โรคตับ Liver Diseases

17 ก.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหาร ตับ และ ทางเดินน้ำดี โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ตับ เป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งในร่างกาย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง หน้าที่หลักของตับนอกจากจะเป็นหล่งกำจัดของเสีย สารพิษ และเชื้อโรคต่างไ ในร่างกายแล้วยังมีหน้าที่หลักในการสร้างสารอาหาร และภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ร่างกายอีกด้วย



ตับ เป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งในร่างกาย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง หน้าที่หลักของตับนอกจากจะเป็นหล่งกำจัดของเสีย สารพิษ และเชื้อโรคต่างไ ในร่างกายแล้วยังมีหน้าที่หลักในการสร้างสารอาหาร และภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ร่างกายอีกด้วย

ภาวะที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตับจะทำให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกาย และก่อให้เกิดโรคต่างๆ อีกมากมาย

 

อาการแสดงที่ชวนสงสัยว่าเป็นโรคตับได้แก่

  1. ตัวเหลือง ตาเหลือง
  2. อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุ
  3. บวม
  4. ภาวะท้องมาน (มีน้ำในช่องท้อง)
  5. เลือดออกง่าย
  6. ปวดจุกแน่นท้อง
  7. คลำพบก้อนที่ท้องด้านขวา

 

เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับในระยะแรก ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่มีอาการแสดงเตือนมาก่อน ผู้ป่วยที่มีการมักจะเป็นโรคตับรุนแรง หรือเกิดภาวะตับแข็งแล้ว ดังนั้น การตรวจร่างกายเพื่อตรวจสอบการทำงานของตับ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับบุคคลทั่วไป

 

โรคและภาวะที่เป็นอันตรายต่อตับ ที่พบบ่อยในประเทศไทย ได้แก่

  1. ไ วรัสตับอักเสบ (Viral Hepatitis)  ปัจจุบันมีเชื้อไวรัส หลายชนิดที่สามารถทำลายตับได้ ทั้งที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน และเรื้อรัง ซึ่งในกลุ่มไวรัสตับอักเสบนี้โรคที่สำคัยและพบบ่อยในประเทศไทย ได้แก่
    • ไวรัสตับอักเสบชนิด เอ (Viral Hepatitis A ) ทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีไข้ ตัวเหลืองคันตามตัว บางรายอาจเกิดภาวะตับวายได้ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อได้ทางอุจจาระ
    • ไวรัสตับอักเสบชนิด บี (Viral Hepatitis B) ทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ประเทศไทยเป็นประเทศที่พบโรคตับชนิดนี้ได้สูงมาก ประเทศหนึ่งในโลก โดยพบพาหะมากถึง 8-12 % ของประชาชนทั้งหมด สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ การให้เลือดและแม่สู่ลูก ผู้ป่วยที่มีการอักเสบเรื้อรัง ตับจะถูกทำลายจนเกิดภาวะ ตับแข็งและมีโอกาสเกิดมะเร็งตับสูงมากกว่าคนปกติ ถึง 200 เท่า
    • ไวรัสตับอักเสบชนิด ซี (Viral Hepatitis C) พบได้ประมาณ 0.8-1.48% ของประชากรทั่วไป โดยจะพบมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีประวัติได้รับเลือด หรือผู้ป่วยไตวายที่ได้รับการฟอกเลือดล้างไตบ่อยๆ ผู้ที่ได้รับเชื้อนี้ประมาณ 90% จะเกิดภาวะติดเชื้อเรื้อรัง และ 70% จะมีอาการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดภาวะตับแข็งและมะเร็งตับได้ในระยะต่อมา

ปัจจุบันนอกจากจะมีวัคซีน ที่สามารถป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบชนิด เอ และ บี ได้แล้ว ยังมียารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบชนิด บี และ ซี ซึ่งสามารถลดการเกิดภาวะตับแข็ง และการเกิดมะเร็งตับได้

  1. โรคตับจากแอลกอฮอล์ หรือ จากการดื่มสุรา (Alcoholic Liver Disease) ซึ่งแอลกอฮอล์ จากเหล้าจะถูกเปลี่นเป็นสารพิษ acetaldenhyde มีฤทธิ์ทำลายตับ และเป็นสารก่อมะเร็ง ในชาวเอเชียรวมถึงคนไทยมีโอกาส เกิดโรคตับจากแอลกอฮอล์ได้ง่ายกว่าชาวยุโรป ดังนั้นผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำควรหมั่นตรวจสุขภาพตับเป็นระยะ
  2. ตับอักเสบจากไขมัน (Fatty Liver) เกิดจากการที่เซลล์ไขมันแทรกในเนื้อตับ ก่อให้เกิด การอักเสบเรื้อรังมักพบในผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี มีรูปร่างอ้วนมีโรคเบาหวานไขมันในเลือดสูง สามารถทำให้เกิดภาวะตับแช็งได้ 8-17 % ผู้ป่วยในเลือดสูง สามารถทำให้เกิดภาวะตับแข็งได้ 8-17% ผู้ป่วยมักไม่อาการแสดงแต่จะตรวจพบ เอนไซม์ตับสูงผิดปกติ

 

ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับควรปฏิบัติตนอย่างไร

  1. งดดื่มเหล้าสูบบุหรี่
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำหวานบ่อยๆ
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ
  4. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่ไม่จำเป็น
  5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร อบหรือตากแห้งที่อาจมีสารอัลฟ่าทอกซิน (alfatoxin) จากเชื้อรา ซึ่งเป็นสารก่อนมะเร็งตับ ได้แก่ ถั่วลิลงแห้ง พริกแห้ง หรือเมล็ดพืชตากแห้ง
  6. หมั่นพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเช็คร่างกาย และการทำงานของตับอย่างสม่ำเสมอ

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร ตับ และ ทางเดินน้ำดี

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

SHARE