ทำไม...? ต้องวัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blod Pressure Monitoring : HBPM) ซึ่งเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดพกพาที่บ้าน ข้อดีของการวัดความดันโลหิตที่บ้าน เนื่องจากค่าความดันโลหิตเฉลี่ยที่บ้านซึ่งเราวัดทุกวัน วันละ ประมาณ 4 ครั้ง จะช่วยประเมินการรักษาได้ดีกว่าค่าความดันโลหิตที่วัดที่โรงพยาบาล ซึ่งมีการวัดเพียงค่าเดียว และ หนึ่งในสามของผู้ป่วยจะมีค่าความดันที่บ้านต่างจากที่โรงพยาบาล เช่น ที่โรงพยาบาลความดันสูง แต่ที่บ้านปกติ หรือ ที่โรงพยาบาลความดันปกติ แต่ที่บ้านความดันสูง
ทำไม…? ต้องวัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blod Pressure Monitoring : HBPM) ซึ่งเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดพกพาที่บ้าน ข้อดีของการวัดความดันโลหิตที่บ้าน เนื่องจากค่าความดันโลหิตเฉลี่ยที่บ้านซึ่งเราวัดทุกวัน วันละ ประมาณ 4 ครั้ง จะช่วยประเมินการรักษาได้ดีกว่าค่าความดันโลหิตที่วัดที่โรงพยาบาล ซึ่งมีการวัดเพียงค่าเดียว และ หนึ่งในสามของผู้ป่วยจะมีค่าความดันที่บ้านต่างจากที่โรงพยาบาล เช่น ที่โรงพยาบาลความดันสูง แต่ที่บ้านปกติ หรือ ที่โรงพยาบาลความดันปกติ แต่ที่บ้านความดันสูง
คำแนะนำในการวัดความดันโลหิต โดยวิธี HBPM
- ระดับความดันโลหิตที่สูงผิดปกติ ≥135/85 mmHg ควรวัดความดันโลิหิตและจดบันทึกที่บ้านเป็นประจำ วันละ 4 ครั้ง
- เนื่องจาก HBPM สามารถทำนายการเกิดโรคแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ดีกว่าการวัดความดันโลหิตที่สถานพยาบาล ดังนั้น หากมีความขัดแย้งกัน ของผล HBPM กับ Office BP ให้ถือเอาผล HBPM เป็นสำคัญ
วิธีวัดความดันโลหิตที่บ้าน
- งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ คาเฟอีน อย่างน้อย 30 นาที คาเฟอีน ได้แก่ ชา กาแฟ เครื่องชูกำลัง บุหรี่และแอลกอฮอล์ควรงดถาวร
- นั่งพักผ่อนคลายในห้องเงียบสงบ อย่างน้อย 5 นาที ช่วงเช้าวัดภาย 1 ชั่วโมง หลังตื่นนอน หลังจากปัสสาวะ วัดก่อนรับประทานอาหารเช้า และยาความดัน
3. สองเวลา เช้า ก่อนนอน เวลาละ สองครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 นาที จะได้ 4 ค่าต่อวัน วัด 3-7 วันก่อนมาพบแพทย์
4. ค่าที่บ้านจะต่อกว่า ค่าที่วัดได้ในสถานพยาบาล ∼5 mmHg ค่าที่ผิดปกติ คือ ค่าตัวบน ≥135 mmHg และ/หรือ ค่าตัวล่าง ≥85 mmHg
การนั่งและจัดท่าทางในการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ให้เหมาะสม สำคัญมากอย่าละเลย
- ขนาด cuff เหมาะสม เล็กเกินหรือแน่นไป จะทำให้ความดันโลหิตคลาดเคลื่อนได้ถึง 2-10 mmHg
- รัด cuff บนแขนเปล่าเปลือย วัดผ่านเสื้อผ้าหนา เพิ่ม 5-50 mmHg
- งดพูดคุย ฟัง พูดคุย สนทนา เพิ่ม 10 mmHg
- แขนพาด แขนลอย ไม่วาง เพิ่ม 10 mmHg
- ขาไม่ไขว้ นั่งไขว่ห้าง เพิ่ม 2-8 mmHg
- เท้าราบหลังพิงพนัก เท้าลองอยู่เหนือพื้น หลังไม่พิงเพิ่ม 6.5 mmHg
ต้องบันทึกอะไรบ้างสำหรับผู้เป็นความดันโลหิต
- ชื่อนามสกุล
- อายุ
- ความดันโลหิต เป็นมาระยะเวลากี่ปี
- โรคเบาหวานชนิดใด วินิจฉัยตั้งแต่ปี พ.ศ.อะไร เป็นระยะเวลากี่ปี
- ไขมันในเลือดผิดปกติ หรือไม่
- มีภาวะอ้วนออกแกนกลาง หรือไม่
- น้ำหนักกี่กิโลกรัม
- ส่วนสูง
- ดัชนีมวลกาย
- เส้นรอบเอว
- โรค/ภาวะ แสดงถึงหลอดเลือดแดงแข็ง ASCVD (Atherosclertic Cardiovascular Disease)
- หลอดเลือดหัวใจตีบ (CAD : Coronary Artery Disease)
- หลอดเลือดสมองตีบ Stroke / TA
- หลอดเลือดส่วนปลายตีบ (PAD:Peripheral Artery Disease)
- พบ Plaque ตะกรัน จากการตรวจทางการแพทย์ต่างๆ
- โรคไตเรื้อรัง ระยะเวลากี่ปี
- สูบบุหรี่ กี่ปี
- ดิื่มแอลกอฮอล์
บันทึกความดันโลหิต
- วันที่วัด
- ครั้งที่ 1
- ค่าความดันโลหิต ค่าตัวบน ค่าตัวล่าง
- ชีพจร
- ครั้งที่ 2
- ค่าความดันโลหิต ค่าตัวบน ค่าตัวล่าง
- ชีพจร
- ครั้งที่ 3
- ค่าความดันโลหิต ค่าตัวบน ค่าตัวล่าง
- ชีพจร
- ครั้งที่ 4
- ค่าความดันโลหิต ค่าตัวบน ค่าตัวล่าง
- ชีพจร
- จดบันทึกหมายเหตุ
ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ศูนยหัวใจ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อดูแพคเกจ ตรวจหัวใจ หรือ จองแพคเกจ)