กระดูกพรุน หรือไม่ ?? เป็นผู้หญิง ยิ่งต้องใส่ใจ

11 มิ.ย. 2563 | เขียนโดย ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรคกระดูกพรุนพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายมวลกระดูกของผู้หญิงจะลดลงเรื่อยๆ หลังหมดประจำเดือนทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเกิดกระดูกหักมากถึง 30-40 %



โรคกระดูกพรุน

  • พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • มวลกระดูกของผู้หญิงจะลดลงเรื่อยๆ หลังหมดประจำเดือน
  • ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเกิดกระดูกหักมากถึง 30-40 %

 

โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่มีการลดลงของเนื้อกระดูก หรือมวลกระดูก ทำให้กระดูกบางลง มีโครงสร้างผิดไป เปราะมากขึ้นและทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือหกล้มจะเกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกบริเวณข้อสะโพก  กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ

 

คุณมีสิทธิ์เป็นโรคกระดูกพรุน ถ้า…

  1. อยู่ในวัยสูงอายุ
  2. มีใครในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนมาก่อน
  3. สตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนแล้ว หรือผู้ที่ผ่าตัดรังไข่ออก 2 ข้าง
  4. คนผิวขาว หรือชาวเอเชีย มีโอกาสเป็นมากกว่าเชื้อชาติอัฟริกัน
  5. เคลื่อนไหวร่างกายน้อย หรือนั่งทำงานอยู่กับโต๊ะทั้งวัน
  6. คนรูปร่างเล็กหรือผอม เพราะไม่มีไขมันที่สามารถเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตเจนได้
  7. กินอาหารที่มีแคลเซียมน้อย
  8. กินอาหารที่มีไขมันหรือเนื้อสัตว์มากเกินไป ซึ่งจะเป็นตัวขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม
  9. สูบบุหรี่จัด
  10. ดื่มสุรา ชา หรือกาแฟ ในปริมาณมากๆ เป็นประจำ
  11. กินยาบางชนิด เช่น ยารักษาไทรอยด์ ยาประเภทสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเหล่านี้จะมีผลทำให้การดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายลดลง
  12. ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากการทำงานของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์ เบาหวาน โรคของต่อมหมวกไต
  13. ผู้ที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ได้แก่ คนที่ต้องเข้าเฝือกเป็นระยะเวลานานๆ ผู้ที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
  14. ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ
  15. ทำงานอยู่แต่ในอาคาร จึงไม่มีโอกาสได้รับแสงแดดอ่อนๆ ตอนเช้าหรือตอนเย็น ทำให้ร่างกายไม่ได้รับวิตามินดี เพื่อไปเสริมสร้างกระดูกเพิ่ม

 

เราอาจไม่รู้ตัวเลยว่า เราเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุ แล้วมีกระดูกหัก คุณหมอตรวจเอกซเรย์แล้วจึงรู้ว่ากระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนนั่นเอง เนื่องจากภาวะกระดูกพรุนจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่ปัจจุบันมีวิธีการตรวจวัดมวลกระดูกด้วยเครื่อง “Bone DEXA scan (Dual Energy X-ray Absovptionmetry)” เป็นเครื่องเอกซเรย์ระบบ 2 พลังงาน ที่มีข้อดีคือ เป็นเครื่องตรวจที่ใช้รังสีเอ็กซเรย์พลังงานต่ำ ทำให้ได้รับปริมาณรังสีน้อย มีความแม่นยำสูง ใช้ตรวจกระดูกได้หลายส่วน

 

ควรตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ตำแหน่งใด

 

โดยทั่วไป นิยมตรวจในกระดูกส่วนที่มีโอกาสหักได้ง่าย 3 ตำแหน่ง ดังนี้

  • กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar spine)
  • กระดูกข้อสะโพก (Hib)
  • กระดูกปลายแขน (Forearm)

 

ใครบ้างที่ควรตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก

  • สตรีในวัยหมดประจำเดือน
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  • คนที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่สูบบุหรี่จัด มีคนกระดูกหักในครอบครัว

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลสินแพทย์

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

โปรแกรมศูนย์กระดูกและข้อ
แพ็กเกจตรวจคัดกรอง MRI ข้อเข่า P.1
ราคา
6,900 ฿
โปรแกรมศูนย์กระดูกและข้อ
แพ็กเกจตรวจคัดกรอง MRI ข้อเข่า P.2
ราคา
12,000 ฿