ป้องกันอย่างไร…ไม่ให้เป็นเชื้อราที่เล็บ ?!

14 ธ.ค. 2564 | เขียนโดย ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์

โรคเชื้อราที่เล็บ (onychomycosis) เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่มรา เช่น กลากแท้ กลากเทียม ยีสต์ ที่บริเวณเล็บ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่เล็บเท้ามากกว่าเล็บมือเนื่องจากเป็นตำแหน่งที่สกปรกและอับชื้นได้ง่ายกว่ากว่า



เชื้อราที่เล็บเกิดจากอะไร ?

โรคเชื้อราที่เล็บ (onychomycosis) เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่มรา เช่น กลากแท้ กลากเทียม ยีสต์ ที่บริเวณเล็บ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่เล็บเท้ามากกว่าเล็บมือเนื่องจากเป็นตำแหน่งที่สกปรกและอับชื้นได้ง่ายกว่ากว่า

 

ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นเชื้อราที่เล็บ

  • การที่เท้าอับชื้นเป็นเวลานาน
  • การเดินลุยน้ำบ่อยๆ
  • มีแผลบริเวณรอบเล็บ
  • การติดเชื้อราบริวณผิวหนังที่เท้าแล้วไม่ได้รับการรักษา
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
  • การสูบบุหรี่

 

อาการของโรคเชื้อราที่เล็บ

  • เล็บมีสีเปลี่ยนไป เริ่มจากเห็นเป็นจุดสีเหลืองหรือขาวบริเวณปลายเล็บ แล้วขยายใหญ่ขึ้นจนเล็บเปลี่ยนสีชัดเจน
  • เล็บหนาตัวขึ้น เล็บผิดรูป เปราะหักง่าย
  • มีขุยหนาใต้เล็บ มีช่องว่างใต้เล็บหรือเล็บแยกตัวออกจากฐานเล็บ
  • กดเจ็บบริเวณที่เป็นเชื้อรา
  • ผิวหนังบริเวณเล็บที่ปกติและรอบๆมีอาการอักเสบบวมแดง

 

เชื้อราที่เล็บรักษาอย่างไร ?

เชื้อราที่เล็บเป็นโรคที่ต้องรักษาเป็นระยะเวลานาน อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์จนถึงเป็นปี และสามารถกลับมาเป็นซ้ำใหม่ได้  อย่างไรก็ตามสามารถรักษาให้หายได้ถ้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง โดยการรักษามีหลายวิธี ดังนี้

  • การรับประทานยาต้านเชื้อรา สามารถรักษาเชื้อราที่เล็บได้ แต่จำเป็นต้องรับประทานยาต่อเนื่องหลายเดือนและต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงจากยา
  • การใช้ยาเฉพาะที่ เช่น ยาน้ำหรือยาทาเคลือบเล็บ
  • การรักษาอื่นๆ เช่น การถอดเล็บในกรณีที่มีอาการรุนแรง การรักษาด้วยเลเซอร์

 

เชื้อราที่เล็บป้องกันอย่างไร  ?

  • รักษาความสะอาดของมือและเท้า
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้มือเท้าเปียกชื้น
  • เลือกถุงเท้า รองเท้าที่มีขนาดเหมาะสม ไม่คับจนเกินไป สะอาด มีการระบายอากาศที่ดี
  • ดูแลเล็บให้สั้นและสะอาดเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ถุงเท้า รองเท้า กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้อื่น
  • หมั่นสังเกตุผื่นและแผลที่เท้าสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน ถ้ามีความผิดปกติควรรีบรักษา

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ได้ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ แผนกอายุรกรรม

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์

SHARE