แผลในกระเพาะอาหาร นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ รู้ไว รักษาทัน

25 พ.ย. 2567 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง หรือขับถ่ายผิดปกติ คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคแผลในกระเพาะอาหาร นิ่วในถุงน้ำดี หรือตับอักเสบ หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่



โรคแผลในกระเพาะอาหาร นิ่วในถุงน้ำดี หายได้ ถ้ารักษาทัน

หากคุณเคยท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ท้องผูกสลับท้องเสีย อาเจียน คุณอาจจะกำลังเสี่ยงเป็น “โรคระบบทางเดินอาหาร” อาการเหล่านี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะอาจลุกลามไปสู่โรคร้ายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่แทบไม่จำเป็นต้องกังวลโรคเกี่ยวกับระบทางเดินอาหารอีกต่อไป ถ้าเกิดรู้ตัวไว และเข้ารับรักษาอย่างรวดเร็ว ในวันนี้ทางสินแพทย์จะมาแนะนำเทคนิควินิจฉัยต่าง ๆ แนวทางการรักษาที่ให้ผลลัพธ์ดี วิธีดูแลตัวเองในกรณีที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้ป่วยในกลุ่มโรคระบบทางเดินหาร พร้อมแนะนำแพ็กเกจส่องกล้องสำหรับผู้ที่สนใจอยากลองตรวจทางเดินอาหารเพื่อเฝ้าระวัง รู้เท่าทัน และรักษาหากพบความผิดปกติได้ทันที

 

โรคระบบทางเดินอาหาร มีอะไรบ้าง

โรคระบบทางเดินอาหาร มีอะไรบ้าง ต้องเข้าใจก่อนว่า คำว่า “โรคระบบทางเดินอาหาร” เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอวัยวะ ตั้งแต่ปาก ลำคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก ตับ และตับอ่อน มีหน้าที่ย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย และกลุ่มโรคยอดฮิต ที่คนส่วนใหญ่มักจะเป็นกัน ได้แก่

 

  • โรคกระเพาะอาหาร หรือโรคแผลในกระเพาะอาหาร
  • โรคกรดไหลย้อน
  • โรคลำไส้อักเสบ
  • โรคลำไส้แปรปรวน
  • โรคนิ่วในถุงน้ำดี 
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่

 

ระบบทางเดินอาหาร มีความสัมพันธ์กับ ตับ และทางเดินน้ำดีได้ยังไง

หากสงสัยว่าระบบทางเดินอาหาร มีความสัมพันธ์กับ ตับ และทางเดินน้ำดีได้ยังไง จะขออธิบายให้เข้าใจตรงกันมากขึ้น โดยจะแบ่งเป็นหน้าที่ของอวัยวะแต่ละส่วน

 

  • ตับ : หน้าที่ของตับจะช่วยควบคุมร่างกายให้เกิดความสมดุล และขับสารพิษออกจากเลือด รวมถึงสร้างภูมิคุ้มกัน คอยกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ และส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร คือ สร้างน้ำดีและไหลไปยังทางท่อน้ำดีลงไปยังบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อช่วยย่อยอาหารจำพวกไขมัน
  • ทางเดินน้ำดี : จะเชื่อมต่อกับตับ ถุงน้ำดี และลำไส้เล็กส่วนต้น หน้าที่ของทางเดินน้ำดีจะช่วยส่งน้ำตีที่ตับสร้างขึ้นไปยังลำไส้ใหญ่ที่ช่วยย่อยอาหารจำพวกไขมัน

 

สรุปได้ว่า ตับและทางเดินน้ำดีมีบทบาทสำคัญในการย่อยไขมัน และกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย การทำงานที่ผิดปกติของตับและทางเดินน้ำดี เช่น การเกิดนิ่วในถุงน้ำดี อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหารได้

 

 

ส่องกล้องทางเดินอาหาร

เทคนิควินิจฉัยโรคระบบทางเดินอาหาร ตับ และทางเดินน้ำดี

เทคนิควินิจฉัยโรคระบบทางเดินอาหาร ตับ และทางเดินน้ำดี มีหลายวิธี โดยขึ้นอยู่กับอาการและประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย วิธีการที่นิยมใช้ ได้แก่

 

ส่องกล้องทางเดินอาหาร

ส่องกล้องทางเดินอาหาร ตรวจหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร โดยแพทย์จะใส่กล้องเพื่อตรวจทางเดินอาหารผ่านทางปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร ไปจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น โดยปกติแล้วแพทย์จะทำการสะกิดชิ้นเนื้อออกมา เพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น แพทย์อาจจะมีการตรวจชิ้นเนื้อบริเวณทางเดินอาหารส่วนบน และไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อยืนยันการวินิจฉัยเพิ่มเติม

 

ส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อน

ส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อน วิธีการจะคล้ายกับการส่องกล้องทางเดินอาหาร แต่จะเลยจากกระเพาะอาหาร ไปถึงรูเปิดท่อน้ำดีในบริเวณลำไส้เล็ก และฉีดสารทึบรังสีเพื่อวินิจฉัย หากพบนิ่วในท่อทางเดินน้ำดี แพทย์อาจจะจำเป็นต้องตัดรูเปิดท่อน้ำดีให้ขยายมากขึ้น และใช้อุปกรณ์ดึงนิ่วที่คั่งค้างอยู่ให้หลุดออก โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

 

ส่องกล้องอัลตร้าซาวด์ (กล้อง Endoscopic Ultrasound)

ส่องกล้องอัลตร้าซาวด์ เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาเพื่อใช้อัลตร้าซาวด์ เข้าถึงบริเวณที่ตรวจวินิจฉัยยาก ได้แก่ เนื้อเยื้อใต้ชั้นผิวกระเพาะลำไส้ ตับอ่อน ปลายท่อทางเดินน้ำดีทำให้แพทย์สามารถมองเห็นรอยโรคได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

โดยแพทย์จะใช้กล้องที่เป็นท่อขนาดเล็ก ติดอุปกรณ์อัลต้าซาวด์ที่ปลายกล้องสอดเข้าทางปากไปถึงลำไส้เล็ก หัวอัลตร้าซาวด์จึงอยู่ใกล้ช่วงบริเวณตำแหน่งที่ต้องการ ตรวจได้ดีกว่าอัลตร้าซาวด์ปกติ และแพทย์ยังสามารถใส่อุปกรณ์ติดชั้นเนื้อ นำเนื้อเยื้อมาตรวจได้อีกด้วย

 

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่

เป็นการตรวจหาเนื้องอกหรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่มีความแม่นยำที่สุด และยังสามาถตัดเนื้องอก Polyp หรือมะเร็งระยะต้นออกได้ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ โดยผู้ป่วยต้องได้รับการล้างลำไส้ โดยทานยาระบาย ถ่ายจนสะอาด แล้วแพทย์จะสอดกล้องทางทวาร ตรวจลำไส้ใหญ่ โดยจะให้ยานอนหลับขณะทำหัตถการ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ

 

ถ้าเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร รักษาอย่างไร

ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร สามารถรักษาได้โดยการคัดกรองด้วยวิธีส่องกล้อง ซึ่งการส่องกล้องจะระบบทางเดินอาหาร จะช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติ วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ ในกรณีที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือเป็นโรคเนื้องอกลำไส้ จะทำง่ายต่อการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

 

โรคทางเดินอาหาร รักษา

ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ห่างไกลจากโรคระบบทางเดินอาหาร

ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคระบบทางเดินอาหาร สามารถทำได้ ดังนี้

 

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น มีกากใยอาหาร เช่นผัก, ผลไม้
  • รับประทานอาหารช้า ๆ เพื่อเพิ่มเวลาให้กระเพาะในการย่อยอาหาร
  • ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร หรือวันละ 8 แก้ว เพื่อป้องกันการท้องผูก
  • ออกกำลังกายควบคุมน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์ งดแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่
  • จัดการและปล่อยวางจากความเครียด ทั้งด้านจิตใจ และสภาพแวดล้อม
  • งดใช้ยาปฏิชีวนะ หากไม่ได้มาจากการจ่ายยาโดยแพทย์

 

แพ็กเกจส่องกล้องทางเดินอาหาร มีอะไรบ้าง

การตรวจโรคระบบทางเดินอาหารในตอนนี้ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป ในขณะเดียวกันต้องขอบคุณเทคโนโลยีที่ทำให้เข้าถึงการรักษา การวินิจฉัยโรคได้ง่ายและแม่นยำมากยิ่งขึ้น การใส่ใจความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายอยู่เสมอ จะสามารถยับยั้งการเกิดโรคร้ายแรงอย่างตับอักเสบ และโรคอื่น ๆ ได้ทัน ดังนั้นหากคุณรู้สึกว่าการตื่นเช้าในวันนี้ ท้องไส้ของคุณไม่สบายเหมือนวันก่อน ให้ลองมาปรึกษาที่ศูนย์โรคปวดท้องโดยแพทย์เฉพาะทาง ของโรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา มาหาสาเหตุและรักษา และป้องกันปัญหาไปพร้อม ๆ กัน

 

SHARE