นอนกรน อันตราย

10 ส.ค. 2563 | เขียนโดย นายแพทย์สุนทร สาครรัตน์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านหู คอ จมูก โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

นอนกรน-อันตราย Sleep Test  ตรวจนอนกรน ด้วยเครื่อง PSG (Polysomnography) อันตรายของการนอนกรน อาจเกิดร่วมกับทางเดินหายใจอุดตัน ในขณะนอนหลับ หรือ เรียกว่า Obstructive Sleep Apnea Syndrome (OSAS) ถ้าคุณเป็นโรคนี้ คุณก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคของหลอดเลือดในสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด ได้มากกว่าคนปกติ ซึ่งมักเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ก่อนวัยสมควร



อันตรายของการนอนกรน อาจเกิดร่วมกับทางเดินหายใจอุดตันในขณะนอนหลับ หรือเรียกว่า Obstructive Sleep Apnea Syndrome (OSAS)

คนที่เป็นโรคนี้จะนอนกรนเสียดัง มีอาการคล้ายสำลัก หรือสะดุ้งตื่นกลางคืน ต้องลุกขึ้นมาถ่ายปัสสาวะตอนกลางดึก รู้สึกสมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก เพราะง่วงนอน ขี้ลืม ไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงาน ตื่นขึ้นมาด้วยอาการอ่อนล้า ไม่สดชื่น หรือมีอาการปวดศีรษะ และต้องการนอนต่ออีกทั้งที่ไม่ได้นอนดึก  บางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น จุกแน่นคอ เหมือนมีอะไรติดคอ หูอื้อ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห คนข้างเคียงมักมีความเห็นว่าคุณอารมณ์เสียบ่อย ๆ และในบางคนความรู้สึกทางเพศลดลงด้วย

 

ถ้าคุณเป็นโรคนี้ คุณก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคของหลอดเลือดในสมอง และโรคหัวใจขาดเลือดได้มากกว่าคนปกติ ซึ่งมักเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ก่อนวัยสมควร

 

ภาวะนอนกรนสามารถรักษาได้  แบ่งการรักษาเป็น 2 รูปแบบ คือ

 

  1. วิธีไม่ผ่าตัด (Nasal CPAP = Nasal Continuous Positive Airway Pressure)

หลังการรักษา ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สึกดีขึ้นมาก นอนหลับได้อย่างมีความสุข ไม่มีการสะดุ้งตื่นขณะหลับ สามารถตื่นนอนด้วยความรู้สึกสดชื่นแจ่มใส พร้อมที่จะทำงาน ความทรงจำและสติปัญญาดีขึ้น และอาการนอนกรนเสียดังอันน่ารำคาญก็หายไป คนใกล้ชิดก็มีความสุขในการนอนมากขึ้นเช่นกัน

 

อย่างไรก็ตาม การวางแผนระยะยาว ผู้ป่วยต้องลดน้ำหนักตัวลงด้วย เพราะสาเหตุหลักของนอนกรนแบบอันตรายคือ น้ำหนักมาก อ้วนลงพุง

 

  1. การผ่าตัดรักษานอนกรนด้วยเลเซอร์ (Laser Assisted Uvulopalatolasty)

เป็นวิธีหนึ่งในการผ่าตัดรักษานอนกรน โดยใช้คาร์บอนไดออกไซค์เลเซอร์ ทำให้การผ่าตัดมีเลือดออกน้อย และแผลไม่บวมมาก หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ ควรรับประทาณอาหารอ่อนสามารถพูดได้เหมือนเดิม และไม่ทำให้เสียงพูดเปลี่ยนไป

 

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก ผู้ป่วยควรใช้เครื่อง Nasal CPAP (Nasal Continuous Positive Airway Pressure) เครื่องนี้จะปล่อยแรงดันบวก และจะทำให้ช่องทางเดินหายใจที่แคบให้กว้างขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกและหลับสบายขึ้น ในปัจจุบัน การรักษาด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นการรักษาที่ได้ผลที่ดีที่สุด

 

กรณีที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติชัดเจนของบริเวณช่องทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ต่อมทอนซิลโตมาก หรือเพดานอ่อนยาวผิดปกติ หรือกรณีผู้ป่วยมีปัญหาในการใช้เครื่อง Nasal CPAP แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติดังกล่าว

 

 

Sleep Test  ตรวจนอนกรน ด้วยเครื่อง PSG (Polysomnography)

เป็นเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย สามารถบอกได้ว่าคุณภาพในการนอนของคืนนั้น ๆ เป็นอย่างไร หลับได้ดีหรือสนิทเพียงไร มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นในขณะนอนหลับ โดยที่ผู้ป่วยเองไม่สามารถทราบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะหยุดหายใจจากทางเดินหายใจอุดตันในขณะนอนหลับ การตรวจการนอนหลับนี้ ประกอบด้วย

 

  1. การตรวจวัดคลื่นสมอง เพื่อวัดระดับความลึกของการนอนหลับ
  2. การตรวจวัดการทำงานของกล้ามเนื้อขณะหลับ
  3. การตรวจวัดลมหายใจที่ผ่านเข้าออกทางจมูกและปาก
  4. การตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทรวงอก และกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ใช้ในการหายใจ
  5. การวัดจำนวนครั้งของการหยุดหายใจ หรือหายใจน้อยลงขณะหลับ
  6. การวัดระดับออกซิเจนในเลือด
  7. การวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูลักษณะการเต้นของหัวใจผิดจังหวะขณะนอนหลับ

 

ทั้งหมดนี้ ใช้เวลาในการตรวจวัดช่วงกลางคืนขณะหลับ อย่างน้อยประมาณ 6-8 ชั่วโมง การตรวจไม่รบกวนการนอน และไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด

 

แพ็กเกจ Sleep Test  ตรวจนอนกรน ด้วยเครื่อง PSG (Polysomnography)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา >> คลิกเพื่อจองแพ็กเกจ  Sleep Test  ตรวจนอนกรน ด้วยเครื่อง PSG (Polysomnography)

 

พบแพทย์เฉพาะทาง แผนก หู คอ จมูก ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

SHARE