เนื้องอกในมดลูก

17 ก.พ. 2564 | เขียนโดย ศูนย์สุขภาพสตรี แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

เนื้องอกในมดลูก เป็นก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง เกิดขึ้นบริเวณชั้นกล้ามเนื้อของมดลูก มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ตั้งแต่เท่าหัวไม้ขีดไปจนใหญ่ถึงขนาดผลส้มโอลูกใหญ่  ศูนย์สุขภาพสตรี ศูนย์สูตินรีเวช โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 027935000



เนื้องอกในมดลูก เป็นก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง เกิดขึ้นบริเวณชั้นกล้ามเนื้อของมดลูก มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ตั้งแต่เท่าหัวไม้ขีดไปจนใหญ่ถึงขนาดผลส้มโอลูกใหญ่  มดลูกของผู้หญิงมีลักษณะคล้ายลูกแพร์อยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะที่อยู่ติดผนังท้องน้อยกับลำไส้ใหญ่ ซึ่งอยู่ด้านหลังติดกระดูกก้นกบ ส่วนปากมดลูกเป็นส่วนประกอบที่ต่อเชื่อมกับช่องคลอด และปีกมดลูกเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างรังไข่กับมดลูก

เนื้องอกมดลูก

สาเหตุ ที่ทำให้เกิดเนื้องอกในมดลูก

  • ยังไม่พบสาเหตุโดยตรงของการเกิดโรคเนื้องอกในมดลูก  แต่เชื่อว่ากรรมพันธุ์อาจมีส่วนในการเกิดโรคเนื้องอกในมดลูก
  • ซึ่งพบในผู้หญิงวัย 30-50 ปี และยังมีประจำเดือนอยู่
  • พบในผู้หญิงที่มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น ก่อนอายุ 12 ปี ซึ่งพบว่ามีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด ยังไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเนื้องอกในมดลูก
  • การได้รับฮอร์โมนทดแทนในการรักษาวัยทอง ยังไม่พบว่าทำให้ก้อนเนื้อชนิดนี้
  • โรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้เกิดเป็นโรคนี้ได้สูงกว่าคนทั่วไป

 

อาการ ของโรคเนื้องอกในมดลูก

ขึ้นอยู่กับ ชนิด ขนาด และ ตำแหน่ง ที่เนื้องอกเจริญเติบโตทำให้อาการ ดังต่อไปนี้

  1. อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ ประจำเดือนมามากและนานกว่าปกติ ในบางคนอาจจะมีเลือดออกนานถึง 2 สัปดาห์
  2. มีอาการปวดหน่วงตรงท้องน้อย หรือ บริเวณหลัง หรือ ปวดเหมือนปวดประจำเดือนมากผิดปกติ หรือ นานกว่าปกติ
  3. คลำเจอก้อน หรือ รู้สึกได้ว่ามีก้อนเกิดขึ้นตรงบริเวณท้องน้อย หากก้อนโตมากๆ อาจดูเหมือนมีการตั้งครรภ์ ในขณะที่ประจำเดือนยังมาปกติ
  4. เนื่องจากมดลูกอยู่ด้านหลังกระเพาะปัสสาวะ ดังนั้น ก้อนเนื้อของมดลูกอาจทำให้เกิดการปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะบ่อยขึ้น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยเฉพาะเวลาที่นอนราบ
  5. มีอาการหน่วงท้องและท้องผูก หากก้อนเนื้อกดลงบนลำไส้ใหญ่
  6. แน่นท้องจากก้อนที่โตเร็ว สงสัยการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็ง โดยทั่วๆ ไปเป็นมะเร็งกล้ามเนื้อมดลูก แต่พบได้น้อย
  7. อาการที่พบได้แต่ไม่บ่อย เช่น เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
  8. ภาวะมีบุตรยาก
  9.  มีภาวะแท้งคุกคาม

การตรวจวินิจฉัย โรคเนื้องอกในมดลูก

  1. ตรวจร่างกายโดยสูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการ
  2. ตรวจอัลตราซาวด์ ทั้งการตรวจทางหน้าท้อง และการตรวจภายใน
  3. ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรยคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง CT Scan หรือ  ตรวจด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กไฟ้ฟ้า MRI
  4. ตรวจด้วยการส่องกล้องโพรงมดลูก

 

การรักษา โรคเนื้องอกในมดลูก

  1. ควรพบสูตินรีแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
  2. หากเนื้องอกมดลูกยังมีขนาดเล็ก ต้องเฝ้าติดตามอาการ อาจรับการรักษาด้วยการใช้ยา
  3. ตรวจติดตามด้วยการรอัลตราซาวนด์ เพื่อติดตามขนาดของก้อนเนื้องอกเป็นระยะ สูตินรีแพทย์ อาจนัดตรวจทุก 3-6 เดือน
  4. มีการวัดปริมาณเลือดที่ออก และควรได้รับการรักษาอาการโลหิตจาง หากมีภาวะโลหิตจางร่วมด้วย
  5. กรณีเนื้องอกในมดลูกส่งผลให้ผู้ป่วยเสียเลือดมาก จะใช้ยาเพื่อลดปริมาณการเสียเลือดและทำให้อาการทุเลาลง
  6. หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่ ควรได้รับการผ่าตัดเนื้องอกมดลูกออก
  7. หากเนื้องอกมีการลุกลาม ขนาดใหญ่ และทำให้อวัยวะภายในเสียหาย อาจได้รับการผ่าตัดนำมดลูกออก ในกรณีที่ร้ายแรงและไม่ต้องการมีบุตรแล้ว

 

พบแพทย์เฉพาะทาง แผนกสูตินรีเวช ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

แพ็กเกจคลอดและแพ็กเกจฝากครรภ์
แพ็คเกจฝากครรภ์ A
ราคา
15,900 ฿
โปรแกรมตรวจระบบสืบพันธุ์สตรี
โปรแกรมตรวจระบบสืบพันธุ์สตรี 2
ราคา
5,000 ฿