ผ่าตัดแผลเล็ก (MIS) รักษาหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

27 ก.ค. 2563 | เขียนโดย นายแพทย์วศิน เอาแสงดีกุล ศูนย์โรคปวดหลังปวดคอ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

เริ่มจากการซักประวัติ อาการปวดว่ามีบริเวณใดบ้าง มีอาการปวดร้าวไปที่ใดหรือไม่ ประกอบกับการมีอิริยาบทที่ผิดปกติมาด้วยหรือไม่ เช่น เกิดภายหลังออกกำลังกายอย่างหนัก เกิดหลังการยกของหนัก เมื่อตรวจร่างกายจะพบว่ามีอาการปวดมากขึ้นในท่าที่ต้องก้มหลัง หากเกิดการกดทับไปที่ข้างใดข้างหนึ่งก็จะทำให้ขาด้านนั้นบกพร่องไปด้วย วิธีสุดท้ายที่จะช่วยยืนยันการตรวจวินิจฉัยที่มาตรฐานในการตรวจที่สุด คือ การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เอ็ม อาร์ ไอ (MRI) ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นภาพของแกนกระดูกสันหลัง และลักษณะของหมอนรองกระดูกได้อย่างชัดเจน



ผู้ป่วยที่ผ่านการรักษา ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทด้วยการผ่าตัดแผลเล็ก ซึ่งมีขนาดของแผลหลังผ่าตัดเพียง 8 มิลลิเมตร ได้เล่าถึงอาการก่อนการผ่าตัดว่า

” ก่อนหน้าที่จะมีอาการปวดหลัง ปวดมานาน 5-6 เดือน เนื่องจากเมื่อก่อนต้องทำงานยกของหนักเป็นประจำ และยกแบบไม่ถูกวิธี จนเริ่มมีอาการปวดหลัง แรกๆ ก็ยังปวดไม่มาก กินยาแก้ปวดก็หาย ก็ยังมีอาการปวดอยู่เรื่อยๆ เริ่มจากปวดบริเวณบั้นเอว ต่อมาก็มาปวดบริเวณก้นกบ ปวดๆ หายๆ เวลายืนหรือเดินจะปวดไม่มากเท่าไร แต่เมื่อต้องก้มตัวหรือนั่งนานๆ อาการปวดก็จะมากขึ้น ก็ไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาเรื่องอาการปวดอยู่เสมอ ช่วงแรกคุณหมอก็ให้กินยา พร้อมกับทำกายภาพบำบัด อาการก็ยังเป็นๆ หาย ผ่านมาได้ 3เดือน ก็เริ่มมีอาการปวดมากขึ้น เริ่มปวดร้าวมาที่ต้นขาซ้าย เริ่มมีอาการชา ปลายเท้า ก็เริ่มมาใช้วิธีการฝังเข็ม อาการก็จะดีขึ้นบ้างหลังฝังเข็ม แต่ก็ยังมีอาการปวดอยู่บางเป็นพักๆ เช่น เดิน สุดท้ายก็เข้ารับการตรวจ ด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เอ็ม อาร์ ไอ (MRI) จึงพบว่า มีหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน แล้วไปกดทับเส้นประสาท บริเวณกระดูกบั้นเอวท่อนที่ 5 (L5-S1) “

” คุณหมอแนะนำว่าต้องผ่าตัด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้เรื้อรัง นอกจากอาการปวดไม่หายแล้ว ยังจะมีผลต่อการยืน การเดิน และอาจถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ “

 

สาเหตุของ การเกิดภาวะหมอนรองกระดูกสันหลัง เคลื่อนทับเส้นประสาท


เมื่อเราเริ่มมีอายุมากขึ้น โดยทั่วไปอายุมากกว่า 30ปีขึ้นไป หมอนรองกระดูกก็จะเริ่มมีความเสื่อม ยิ่งประกอบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ใช้งานหลังไม่ถูกวิธี มีการก้มตัว บิดตัว เอี่ยวตัวแรงๆ หรือ ต้องยกของหนักๆ เป็นประจำ ก็จะยิ่งทำให้หมอนรองกระดูกถูกกดเบียดมากขึ้น จนในที่สุดก็มีการยื่นไปกดทับเส้นประสาทที่อยู่ ใกล้ๆ ทำให้เกิดการบาดเจ็บ และเกิดอาการปวดจนเป็นอุปสรรคต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน

 

การตรวจวินิจฉัย ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลัง เคลื่อนทับเส้นประสาท


            เริ่มจากการซักประวัติ อาการปวดว่ามีบริเวณใดบ้าง มีอาการปวดร้าวไปที่ใดหรือไม่ ประกอบกับการมีอิริยาบทที่ผิดปกติมาด้วยหรือไม่ เช่น เกิดภายหลังออกกำลังกายอย่างหนัก เกิดหลังการยกของหนัก เมื่อตรวจร่างกายจะพบว่ามีอาการปวดมากขึ้นในท่าที่ต้องก้มหลัง หากเกิดการกดทับไปที่ข้างใดข้างหนึ่งก็จะทำให้ขาด้านนั้นบกพร่องไปด้วย วิธีสุดท้ายที่จะช่วยยืนยันการตรวจวินิจฉัยที่มาตรฐานในการตรวจที่สุด คือ การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เอ็ม อาร์ ไอ (MRI) ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นภาพของแกนกระดูกสันหลัง และลักษณะของหมอนรองกระดูกได้อย่างชัดเจน

 

วิธีการรักษา ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลัง เคลื่อนทับเส้นประสาท


การรักษาโดยทั่วไปจะเริ่มจากประคับประคองดูอาการโดยการใช้ยา และทำกายภาพบำบัดก่อน บางรายก็ดีขึ้น แต่ในบางรายที่ทำแล้วยังมีอาการปวดเช่นเดิม หรือ ปวดมากขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะทำให้เกิดอันตรายที่มากขึ้นได้ ก็จะใช้วิธีการผ่าตัดรักษา เอาหมอนรองกระดูกส่วนที่ยื่นกดทับเส้นประสาทออก อาการปวดก็จะหายไปได้

สำหรับเทคโนโลยีการผ่าตัดในปัจจุบัน มีเครื่องมือ เรียกกว่า กล้องเอ็นโดสโคป (Endoscope) และ เพิ่มความปลอดภัยให้คนไข้มากขึ้น แผลผ่าตัดก็มีขนาดเล็กมากมีขนาดเพียง 8 มิลลิเมตร หลังผ่าตัดคนไข้จะฟื้นตัวได้เร็ว ภายใน 1 วัน ก็ลุกเดินข้างเตียงได้ ไม่ต้องพักฟื้นนาน ลดผลกระทบจากการต้องหยุดงานนานๆ ได้ด้วย

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์ปวดหลัง-ปวดคอ แผนกศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง โรงพบาบาลสินแพทย์

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์

SHARE