ไม่อยากเสี่ยง…เลี่ยงทานเค็ม !!!

8 ธ.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์โรคไต-ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

คนส่วนใหญ่มีการบริโภคโซเดียมสูงกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวัน (ประมาณ 2,000 มิลลิกรัม) ถึง 2-3 เท่า ซึ่งนำมาสู่ปัญหาสุขภาพเรื้อรังต่างๆ ตามมา ผลเสียของการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง



คนส่วนใหญ่มีการบริโภคโซเดียมสูงกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวัน (ประมาณ 2,000 มิลลิกรัม) ถึง 2-3 เท่า ซึ่งนำมาสู่ปัญหาสุขภาพเรื้อรังต่างๆ ตามมา ผลเสียของการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง มีดังนี้

 

ภาวะความดันโลหิตสูง

โซเดียมมีผลโดยตรงต่อความดันโลหิต โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ คนที่มีภาวะอ้วน ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ ตามมา

 

โรคไต

ไตต้องทำงานหนักขึ้น เนื่องจากต้องเพิ่มการกรองโซเดียมและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ทำให้มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ไตเสื่อมประสิทธิภาพ และนำไปสู่ภาวะไตวายในที่สุด.

 

โรคหัวใจ

การที่มีความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจต้องเพิ่มการทำงานเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวและบีบตัวได้น้อยลง นอกจากนี้ความดันโลหิตที่สูงยังทำลายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ง่ายขึ้น

 

โรคหลอดเลือดสมอง

ความดันโลหิตที่สูงจะไปทำลายหลอดเลือดสมอง ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการตีบตันหรือแตก เกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ตามมา

 

การคั่งของสารน้ำในร่างกาย

ในคนที่ไตไม่สามารถกำจัดเกลือและน้ำส่วนเกินออกได้ทัน จะทำให้มีการคั่งของสารน้ำตามอวัยวะต่างๆ เช่น ในปอด แขน ขา ซึ่งนำไปสู่ภาวะน้ำท่วมปอดหรือหัวใจวายได้

 

จะเห็นว่าการรับประทานเค็ม มีอันตรายต่อสุขภาพและส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่างๆ ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ของหมักดอง ลดปริมาณเครื่องปรุงรสต่างๆให้น้อยลง  รับประทานผักผลไม้สด ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคต่างๆ เหล่านี้

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โรคไต ศูนย์โรคไต ศูนย์ไตเทียมสาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE