ฝังเข็ม …ลดปวด…

16 ก.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

การฝังเข็ม สามารถ รักษาโรคอะไรได้บ้างองค์การอนามัยโลก ยอมรับการรักษาด้วยการฝังเข็มเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรค จำนวน 57โรค  และสามารถแบ่งกลุ่มโรคต่างๆได้ดังต่อไปนี้ได้แก่กลุ่มอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดสะบัก ปวดเข่า ปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งมีรายงานว่า การฝังเข็ม ร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วยได้ดีขึ้นกว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเดียว โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial Pain) โรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป เช่น ปวดประจำเดือน โรคเครียด นอนไม่หลับอย่างไรก็ตามผลการรักษาในแต่ละคน จะได้ผลดีไม่เท่ากัน  ซึ่งการตอบสนองต่อการฝังเข็มขึ้นกับ ระยะเวลาที่เป็นโรคนั้น  พยาธิสภาพโรค และสภาพร่างกายของผู้ป่วย  ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และอ่านเอกสารอธิบายก่อนตัดสินใจรับการฝังเข็ม  



ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการรักษา ด้วยการ ฝังเข็ม

การฝังเข็มเป็นศาสตร์ที่ใช้รักษาโรคที่มีประวัติอันยาวนาน  ประมาณ 4,000 ปี  นับจากจีนยุคโบราณมีการพัฒนาและมีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบันทำให้ทราบเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์หลายอย่าง  ที่นำมาอธิบายผลของการรักษาด้วยการฝังเข็มได้  กระทั่งปี 1979  องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ประกาศรับรองผลการรักษา 57 โรค ด้วยวิธีการฝังเข็ม ว่าได้ผลจริง และมีผลข้างเคียงน้อย

 

การฝังเข็ม เกิดผลในการรักษาอย่างไร

ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีน  เชื่อว่าการฝังเข็มทำให้ระบบลมปราณหมุนเวียนดีขึ้น และช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ส่วนข้อมูลสนับสนุนในปัจจุบัน  พบว่า การฝังเข็มสามารถรักษาโรคโดยอาศัยกลไกสำคัญดังต่อไปนี้

  1. เกิดการหลั่งสารต่างๆในร่างกายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เอนโดฟินลดปวด หรือสารสื่อประสาทต่างๆ (NE, 5-HT) ทำให้เกิดฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด  ลดการเกร็งกล้ามเนื้อ  ปรับปรุงการทำงานระบบประสาท  และทำให้จิตอารมณ์แจ่มใส
  2. เกิดการกระตุ้นให้มีการปรับตัวของระบบประสาทอัตโนมัติ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งบริเวณเฉพาะที่ และทั่วร่างกาย
  3. เกิดการคลายภาวะหดเกร็งกล้ามเนื้อเฉพาะจุด ที่เรียกว่าtrigger point ซึ่งเป็นสาเหตุการปวดของโรคกล้ามเนื้อเรื้อรัง (myofascial pain syndrome) จากการศึกษาพบว่าจุดฝังเข็มสัมพันธ์กับ trigger point ถึงร้อยละ 80

 

การฝังเข็ม สามารถ รักษาโรคอะไรได้บ้าง

องค์การอนามัยโลก ยอมรับการรักษาด้วยการฝังเข็มเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรค จำนวน 57โรค  และสามารถแบ่งกลุ่มโรคต่างๆได้ดังต่อไปนี้ได้แก่

  1. กลุ่มอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดสะบัก ปวดเข่า ปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดเรื้อรัง
  2. อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งมีรายงานว่า การฝังเข็ม ร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วยได้ดีขึ้นกว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเดียว
  3. โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial Pain)
  4. โรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด
  5. โรคอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป เช่น ปวดประจำเดือน โรคเครียด นอนไม่หลับ

อย่างไรก็ตามผลการรักษาในแต่ละคน จะได้ผลดีไม่เท่ากัน  ซึ่งการตอบสนองต่อการฝังเข็มขึ้นกับ ระยะเวลาที่เป็นโรคนั้น  พยาธิสภาพโรค และสภาพร่างกายของผู้ป่วย  ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และอ่านเอกสารอธิบายก่อนตัดสินใจรับการฝังเข็ม  

   

ข้อห้ามในการฝังเข็ม

     1. โรคเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
     2. โรคที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการผ่าตัด
     3. ตั้งครรภ์

 

อันตรายที่อาจพบได้จากการฝังเข็ม

  1. เลือดออก รอยฟกช้ำ มักเกิดจากเข็มไปถูกเส้นเลือดเล็กๆ ใต้ผิวหนัง ซึ่งส่วนใหญ่จะหยุดได้เองโดยใช้ก้อนสำลีกดไว้ชั่วขณะ
  2. อาการเป็นลม มักพบในผู้ป่วยที่หวาดกลัวเข็มหรือตื่นเต้นกังวลมากๆ ซึ่งหากนอนพักอาการก็จะดีขึ้น
  3. ติดเชื้อ พบได้น้อยมาก ขึ้นกับมาตรฐานปลอดเชื้อของแต่ละคลินิก และเข็มฝังเข็ม

 

เข็มที่ใช้ในการฝังเข็ม

ในแง่ความปลอดภัย เข็มทุกเข็มที่ใช้ในคลินิกฝังเข็ม โรงพยาบาลสินแพทย์ เป็นเข็มสแตนเลส ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างดี  บรรจุแผงจากโรงงาน ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่นำกลับมาใช้อีกเด็ดขาด  จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและโรคเอดส์

ขนาดเข็มที่ใช้ในการฝังเข็มมีขนาดเล็กกว่าเข็มฉีดยา ที่ใช้กันทั่วไปประมาณ  10-20 เท่า  เข็มที่เล็กที่สุดที่เราใช้  ขนาดใกล้เคียงกับเส้นผม  นอกจากนี้เข็มที่ใช้เป็นเข็มตัน ไม่มีรูตรงกลาง จึงไม่ได้ตัดกล้ามเนื้อตัดเส้นเลือดเหมือนเข็มฉีดยา และเจ็บน้อยกว่า  โอกาสจะเกิดอันตรายต่อเส้นประสาน เส้นเลือด และอวัยวะภายในมีน้อย

 

การฝังเข็มทำอย่างไร

แพทย์จะทำการวิเคราะห์โรคและปักเข็มลงในจุดที่มีผลในการรักษา  แล้วคาเข็มไว้ 20 – 30 นาที จากนั้นกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า (จากถ่านไฟฉาย จึงไม่มีโอกาสเกิดไฟซ๊อตจนอันตราย)  หรือกระตุ้นด้วยมือ แล้วเอาเข็มออก วิธีนี้แท้จริงควรเรียกว่า การปักเข็ม เพราะไม่ได้ฝังลงไปจริงและเป็นวิธีที่ปลอดภัย มีภาวะแทรกซ้อนน้อย

 

ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยฝังเข็ม

  • ควรแจ้งโรคประจำตัว หากมีเครื่องกระต้นหัวใจ โรคลมชัก ตั้งครรภ์ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนลงมือรักษา
  • ผู้ป่วยไม่ควรกังวลหรือกลัวมากเกินไป เพราะทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง และรู้สึกปวดมากขึ้น เวลาเข็มปักลงไป
  • ระหว่างฝังเข็ม อาจเกิดความรู้สึกหนักๆ หน่วงๆ ตื้อๆ ในจุดฝังเข็ม หรือมีความรู้สึกแล่นแปล๊บๆไปตามเส้น หากรู้สึกเจ็บมากเกินไป  ให้แจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบ  การถอนเข็มออกเล็กน้อย หรือลดการกระตุ้นให้เบาลงจะหายเจ็บ
  • ในระหว่างคาเข็ม พยายามอย่าขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ฝังเข็มมากเกินไป  เพราะทำให้เจ็บมากขึ้น  และมีเลือดออก
  • ตอนถอนเข็ม พยายามผ่อนคลายกล้ามเนื้อจะสบายที่สุด  แต่ถ้าหากมีอาการผิดปกติใดๆเช่น รู้สึกหวิวๆหน้ามืดจะเป็นลม แน่นหน้าอก  หายใจไม่สะดวก  ให้แจ้งแพทย์หรือผู้ช่วยแพทย์ทราบทันที
  • หากยังคงมีอาการปวดระบมหลังการฝังเข็ม กรุณาแจ้งแพทย์ หรือผู้ช่วยแพทย์ เพื่อจะได้มีการวางแผ่นร้อนประคบบริเวณที่ฝังเข็ม ช่วยลดบรรเทาอาการปวด

 

 ระยะเวลาที่ใช้สำหรับการฝังเข็มนานเท่าไร

การฝังเข็มแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30 นาที ควรมาฝังเข็มต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง  ซึ่งอาการต่างๆมักจะดีขึ้นหลังจากได้รับการฝังเข็ม 2-3 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการรักษาโรคต่างๆ อาจแตกต่างกัน ตามดุลยพินิจของแพทย์

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูส และ กายภาพบำบัด

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ