การฝังเข็ม สามารถ รักษาโรคอะไรได้บ้าง องค์การอนามัยโลก ยอมรับการรักษาด้วยการฝังเข็มเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรค จำนวน 57โรค และสามารถแบ่งกลุ่มโรคต่างๆได้ดังต่อไปนี้ได้แก่ กลุ่มอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดสะบัก ปวดเข่า ปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งมีรายงานว่า การฝังเข็ม ร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วยได้ดีขึ้นกว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเดียว โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial Pain) โรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป เช่น ปวดประจำเดือน โรคเครียด นอนไม่หลับ อย่างไรก็ตามผลการรักษาในแต่ละคน จะได้ผลดีไม่เท่ากัน ซึ่งการตอบสนองต่อการฝังเข็มขึ้นกับ ระยะเวลาที่เป็นโรคนั้น พยาธิสภาพโรค และสภาพร่างกายของผู้ป่วย ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และอ่านเอกสารอธิบายก่อนตัดสินใจรับการฝังเข็ม
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการรักษา ด้วยการ ฝังเข็ม
การฝังเข็มเป็นศาสตร์ที่ใช้รักษาโรคที่มีประวัติอันยาวนาน ประมาณ 4,000 ปี นับจากจีนยุคโบราณมีการพัฒนาและมีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบันทำให้ทราบเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์หลายอย่าง ที่นำมาอธิบายผลของการรักษาด้วยการฝังเข็มได้ กระทั่งปี 1979 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ประกาศรับรองผลการรักษา 57 โรค ด้วยวิธีการฝังเข็ม ว่าได้ผลจริง และมีผลข้างเคียงน้อย
การฝังเข็ม เกิดผลในการรักษาอย่างไร
ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีน เชื่อว่าการฝังเข็มทำให้ระบบลมปราณหมุนเวียนดีขึ้น และช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ส่วนข้อมูลสนับสนุนในปัจจุบัน พบว่า การฝังเข็มสามารถรักษาโรคโดยอาศัยกลไกสำคัญดังต่อไปนี้
- เกิดการหลั่งสารต่างๆในร่างกายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เอนโดฟินลดปวด หรือสารสื่อประสาทต่างๆ (NE, 5-HT) ทำให้เกิดฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด ลดการเกร็งกล้ามเนื้อ ปรับปรุงการทำงานระบบประสาท และทำให้จิตอารมณ์แจ่มใส
- เกิดการกระตุ้นให้มีการปรับตัวของระบบประสาทอัตโนมัติ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งบริเวณเฉพาะที่ และทั่วร่างกาย
- เกิดการคลายภาวะหดเกร็งกล้ามเนื้อเฉพาะจุด ที่เรียกว่าtrigger point ซึ่งเป็นสาเหตุการปวดของโรคกล้ามเนื้อเรื้อรัง (myofascial pain syndrome) จากการศึกษาพบว่าจุดฝังเข็มสัมพันธ์กับ trigger point ถึงร้อยละ 80
การฝังเข็ม สามารถ รักษาโรคอะไรได้บ้าง
องค์การอนามัยโลก ยอมรับการรักษาด้วยการฝังเข็มเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรค จำนวน 57โรค และสามารถแบ่งกลุ่มโรคต่างๆได้ดังต่อไปนี้ได้แก่
- กลุ่มอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดสะบัก ปวดเข่า ปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดเรื้อรัง
- อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งมีรายงานว่า การฝังเข็ม ร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วยได้ดีขึ้นกว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเดียว
- โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial Pain)
- โรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด
- โรคอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป เช่น ปวดประจำเดือน โรคเครียด นอนไม่หลับ
อย่างไรก็ตามผลการรักษาในแต่ละคน จะได้ผลดีไม่เท่ากัน ซึ่งการตอบสนองต่อการฝังเข็มขึ้นกับ ระยะเวลาที่เป็นโรคนั้น พยาธิสภาพโรค และสภาพร่างกายของผู้ป่วย ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และอ่านเอกสารอธิบายก่อนตัดสินใจรับการฝังเข็ม
ข้อห้ามในการฝังเข็ม
1. โรคเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
2. โรคที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการผ่าตัด
3. ตั้งครรภ์
อันตรายที่อาจพบได้จากการฝังเข็ม
- เลือดออก รอยฟกช้ำ มักเกิดจากเข็มไปถูกเส้นเลือดเล็กๆ ใต้ผิวหนัง ซึ่งส่วนใหญ่จะหยุดได้เองโดยใช้ก้อนสำลีกดไว้ชั่วขณะ
- อาการเป็นลม มักพบในผู้ป่วยที่หวาดกลัวเข็มหรือตื่นเต้นกังวลมากๆ ซึ่งหากนอนพักอาการก็จะดีขึ้น
- ติดเชื้อ พบได้น้อยมาก ขึ้นกับมาตรฐานปลอดเชื้อของแต่ละคลินิก และเข็มฝังเข็ม
เข็มที่ใช้ในการฝังเข็ม
ในแง่ความปลอดภัย เข็มทุกเข็มที่ใช้ในคลินิกฝังเข็ม โรงพยาบาลสินแพทย์ เป็นเข็มสแตนเลส ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างดี บรรจุแผงจากโรงงาน ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่นำกลับมาใช้อีกเด็ดขาด จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและโรคเอดส์
ขนาดเข็มที่ใช้ในการฝังเข็มมีขนาดเล็กกว่าเข็มฉีดยา ที่ใช้กันทั่วไปประมาณ 10-20 เท่า เข็มที่เล็กที่สุดที่เราใช้ ขนาดใกล้เคียงกับเส้นผม นอกจากนี้เข็มที่ใช้เป็นเข็มตัน ไม่มีรูตรงกลาง จึงไม่ได้ตัดกล้ามเนื้อตัดเส้นเลือดเหมือนเข็มฉีดยา และเจ็บน้อยกว่า โอกาสจะเกิดอันตรายต่อเส้นประสาน เส้นเลือด และอวัยวะภายในมีน้อย
การฝังเข็มทำอย่างไร
แพทย์จะทำการวิเคราะห์โรคและปักเข็มลงในจุดที่มีผลในการรักษา แล้วคาเข็มไว้ 20 – 30 นาที จากนั้นกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า (จากถ่านไฟฉาย จึงไม่มีโอกาสเกิดไฟซ๊อตจนอันตราย) หรือกระตุ้นด้วยมือ แล้วเอาเข็มออก วิธีนี้แท้จริงควรเรียกว่า การปักเข็ม เพราะไม่ได้ฝังลงไปจริงและเป็นวิธีที่ปลอดภัย มีภาวะแทรกซ้อนน้อย
ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยฝังเข็ม
- ควรแจ้งโรคประจำตัว หากมีเครื่องกระต้นหัวใจ โรคลมชัก ตั้งครรภ์ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนลงมือรักษา
- ผู้ป่วยไม่ควรกังวลหรือกลัวมากเกินไป เพราะทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง และรู้สึกปวดมากขึ้น เวลาเข็มปักลงไป
- ระหว่างฝังเข็ม อาจเกิดความรู้สึกหนักๆ หน่วงๆ ตื้อๆ ในจุดฝังเข็ม หรือมีความรู้สึกแล่นแปล๊บๆไปตามเส้น หากรู้สึกเจ็บมากเกินไป ให้แจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบ การถอนเข็มออกเล็กน้อย หรือลดการกระตุ้นให้เบาลงจะหายเจ็บ
- ในระหว่างคาเข็ม พยายามอย่าขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ฝังเข็มมากเกินไป เพราะทำให้เจ็บมากขึ้น และมีเลือดออก
- ตอนถอนเข็ม พยายามผ่อนคลายกล้ามเนื้อจะสบายที่สุด แต่ถ้าหากมีอาการผิดปกติใดๆเช่น รู้สึกหวิวๆหน้ามืดจะเป็นลม แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ให้แจ้งแพทย์หรือผู้ช่วยแพทย์ทราบทันที
- หากยังคงมีอาการปวดระบมหลังการฝังเข็ม กรุณาแจ้งแพทย์ หรือผู้ช่วยแพทย์ เพื่อจะได้มีการวางแผ่นร้อนประคบบริเวณที่ฝังเข็ม ช่วยลดบรรเทาอาการปวด
ระยะเวลาที่ใช้สำหรับการฝังเข็มนานเท่าไร
การฝังเข็มแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30 นาที ควรมาฝังเข็มต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ซึ่งอาการต่างๆมักจะดีขึ้นหลังจากได้รับการฝังเข็ม 2-3 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการรักษาโรคต่างๆ อาจแตกต่างกัน ตามดุลยพินิจของแพทย์
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูส และ กายภาพบำบัด
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)