ต่อมไทรอยด์ คืออะไร ต่อมไทรอยด์ คืออวัยวะรูปร่างคล้ายผีเสื้อวางอยู่หน้าหลอดลมใต้ต่อลูกกระเดือก (Adam’s apple) ลงมา จากการวางตัวแบบนี้ ทำให้เมื่อต่อมขยายใหญ่ขึ้นจะสังเกตเห็นได้ง่าย และเมื่อมีการกดเบียด ปัญหาจะเกิดกับอวัยวะข้างเคียง เช่น เส้นประสาทที่ควบคุมการเปล่งเสียง ทำให้มีเสียงแหบ อาจมีการกดหลอดลมได้ แต่พบน้อยมาก เนื่องจากหลอดลมเป็นกระดูกอ่อน จึงมีความแข็งแรงกว่าตัวต่อมไทรอยด์เอง
ต่อมไทรอยด์ คืออะไร ต่อมไทรอยด์ คืออวัยวะรูปร่างคล้ายผีเสื้อวางอยู่หน้าหลอดลมใต้ต่อลูกกระเดือก (Adam’s apple) ลงมา จากการวางตัวแบบนี้ ทำให้เมื่อต่อมขยายใหญ่ขึ้นจะสังเกตเห็นได้ง่าย และเมื่อมีการกดเบียด ปัญหาจะเกิดกับอวัยวะข้างเคียง เช่น เส้นประสาทที่ควบคุมการเปล่งเสียง ทำให้มีเสียงแหบ อาจมีการกดหลอดลมได้ แต่พบน้อยมาก เนื่องจากหลอดลมเป็นกระดูกอ่อน จึงมีความแข็งแรงกว่าตัวต่อมไทรอยด์เอง
ต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxin) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ฮอร์โมนไทรอยด์ เมื่อฮอร์โมนมีการสร้างแล้ว จะไปออกฤทธิ์ที่ระบบอวัยวะปลายทางต่างๆ เช่น หัวใจ กล้ามเนื้อ ระบบประสาทอัตโนมัติ โดยผ่านไปทางเลือด ทำให้การตรวจระดับฮอร์โมนทำได้ด้วยการตรวจเลือด การควบคุมการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มีความสัมพันธ์กับต่อมใต้สมอง(Pituitary gland) เป็นระบบที่เกี่ยวเนื่องกัน ดังนั้นโรคของต่อมใต้สมองบางอย่างจึงมีผลต่อระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดด้วยเช่นกัน
โรคของต่อมไทรอยด์ แบ่งเป็นหลายชนิด หลัก ๆ คือ
- การสร้างฮอร์โมนที่มากหรือน้อยเกินไป (hypo, hyperthyroidism)
- ก้อนเนื้อที่ต่อมไทรอยด์
1.การสร้างฮอร์โมนที่มากไปหรือ hyperthyroidism ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานที่มากกว่าปกติ (Increase resting energy expenditure) น้ำหนักลด ความอยากอาหารมากขึ้นแต่ผอมลง หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ใจสั่น เหนื่อยง่าย บางรายมีอาการถ่ายอุจจาระบ่อย จนทำให้เข้าใจว่าเป็นท้องเสียเรื้อรัง และอาจมีการรบกวนต่อการตกไข่ในผู้หญิง รอบประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ เป็นสาเหตุหนึ่งของการมีบุตรยากได้
ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroid) อาการจะเป็นตรงข้ามกัน หลายท่านนิยามว่าเป็น Lazy thyroid ก็คือ อาการเพลีย บวม น้ำหนักเพิ่ม เสียงแหบ ท้องผูก ประจำเดือนอาจมาปริมาณมากและนานกว่าปกติจนเกิดโลหิตจางได้
กลุ่มการสร้างฮอร์โมนผิดปกตินี้วินิจฉัยได้โดยการตรวจเลือดเมื่อมีอาการหรืออาการแสดงที่ชวนสงสัย ต่อมไทรอยด์อาจมีขนาดปกติ หรือโตขึ้นได้ในทั้งสองโรค การรักษา ขึ้นกับสาเหตุที่ตรวจพบ โดยทั่วไป ไทรอยด์เป็นพิษ รักษาได้ด้วยยารับประทาน การกลืนรังสีไอโอดีน หรือการผ่าตัด
2.ก้อนเนื้อที่ต่อมไทรอยด์ อาจมีการตรวจพบจากการสังเกตเห็นเองของผู้ป่วยหรือคนรอบข้าง การที่ก้อนมีการกดเบียดอวัยวะอื่นรอบข้าง เช่น เสียงแหบ หายใจเข้ามีเสียงดัง(stridor) หรือที่พบในปัจจุบันมากขึ้น คือ พบโดยบังเอิญจากการตรวจอื่นๆเข่น CT หรือ ultrasound บริเวณคอ
การรักษาโดยทั่วไป คือการยืนยันว่าก้อนที่ตรวจพบเป็นมะเร็งหรือเป็นเพียงถุงน้ำ หรือเป็นก้อนเนื้อดีธรรมดา และตัวก้อนมีการสร้างฮอร์โมนที่ผิดปกติหรือไม่ โดยอาจมีการเจาะชิ้นเนื้อตรวจ หรือการติดตามลักษณะทางอุลตร้าซาวด์ไปเป็นระยะๆ หากเป็นมะเร็งก็มีการรักษาหลักคือการผ่าตัด และการกลืนรังสีไอโอดีนต่อหลังการผ่า