โรคเก๊าท์ Gout

1 มิ.ย. 2563 | เขียนโดย ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรคเก๊าท์ เกิดจากความผิดปกติของระบบเมตาโบลิซึม ภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีกรดยูริคสูงกว่าปกติ 3-5 เท่า นอกจากนั้นร่างกายยังไม่สามารถขับกรดยูริคให้ลดลงได้ เมื่อกรดยูริคในร่างกายสูง และเกิดการตกผลิกเป็นก่อนนิ่วจับอยู่ตามข้อทำให้มีอาการปวดข้อและเกิดการอักเสพ โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่เท้าลุกลามจนถึงหัวเข่า ศอก และข้อ ในส่วนต่างของร่างกาย กรดยูริคนี้ หากเกาะอยู่ในทางเดินปัสสาวะจะทำให้เกิดนิ่วในไตได้



โรคเก๊าท์ เกิดจากความผิดปกติของระบบเมตาโบลิซึม ภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีกรดยูริคสูงกว่าปกติ 3-5 เท่า นอกจากนั้นร่างกายยังไม่สามารถขับกรดยูริคให้ลดลงได้ เมื่อกรดยูริคในร่างกายสูง และเกิดการตกผลิกเป็นก่อนนิ่วจับอยู่ตามข้อทำให้มีอาการปวดข้อและเกิดการอักเสพ โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่เท้าลุกลามจนถึงหัวเข่า ศอก และข้อ ในส่วนต่างของร่างกาย กรดยูริคนี้ หากเกาะอยู่ในทางเดินปัสสาวะจะทำให้เกิดนิ่วในไตได้

โดยปกติร่างการของคนเราจะมีระดับกรดยูริคในเลือด

  • ในผู้ชาย ประมาณ 3.67-7.7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ในผู้หญิง ประมาณ 2.8-6.8 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

 

แหล่งของกรดยูริคในร่างกาย

  1. จากการรับประทานอาหาร มีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3
  2. จากการสังเคราะห์ในร่างกายมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3

 

โรคเก๊าท์รักษาได้หรือไม่

โรคเก๊าท์เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายจากอาการปวดข้อได้ แต่ภาวะกรดยูริคสูง จำเป็นต้องควบคุมดูแล ต่อเพื่อป้องกันผลข้างเคียง ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อไต โดยแบ่งลักษณะของการรักษาได้ดังนี้

  1. ให้ยาลดกรดยูริคที่เป็นสาเหตุของโรคและติดตามระดับของกรดยูริคในเลือดเป็นระยะ
  2. ให้ยาลดการอักเสบของข้อเพื่อลดความเจ็บปวด
  3. ให้ยาป้องกันไม่ให้โรคกำเริบต่ออีกประมาณ 1-2 ปีหรือจนกว่าไม่มีอาการกำเริบ

 

ผู้ป่วยโรคเก๊าท์มักจะมี ภาวะทางโภชนาการไม่ดี และมีจำนวนไม่น้อยที่ อาจเป็นโรคอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน เป็นต้น ดังนั้นจึงควรรักษาโรคที่เป็นอยู่ ควบคู่กับการรักษาโรคเก๊าท์ด้วย เช่น ถ้าอ้วนควรจะลดน้ำหนักโดยการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารให้เหมาะสม แต่ไม่ใช่การอดอาหาร เพราะจะทำให้เกิดการสลายของเนื้อเยื่อ และเป็นการเพิ่มปริมาณกรดยูริค

 

 อาหารสําหรับโรคเก๊าท์

 

อาหารที่มีพิวรีนสูง

( ควรงดหรือรับประทานให้น้อย )

(ปริมาณพิวรีน>150มก./อาหาร100g)

คาร์โบไฮเดรต

  • ขนมปังที่มีเนย หรือไขมันสูง ใส่เชื้อยีสต์

 

โปรตีน

  • เครื่องในสัตว์ ( หัวใจ ตับ กึ๋น ไต สมอง )
  • เนื้อไก่ เป็ด ห่าน ( ปีก น่อง และข้อ )
  • ปลา ( แอนโชวี่ แมคเคอเรล กระตัก ดุก ซาร์ดีน ไส้ตัน ) และไข่ปลา
  • กุ้งชีแฮ้ หอย

 

ไขมัน และน้ำซุป

  • น้ำเกรวี่ น้ำต้มกระดูก น้ำซุปต่างๆ
  • น้ำสกัดจากเนื้อสัตว์

 

ผัก/ผลไม้

  • ยอดผัก ( กระถิน ชะอม ฟักแม้ว ฟักทอง ตำลึง )
  • เห็ด
  • ผลอโวคาโด้

 

เครื่องปรุง

  • กะปิ น้ำปลา ซุปก้อน

 

 

อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง

( รับประทานได้บ้าง )

(ปริมาณพิวรีน 50-150 มก. / อาหาร 100g)

คาร์โบไฮเดรต

  • ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ธัญพืช รำข้าว ข้าวที่ไม่ขัดขาว

 

โปรตีน

  • เนื้อหมู เนื้อวัว แฮม
  • เนื้ออกไก่
  • ปลา ( กะพงแดง แซลมอน ปลาทูน่า )
  • ปู ปลาหมึก

 

ไขมันและน้ำซุป

  • น้ำซุปเนื้อสัตว์

 

ผัก/ผลไม้

  • ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม หน่อไม้

 

เครื่องปรุง

  • เกลือ พริก มายองเนส น้ำซอส

 

 

อาหารที่มีพิวรีนต่ำ

(ปริมาณพิวรีน 0-50 มก. / อาหาร 100g)

 

คาร์โบไฮเดรต

  • ข้าวไม่ขัดขาว ก๋วยเตี๋ยว พาสต้า มันฝรั่ง

 

โปรตีน

  • เนื้อแกะ ไข่
  • เนยถั่วลิสง เมล็ดเกาลัด
  • นม และ ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ

 

ไขมันและน้ำซุป

  • น้ำซุปผัก

 

ผัก/ผลไม้

  • ดอกกะหล่ำ ธัญพืช
  • ผลไม้เปลือกแข็งทุกชนิด

 

เครื่องปรุง

  • น้ำสลัดซอสครีม

 

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

แพ็กเกจผ่าตัด และส่องกล้อง
แพ็กเกจผ่าตัดข้อเปลี่ยนเข่า (1 ข้าง)
ราคา
250,000 ฿
โปรแกรมศูนย์กระดูกและข้อ
แพ็กเกจตรวจคัดกรอง MRI ข้อเข่า P.2
ราคา
12,000 ฿