การดูแลสุขภาพ…. ผู้สูบบุหรี่

20 ก.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์โรคระบบทางเดินหายใจและปอด โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การสูบบุหรี่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ที่สูบบุหรี่มาเป็นเวลานาน อาจไม่พบมีการผิดปกติอะไรที่เห็นชัดเจน แต่ความจริงแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกายอย่างช้าๆ หากปล่อยจนเกิดอาการ แสดงว่าโรคอาจจะดำเนินไปไกลแล้ว ดังนั้น จึงควรใส่ใจสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถปรึกษาแพทย์ได้ ตั้งแต่ก่อนเริ่มมีอาการ



เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การสูบบุหรี่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ที่สูบบุหรี่มาเป็นเวลานาน อาจไม่พบมีการผิดปกติอะไรที่เห็นชัดเจน แต่ความจริงแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกายอย่างช้าๆ หากปล่อยจนเกิดอาการ แสดงว่าโรคอาจจะดำเนินไปไกลแล้ว ดังนั้น จึงควรใส่ใจสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถปรึกษาแพทย์ได้ ตั้งแต่ก่อนเริ่มมีอาการ

 

อาการผิดปกติเบื้องต้นที่ควรมาพบแพทย์

  • มีอาการระคายเคืองทางเดินหายใจอย่างสม่ำเสมอ
  • ไอเรื้อรัง
  • ไอมีเสมหะ หรือ มีเลือดปน
  • มีอาการเจ็บบริเวณหน้าอก
  • เหนื่อยง่ายกว่าปกติ

 

โรค หรือความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่มีอะไรบ้าง และ หากมาพบแพทย์จะได้รับการตรวจอะไรบ้าง?

 

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือ โรคถุงลมโป่งพอง

ผู้สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ ถึง 6 เท่า จึงควรได้รับการตรวจร่างกาย ดังต่อไปนี้

  • ถ่ายภาพเอ็กซเรย์รังสีทรวงอก (Chest X-ray)
  • ตรวจสมรรถภาพปอด (PFT : Pulmonary Function Test)
  • ตรวจความอิ่มตัวของออกซิเจนในเม็ดเลือด

 

โรคมะเร็งปอด (Lung Cancer)

ผู้สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงมากกว่า คนที่ไม่สูบบุหรี่ 10 เท่า  ควรได้รับการตรวจร่างกาย ดังต่อไปนี้

  • ถ่ายภาพเอกซเรย์รังสีทรวงอก (Chest X-ray)
  • ตรวจสมรรถภาพปอด (PFT : Pulmonary Function Test)
  • เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (CT-Scan)  ในกรณีที่พบความผิดปกติจากการตรวจรังสีทรวงอก
  • ตรวจเลือดหาค่าสารบ่งชี้มะเร็ง (CEA)
  • ตรวจความอิ่มตัวของออกซิเจนในเม็ดเลือด

 

โรคหลอดเลือดและเส้นเลือดหัวใจ

ผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า  ควรได้รับการตรวจร่างกาย ดังต่อไปนี้

  • ถ่ายภาพเอ็กซเรย์รังสีทรวงอก (Chest X-ray)
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography : EKG)
  • ตรวจสมรรถภาพปอด (PFT : Pulmonary Function Test)
  • ตรวจหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Ankle Brachial Index : ABI)
  • ตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ดูหลอดเลือดหัวใจ (CT-Scan) ในกรณีที่พบความผิดปกติกจาการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

 

การพบพทย์และตรวจร่างกาย จะเป็นการช่วยดูแลสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ และเฝ้าระวังโรคร้ายแรงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น จนเป็นปัญหาและรบกวนการดำเนินชีวิตได้ แต่แนวทางที่ดีที่สุด คือ การเลิกสูบบุหรี่

 

หากต้องการจะเลิกบุหรี่ ควรทำอย่างไร

  1. ต้องมีกำลังใจที่เข้มแข็ง ทั้งจากตนเองและคนรอบข้าง โดยพยายามสร้างแรงจูงใจให้อยากเลิกบุหรี่
  2. ทำพฤติกรรมบำบัด โดยทั้งอุปกรณ์การสูบ ออกกำลังกาย หากิจกรรมทำเพื่อผ่อนคลายความเครียด
  3. หากเลิกไม่ได้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาช่วย ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเลิกบุหรี่ ประมาณ 40-60 %
  4. คนรอบข้างควรติดตามและให้กำลังใจ เพื่อป้องกันการกลับไปสูบใหม่

 

หากเลิกบุหรี่แล้วจะมีผลข้างเคียงอะไรหรือไม่

ผู้ที่สูบบุหรี่ทุกคน สามารถเลิกบุหรี่ได้  ถ้าได้รับคำแนะนำและกำลังใจที่ดี อาจจะมีผลข้างเคียงบ้าง เช่น มีอารมหงุดหงิด วิตกกังวล นอนไม่หลับ น้ำหนักตัวเพิ่ม หากเกิดอาการเหล่านี้แนะนำให้ดื่มน้ำเย็นๆ  หายใจเข้าออกลึกๆ ในเวลาที่รู้สึกหงุดหงิด ออกกำลังกายและควบคุมอารมณ์  เพราะหลังจากหยุดบุหรี่แล้วจะทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น โดยอาการต่างๆ เหล่านี้จะหายไปภายใน 3-4 วัน

เพื่อสุขภาพที่ดีของท่าน อย่างลืมใส่ใจดูแลสุภาพ ปรึกษาแพทย์ได้ตั้งแต่ก่อนมีอาการ

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์ระบบทางเดินหายใจและปอด โรงพยาบาลสินแพทย์

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ