ตรวจหามะเร็งตับ….รู้ทันก่อนสายเกินไป !!!

11 มิ.ย. 2563 | เขียนโดย ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

การตรวจหามะเร็งตับมีหลายวิธีแตกต่างกันไป ทั้งการตรวจเลือด การตรวจทางรังสี การตรวจชิ้นเนื้อตับ แต่ละวิธีมีประโยชน์ต่างๆกัน แพทย์จะเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย



เนื่องจากตับเป็นอวัยวะในช่องท้องที่มีขนาดใหญ่ หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับตับในระยะแรกๆ ผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการใดๆเพราะตับยังสามารถทำงานได้เกือบปกติ กว่าผู้ป่วยจะมีอาการแสดงของมะเร็งตับที่ชัดเจน ขนาดของก้อนเนื้องอกก็อาจใหญ่มากจนอยู่ในระยะที่ไม่สามารถรักษาได้แล้ว การตรวจคัดกรองมะเร็งตับในระยะต้นๆจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้เราพบความผิดปกติตั้งแต่ต้นและสามารถรับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

การตรวจหามะเร็งตับมีวิธีใดบ้าง ?

 

การตรวจหามะเร็งตับมีหลายวิธีแตกต่างกันไป ทั้งการตรวจเลือด การตรวจทางรังสี การตรวจชิ้นเนื้อตับ แต่ละวิธีมีประโยชน์ต่างๆกัน แพทย์จะเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ได้แก่

  • การตรวจเลือด หาสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP (Alpha fetoprotein) เป็นสารโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีในเลือดและเป็นตัวบ่งชี้ว่าอาจเป็นมะเร็งตับ แต่การตรวจเลือดเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ค่า AFP อาจพบสูงได้ในโรคตับอื่นๆบางชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง ดังนั้นจึงควรตรวจร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย
  • การตรวจอัลตราซาวด์อวัยวะในช่องท้อง (Ultrasound Abdomen) เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงสร้างภาพจากอวัยวะภายใน การตรวจด้วยวิธีนี้จะช่วยให้มองเห็นก้อนในตับที่มีขนาดเล็กขนาด 1 เซนติเมตรขึ้นไป
  • การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยวิธีนี้ช่วยให้มองเห็นก้อนในตับที่มีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตรได้
  • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นการตรวจโดยใช้สนามแม่เหล็กพลังงานสูงในการสร้างภาพของอวัยวะต่างๆ ช่วยให้เห็นรายละเอียดบางอย่างได้ชัดเจนมากขึ้น เช่น ขนาดและรูปร่างของก้อน เลือดที่มาเลี้ยง การกดเบียดอวัยวะข้างเคียง
  • การตัดชิ้นเนื้อตับ (Liver Biopsy) เป็นการตรวจวิเคราะห์ชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา เพื่อช่วยยืนยันก้อนเนื้อที่พบว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่

 

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งตับสม่ำเสมอ ?

  • ผู้ป่วยโรคตับแข็ง
  • ผู้ป่วยโรคตับอักเสบบีเรื้อรัง
  • ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและยังไม่มีโรคตับแข็งแต่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งตับสูง ในเพศชายอายุมากกว่า 45 ปี ในเพศหญิงอายุมากกว่า 50 ปี และมีประวัติมะเร็งตับในครอบครัว
  • ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังและตรวจพบพยาธิสภาพของเนื้อตับว่ามีพังผืดมาก
  • โดยการตรวจเฝ้าระวังมะเร็งตับ แนะนำให้ตรวจเลือดหาค่า Alfa fetoprotein (AFP) ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง ทุก 6 เดือน

 

พบแพทย์เฉพาะทาง คลินิกอายุรกรรมทางเดินอาหารและตับ

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

 

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ