ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเริ่มจากการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ต้องหายใจเข้ามากขึ้นเพื่อเอาชนะทางเดินหายใจที่ตีบแคบ ความดันที่เป็นลบเพิ่มมากขึ้นระหว่างการหายใจเข้าจะทำให้ช่องคอตีบแคบลงกว่าเดิม ทำให้มีการขาดจังหวะในการหายใจได้บ่อยครั้งและแต่ละครั้งนานกว่าคนปกติ ถ้ามีการหยุดหายใจหลายครั้งในขณะนอนหลับจะส่งผลให้ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดลดน้อยลง ซึ่งสมองก็จะได้รับออกซิเจนน้อยลงไปด้วย
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเริ่มจากการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ต้องหายใจเข้ามากขึ้นเพื่อเอาชนะทางเดินหายใจที่ตีบแคบ ความดันที่เป็นลบเพิ่มมากขึ้นระหว่างการหายใจเข้าจะทำให้ช่องคอตีบแคบลงกว่าเดิม ทำให้มีการขาดจังหวะในการหายใจได้บ่อยครั้งและแต่ละครั้งนานกว่าคนปกติ ถ้ามีการหยุดหายใจหลายครั้งในขณะนอนหลับจะส่งผลให้ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดลดน้อยลง ซึ่งสมองก็จะได้รับออกซิเจนน้อยลงไปด้วย
.
เสียงกรนเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เสียงของการกรนเกิดจากการที่อากาศเคลื่อนผ่านทางเดินหายใจที่แคบลง ซึ่งมักเกิดจากการผ่อนคลายหรือหย่อนตัวของกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนบนขณะนอนหลับ เช่น กล้ามเนื้อบริเวณเพดานอ่อน (soft palate), ลิ้นไก่ (uvula), ผนังคอหอย (pharyngeal wall) หรือโคนลิ้น (tongue base) เป็นผลให้เกิดการสั่นสะเทือนและสะบัดของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนในบริเวณดังกล่าวเกิดเป็นเสียงกรนขึ้น
.
เมื่อไหร่ต้องมาตรวจ Sleep test ?
– อาการปวดมึนศีรษะต้องการนอนต่ออีกเป็นประจำ
– รู้สึกว่านอนหลับไม่เต็มอิ่ม
– อาการง่วงนอนในเวลาทำงานกลางวัน
– อาการหายใจขัด หรือหายใจไม่สะดวกขณะนอนหลับ
– มีอาการสะดุ้งผวา
– สมรรถภาพทางเพศลดลง
.
เมื่อสงสัยว่ามีอาการ? การทำ Sleep test เพื่อวินิจฉัยโรคและบอกความรุนแรง ว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมากน้อยเพียงใด และยังช่วยการวางแผนการรักษาของท่านได้ดียิ่งขึ้น..คลิกจองตรวจโปรแกรมนี้ สาขารพ.สินแพทย์ เทพารักษ์ ➤ https://bit.ly/30Ri7xR
.
พบแพทย์เฉพาะทาง แผนก หู คอ จมูก ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)