โรคคอบิดเกร็ง (Cervical dystonia)

5 พ.ค. 2563 | เขียนโดย นพ.ชยุตม์ เกษมศุข ศูนย์สมอง โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากการบิดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณคอ โดยสามารถบิดไปได้ทั้งทางด้านข้าง ด้านหน้า หรือแหงนไปด้านหลัง มักพบอาการปวดร่วมด้วยในผู้ป่วยหลายราย สามารถเจอได้ในผู้ป่วยทุกช่วงอายุ พบมากสุดในช่วงวัยกลางคน โดยผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย อาการมักเป็นมากขึ้นเมื่อมีภาวะเครียดหรือเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระ อาการมักดีขึ้นหากได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีเทคนิคที่ท าให้อาการบิดเกร็งลดลงชั่วคราว ดังที่เรียกว่า sensory tricks เช่น ใช้มือแตะที่บริเวณคางหรือส่วนหลังของคอ



เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากการบิดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณคอ โดยสามารถบิดไปได้ทั้งทางด้านข้าง ด้านหน้า หรือแหงนไปด้านหลัง มักพบอาการปวดร่วมด้วยในผู้ป่วยหลายราย สามารถเจอได้ในผู้ป่วยทุกช่วงอายุ พบมากสุดในช่วงวัยกลางคน โดยผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย อาการมักเป็นมากขึ้นเมื่อมีภาวะเครียดหรือเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระ อาการมักดีขึ้นหากได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีเทคนิคที่ท าให้อาการบิดเกร็งลดลงชั่วคราว ดังที่เรียกว่า sensory tricks เช่น ใช้มือแตะที่บริเวณคางหรือส่วนหลังของคอ

สาเหตุของโรคคอบิดเกร็ง :

ส่วนมากมักเกิดขึ้นเอง ไม่ทราบสาเหตุ แต่ในบางรายมักพบร่วมกับโรคทางพันธุกรรมหรือโรคจากความเสื่อมทางระบบประสาท และมีบางรายเกิดขึ้นจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มจิตเวชหรือยารักษาโรคพาร์กินสัน

การรักษา :

เป้าหมายในการรักษา คือ ปรับองศาของคอที่บิดให้กลับมาอยู่ในท่าใกล้เคียงปกติมากที่สุดและลดอาการปวดจากภาวะการบิดของคอ โดยมีการรักษาได้หลายวิธี

  1. การใช้ยา ปัจจุบันมียาหลายกลุ่มที่นำมาใช้รักษาโรคคอบิด เช่น ยาต้านกลุ่มโคลิเนอจิก (anticholinergic) ยานอนหลับกลุ่ม clonazepam หรือยากันชักบางประเภท
  2. การฉีดโบท็อกซ์ถือเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าการรักษาด้วยยา มีข้อดีคือสามารถลดอาการบิดเกร็งและยังสามารถลดอาการปวดได้ด้วย โดยประสิทธิภาพการออกฤทธิ์จะเริ่มเห็นผลหลังฉีดไปได้ 10-14 วันและคงฤทธิ์อยู่ได้นานประมาณ 3-4เดือน ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้ใช้โบท็อกซ์ด้วย โดยเราสามารถหลีกเลี่ยงภาวะดื้อต่อโบท็อกซ์ได้ โดยการใช้โบท็อกซ์ของแท้ โดยใช้ปริมาณเท่าที่จำเป็น และไม่ควรฉีดซ้ำในช่วงเวลาห่างกันน้อยกว่า 3 เดือน เนื่องจากการฉีดถี่ๆจะเป็นการกระตุ้นให้เกิด antibody ทั้งนี้อาจพบผลข้างเคียงได้ในบางราย เช่น กลืนสำลัก
  3. กายภาพบำบัด โดยเน้นหมุนไปด้านตรงข้ามกับที่คอบิด ใช้ความร้อนหรือไฟฟ้ากระตุ้นเพื่อช่วยลดปวดและคลายกล้ามเนื้อ และในการวิจัยช่วงหลังพบว่า การทำกายภาพบำบัดหลังฉีดโบท็อกซ์ให้ผลการรักษาดีกว่าการฉีดโบท็อกซ์อย่างเดียว
  4. การผ่าตัด สามารถทำได้โดยการตัดเส้นประสาทส่วนที่เลี้ยงกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ แต่ผลการรักษาไม่แน่นอนและมีผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดค่อนข้างมาก อีกวิธีคือการผ่าตัดฝังชิพลงสมองส่วนลึก (Deep brain stimulation) ซึ่งผลข้างเคียงหลังผ่าตัดน้อยกว่าวิธีแรกแต่มีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดค่อนข้างสูง
SHARE